คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหมรายงานผลการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2544 ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม และให้ความเห็นชอบให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาการสร้างท่าเรือเชียงของด้วย โดยที่เรื่องนี้เป็นผลจากการประชุมร่วมกันระหว่างผู้แทนฝ่ายไทย - ลาว ในคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ครั้งที่ 10 ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศในการกำหนดให้มีความร่วมมือในด้านต่าง ๆ โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการ และให้การสนับสนุน
ทั้งนี้ การรายงานของกระทรวงกลาโหม สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม ได้หารือแนวทางความร่วมมือและการรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนไทย - ลาว ซึ่งจะใช้ร่วมกันในปีต่อไป ประกอบด้วย
1.1 การร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ในเรื่องต่าง ๆ 10 เรื่อง
1.2 ที่ประชุมได้สนับสนุนให้มีความร่วมมือในเรื่องอื่น ๆ 5 เรื่อง
1.3 ฝ่ายไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ครั้งที่ 11 โดยจะแจ้งกำหนดเวลาและสถานที่ประชุมให้ฝ่ายลาวทราบต่อไป
2. การเข้าเยี่ยมคำนับผู้นำระดับสูงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ พลตรี ดวงใจ พิจิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ พลโท จูมมาลี ไชยะสอน รองประธานประเทศ และ พลเอก สีสะหวาดแก้วบุนพัน ประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ (อดีตนายกรัฐมนตรี) โดยผลการหารือประกอบด้วย
2.1 ปัญหายาเสพติด ฝ่ายลาวแจ้งว่าสภาแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ออกกฎหมายลงโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต
2.2 ฝ่ายลาวมีเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนให้สำเร็จภายใน 10 ปี ซึ่งฝ่ายไทยชี้แจงว่า รัฐบาลไทยเห็นว่าปัญหาความยากจนเป็นปัญหาที่สำคัญเช่นเดียวกัน
2.3 ฝ่ายลาวได้ยกปัญหากรณีการก่อความไม่สงบที่ด่านวังเต่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 โดยถามกำหนดการส่งตัวผู้ก่อความไม่สงบให้ฝ่ายลาว ฝ่ายไทยชี้แจงว่าฝ่ายไทยไม่สนับสนุนบุคคลเหล่านี้ แต่ฝ่ายไทยจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายให้แล้วเสร็จก่อน ซึ่งอัยการไทยจะหารือกับอัยการลาวโดยตรง และฝ่ายไทยได้แจ้งให้เอกอัคร-ราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำประเทศไทยให้รีบไปดำเนินการทางเอกสารเพื่อทำให้คำขอของฝ่ายลาวสมบูรณ์ต่อไป
2.4 ฝ่ายลาวได้ขอให้ฝ่ายไทยยกเลิกหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่า เรือของหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง ได้ปลดอาวุธประจำเรือหมดแล้ว และลดกำลังพลลงร้อยละ 50 ปัจจุบันเรือของหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขงมีไว้เพื่อป้องกันอุบัติภัยตามลำแม่น้ำโขง ป้องกันขบวนการต่อต้านรัฐบาลลาว และการข้ามไปมาของยาเสพติดตามลำแม่น้ำโขง ซึ่งมีประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และขอให้ทหารเรือลาวมาลงเรือทำการตรวจลำแม่น้ำโขงด้วยกัน
2.5 ฝ่ายลาวแจ้งว่า ฝ่ายไทยได้สร้างท่าเรือที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ยื่นออกไปในแม่น้ำโขง45 เมตร จะทำให้ตลิ่งฝั่งเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วพังลงได้ ขอให้ฝ่ายไทยแก้ไขด้วย ฝ่ายไทยได้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายไปตรวจพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน
3. ตามข้อ 2.5 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้อนุมัติให้คณะอนุกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ร่วมกับคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนจังหวัดเชียงรายกับแขวงบ่อแก้ว โดยฝ่ายไทยมีเจ้ากรมยุทธการทหารเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายลาวมีหัวหน้ากรมวิทยาศาสตร์การทหารเป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปตรวจพื้นที่การปรับปรุงท่าเรือ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2544ผลการประชุมมีข้อยุติสรุปได้ว่า ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการปรับปรุงท่าเรืออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นปัญหาทางเทคนิคซึ่งยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ที่ประชุมจึงให้คณะอนุกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปของแต่ละฝ่าย รายงานผลการตรวจพื้นที่ให้หน่วยเหนือของตน เพื่อเสนอให้กระทรวงคมนาคมของทั้งสองฝ่ายพิจารณาหาข้อยุติในเรื่องนี้โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ ในระหว่างรอการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ประชุมเสนอให้ชะลอการก่อสร้างไว้ก่อน
4. ท่าเรืออำเภอเชียงของ สร้างขึ้นตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำโขง ลงวันที 20 เมษายน 2543 รัฐบาลทั้ง 4 ประเทศ คือ จีน ลาว พม่า และไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของทั้ง 4 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ตกลงกันที่จะสร้างท่าเรือพาณิชย์ในจีน 4 แห่ง ในลาว 6 แห่ง ในพม่า 2 แห่งและในไทย 2 แห่ง ที่อำเภอเชียงของ และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งหากประเทศภาคีใดจะสร้างท่าเรือหรือดำเนินโครงการใด ๆ ประเทศเจ้าภาพจะต้องหารือจัดการประชุมร่วมกันกับประเทศพหุภาคีที่เหลือเพื่อลดปัญหาจากผลกระทบในการทำโครงการดังกล่าว ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้มอบให้กระทรวงคมนาคมหารือในเรื่องการปรับปรุงท่าเรือดังกล่าวกับฝ่ายลาวต่อไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
ทั้งนี้ การรายงานของกระทรวงกลาโหม สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม ได้หารือแนวทางความร่วมมือและการรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนไทย - ลาว ซึ่งจะใช้ร่วมกันในปีต่อไป ประกอบด้วย
1.1 การร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ในเรื่องต่าง ๆ 10 เรื่อง
1.2 ที่ประชุมได้สนับสนุนให้มีความร่วมมือในเรื่องอื่น ๆ 5 เรื่อง
1.3 ฝ่ายไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ครั้งที่ 11 โดยจะแจ้งกำหนดเวลาและสถานที่ประชุมให้ฝ่ายลาวทราบต่อไป
2. การเข้าเยี่ยมคำนับผู้นำระดับสูงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ พลตรี ดวงใจ พิจิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ พลโท จูมมาลี ไชยะสอน รองประธานประเทศ และ พลเอก สีสะหวาดแก้วบุนพัน ประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ (อดีตนายกรัฐมนตรี) โดยผลการหารือประกอบด้วย
2.1 ปัญหายาเสพติด ฝ่ายลาวแจ้งว่าสภาแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ออกกฎหมายลงโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต
2.2 ฝ่ายลาวมีเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนให้สำเร็จภายใน 10 ปี ซึ่งฝ่ายไทยชี้แจงว่า รัฐบาลไทยเห็นว่าปัญหาความยากจนเป็นปัญหาที่สำคัญเช่นเดียวกัน
2.3 ฝ่ายลาวได้ยกปัญหากรณีการก่อความไม่สงบที่ด่านวังเต่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 โดยถามกำหนดการส่งตัวผู้ก่อความไม่สงบให้ฝ่ายลาว ฝ่ายไทยชี้แจงว่าฝ่ายไทยไม่สนับสนุนบุคคลเหล่านี้ แต่ฝ่ายไทยจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายให้แล้วเสร็จก่อน ซึ่งอัยการไทยจะหารือกับอัยการลาวโดยตรง และฝ่ายไทยได้แจ้งให้เอกอัคร-ราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำประเทศไทยให้รีบไปดำเนินการทางเอกสารเพื่อทำให้คำขอของฝ่ายลาวสมบูรณ์ต่อไป
2.4 ฝ่ายลาวได้ขอให้ฝ่ายไทยยกเลิกหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่า เรือของหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง ได้ปลดอาวุธประจำเรือหมดแล้ว และลดกำลังพลลงร้อยละ 50 ปัจจุบันเรือของหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขงมีไว้เพื่อป้องกันอุบัติภัยตามลำแม่น้ำโขง ป้องกันขบวนการต่อต้านรัฐบาลลาว และการข้ามไปมาของยาเสพติดตามลำแม่น้ำโขง ซึ่งมีประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และขอให้ทหารเรือลาวมาลงเรือทำการตรวจลำแม่น้ำโขงด้วยกัน
2.5 ฝ่ายลาวแจ้งว่า ฝ่ายไทยได้สร้างท่าเรือที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ยื่นออกไปในแม่น้ำโขง45 เมตร จะทำให้ตลิ่งฝั่งเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วพังลงได้ ขอให้ฝ่ายไทยแก้ไขด้วย ฝ่ายไทยได้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายไปตรวจพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน
3. ตามข้อ 2.5 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้อนุมัติให้คณะอนุกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ร่วมกับคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนจังหวัดเชียงรายกับแขวงบ่อแก้ว โดยฝ่ายไทยมีเจ้ากรมยุทธการทหารเป็นหัวหน้าคณะ และฝ่ายลาวมีหัวหน้ากรมวิทยาศาสตร์การทหารเป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปตรวจพื้นที่การปรับปรุงท่าเรือ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2544ผลการประชุมมีข้อยุติสรุปได้ว่า ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการปรับปรุงท่าเรืออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นปัญหาทางเทคนิคซึ่งยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ที่ประชุมจึงให้คณะอนุกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปของแต่ละฝ่าย รายงานผลการตรวจพื้นที่ให้หน่วยเหนือของตน เพื่อเสนอให้กระทรวงคมนาคมของทั้งสองฝ่ายพิจารณาหาข้อยุติในเรื่องนี้โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ ในระหว่างรอการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ประชุมเสนอให้ชะลอการก่อสร้างไว้ก่อน
4. ท่าเรืออำเภอเชียงของ สร้างขึ้นตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำโขง ลงวันที 20 เมษายน 2543 รัฐบาลทั้ง 4 ประเทศ คือ จีน ลาว พม่า และไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของทั้ง 4 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ตกลงกันที่จะสร้างท่าเรือพาณิชย์ในจีน 4 แห่ง ในลาว 6 แห่ง ในพม่า 2 แห่งและในไทย 2 แห่ง ที่อำเภอเชียงของ และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งหากประเทศภาคีใดจะสร้างท่าเรือหรือดำเนินโครงการใด ๆ ประเทศเจ้าภาพจะต้องหารือจัดการประชุมร่วมกันกับประเทศพหุภาคีที่เหลือเพื่อลดปัญหาจากผลกระทบในการทำโครงการดังกล่าว ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้มอบให้กระทรวงคมนาคมหารือในเรื่องการปรับปรุงท่าเรือดังกล่าวกับฝ่ายลาวต่อไปแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-