ทำเนียบรัฐบาล--22 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ประจำงวดที่ 3 ปีงบประมาณ 2542 ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2528 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2542 เงินทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืม จำนวน 855 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติ 29,112,000 บาท ยอดเงินทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 รวมจำนวนทั้งสิ้น 769,350.42 บาท และขณะนี้มีคำขอกู้เงินอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1,754 ราย เป็นเงิน 87,483,116 บาท
2. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน พ.ศ. 2533 ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2533 (วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ) ถึงวันที่ 30 กันยายน 2542 กองทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรที่ยากจนกู้ยืม จำนวน 704 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 84,797,885 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยไถ่ถอนและซื้อคืนเนื้อที่ 12,944-2-28 4/10 ไร่ ยอดเงินกองทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 จำนวนทั้งสิ้น 43,977,007.70 บาท
3. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนด้านหนี้สินและที่ดิน พ.ศ. 2536 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 (วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ) ถึงวันที่ 30 กันยายน 2542 กองทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมจำนวน 9,093 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 1,266,660,393.22 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยไถ่ถอนและซื้อคืนเนื้อที่ 104,891-0-87 8/10 ไร่ ยอดเงินกองทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 จำนวนทั้งสิ้น 411,256,659.39 บาท
4. ผลการชำระหนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542
4.1 เงินทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2528 มียอดเงินครบกำหนดชำระจำนวน 2,533,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 669,000 บาท ค้างชำระจำนวน 1,864,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 26.42%
4.2 กองทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2533 มียอดเงินครบกำหนดชำระจำนวน 18,157,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 1,237,000 บาท ค้างชำระจำนวน 16,920,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 6.82%
4.3 กองทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2536 มียอดเงินครบกำหนดชำระจำนวน 122,054,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 12,087,000 บาท ค้างชำระจำนวน 109,967,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 9.90%
5. ปัญหาและอุปสรรค
5.1 เนื่องจากนโยบายที่ผ่านมาคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (คชก.) เป็นนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และไม่มีสถาบันการเงินอื่น ๆ ช่วยเหลือได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการสงวนที่ดินไว้ให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้อาศัยทำกิน และไม่ให้ที่ดินหลุดเป็นสิทธิของนายทุน ดังนั้นแนวทางในการพิจารณาให้กู้ฯ ที่ผ่านมาจึงไม่เข้มงวดมากนัก เป็นเหตุให้เงินกองทุน ลดน้อยลง และไม่มีเงินทุนหมุนเวียนกลับมาเพียงพอที่จะช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนรายอื่น ๆ ได้ จึงจำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติมทุกปี
5.2 เกษตรกรและผู้ยากจนที่ขอกู้ฯ ส่วนมากมีรายได้ค่อนข้างต่ำและไม่แน่นอน บางรายเมื่อได้ไถ่ถอนที่ดินคืนกลับมาเป็นของตนเองแล้วก็ขาดเงินทุนที่จะนำไปลงทุนประกอบอาชีพในที่ดินดังกล่าว ประกอบกับปัจจุบันปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลให้เกษตรกรและผู้ยากจนมีรายได้ลดน้อยลง ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้คืนกองทุนได้ ซึ่งเดิมตอนพิจารณาอนุมัติให้กู้ วิเคราะห์ ตรวจสอบแล้วว่ามีความสามารถ และมีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้คืนกองทุนได้
5.3 ขณะนี้กองทุนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 กองทุน มีงบประมาณจำกัด และในปีงบประมาณ 2543 ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม คาดว่าเงินกองทุนที่เหลืออยู่จะไม่เพียงพอช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนต่อไป
6. แนวทางแก้ไข
6.1 จากผลการชำระหนี้คืนกองทุนในแต่ละกองทุนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากแนวทางในการพิจารณาอนุมัติให้เกษตรกรกู้เงินที่ผ่านมาไม่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ ดังนั้น คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.) ส่วนกลาง ได้เน้นให้มีการวิเคราะห์ถึงความสามารถในการชำระหนี้คืนของเกษตรกรที่ขอกู้เงินแต่ละรายว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เมื่อได้ไถ่ถอนที่ดินคืนแล้วจะทำประโยชน์อย่างไร เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและเพียงพอที่จะชำระหนี้คืนกองทุนได้ พร้อมทั้งให้เกษตรกรผู้ขอกู้เงินจัดทำโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้ภายหลังจากที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ไปแล้วเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติด้วย
6.2 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ได้มีหนังสือแจ้งอำเภอต่าง ๆ ให้ช่วยติดตามและประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรผู้กู้ปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรหรือให้ความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถที่จะชำระหนี้คืนได้ รวมทั้งได้เร่งรัดให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการติดตามให้มีการชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ให้มากยิ่งขึ้น
6.3 เนื่องจากในปีงบประมาณ 2543 เงินทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2528 ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ได้พยายามหาแหล่งเงินอื่นนอกงบประมาณเพื่อมาใช้ในการดำเนินงาน จึงได้มีมติให้แก้ไขระเบียบดังกล่าวเพื่อให้สามารถรับเงินสนับสนุนจากแหล่งอื่น ๆ ได้ ซึ่งหากแก้ไขระเบียบฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และสามารถหาเงินจากแหล่งอื่นมาดำเนินการได้ คงจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนที่รอขอความช่วยเหลือและเกษตรกรและผู้ยากจนโดยทั่วไปได้มากขึ้น รวมทั้งลูกหนี้ของกองทุนหมุนเวียนที่ขาดเงินทุนในการนำไปลงทุนประกอบอาชีพในที่ดินที่ได้ไถ่ถอนคืนด้วย
6.4 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ได้ดำเนินการเร่งรัดกระทรวงการคลังเพื่อให้รีบดำเนินการออกพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังในการยุบหรือรวมกองทุนให้ได้ทันในสมัยรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพื่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการยุบรวมกองทุนหมุนเวียนฯ ทั้ง 3 กองทุนเข้าเป็นกองทุนเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถจะขยายหรือเพิ่มวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนได้ครอบคลุม กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ประจำงวดที่ 3 ปีงบประมาณ 2542 ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2528 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2542 เงินทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืม จำนวน 855 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติ 29,112,000 บาท ยอดเงินทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 รวมจำนวนทั้งสิ้น 769,350.42 บาท และขณะนี้มีคำขอกู้เงินอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1,754 ราย เป็นเงิน 87,483,116 บาท
2. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน พ.ศ. 2533 ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2533 (วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ) ถึงวันที่ 30 กันยายน 2542 กองทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรที่ยากจนกู้ยืม จำนวน 704 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 84,797,885 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยไถ่ถอนและซื้อคืนเนื้อที่ 12,944-2-28 4/10 ไร่ ยอดเงินกองทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 จำนวนทั้งสิ้น 43,977,007.70 บาท
3. ผลการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนด้านหนี้สินและที่ดิน พ.ศ. 2536 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 (วันที่ระเบียบฯ ใช้บังคับ) ถึงวันที่ 30 กันยายน 2542 กองทุนหมุนเวียนฯ อนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมจำนวน 9,093 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 1,266,660,393.22 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยไถ่ถอนและซื้อคืนเนื้อที่ 104,891-0-87 8/10 ไร่ ยอดเงินกองทุนหมุนเวียนฯ คงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 จำนวนทั้งสิ้น 411,256,659.39 บาท
4. ผลการชำระหนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542
4.1 เงินทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2528 มียอดเงินครบกำหนดชำระจำนวน 2,533,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 669,000 บาท ค้างชำระจำนวน 1,864,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 26.42%
4.2 กองทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2533 มียอดเงินครบกำหนดชำระจำนวน 18,157,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 1,237,000 บาท ค้างชำระจำนวน 16,920,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 6.82%
4.3 กองทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2536 มียอดเงินครบกำหนดชำระจำนวน 122,054,000 บาท ได้รับชำระจำนวน 12,087,000 บาท ค้างชำระจำนวน 109,967,000 บาท ได้รับชำระคิดเป็นร้อยละ 9.90%
5. ปัญหาและอุปสรรค
5.1 เนื่องจากนโยบายที่ผ่านมาคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (คชก.) เป็นนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และไม่มีสถาบันการเงินอื่น ๆ ช่วยเหลือได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการสงวนที่ดินไว้ให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้อาศัยทำกิน และไม่ให้ที่ดินหลุดเป็นสิทธิของนายทุน ดังนั้นแนวทางในการพิจารณาให้กู้ฯ ที่ผ่านมาจึงไม่เข้มงวดมากนัก เป็นเหตุให้เงินกองทุน ลดน้อยลง และไม่มีเงินทุนหมุนเวียนกลับมาเพียงพอที่จะช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนรายอื่น ๆ ได้ จึงจำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติมทุกปี
5.2 เกษตรกรและผู้ยากจนที่ขอกู้ฯ ส่วนมากมีรายได้ค่อนข้างต่ำและไม่แน่นอน บางรายเมื่อได้ไถ่ถอนที่ดินคืนกลับมาเป็นของตนเองแล้วก็ขาดเงินทุนที่จะนำไปลงทุนประกอบอาชีพในที่ดินดังกล่าว ประกอบกับปัจจุบันปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลให้เกษตรกรและผู้ยากจนมีรายได้ลดน้อยลง ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้คืนกองทุนได้ ซึ่งเดิมตอนพิจารณาอนุมัติให้กู้ วิเคราะห์ ตรวจสอบแล้วว่ามีความสามารถ และมีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้คืนกองทุนได้
5.3 ขณะนี้กองทุนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 กองทุน มีงบประมาณจำกัด และในปีงบประมาณ 2543 ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม คาดว่าเงินกองทุนที่เหลืออยู่จะไม่เพียงพอช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนต่อไป
6. แนวทางแก้ไข
6.1 จากผลการชำระหนี้คืนกองทุนในแต่ละกองทุนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากแนวทางในการพิจารณาอนุมัติให้เกษตรกรกู้เงินที่ผ่านมาไม่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ ดังนั้น คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.) ส่วนกลาง ได้เน้นให้มีการวิเคราะห์ถึงความสามารถในการชำระหนี้คืนของเกษตรกรที่ขอกู้เงินแต่ละรายว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เมื่อได้ไถ่ถอนที่ดินคืนแล้วจะทำประโยชน์อย่างไร เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและเพียงพอที่จะชำระหนี้คืนกองทุนได้ พร้อมทั้งให้เกษตรกรผู้ขอกู้เงินจัดทำโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้ภายหลังจากที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ไปแล้วเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติด้วย
6.2 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ได้มีหนังสือแจ้งอำเภอต่าง ๆ ให้ช่วยติดตามและประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรผู้กู้ปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรหรือให้ความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถที่จะชำระหนี้คืนได้ รวมทั้งได้เร่งรัดให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการติดตามให้มีการชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ให้มากยิ่งขึ้น
6.3 เนื่องจากในปีงบประมาณ 2543 เงินทุนหมุนเวียนฯ พ.ศ. 2528 ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ได้พยายามหาแหล่งเงินอื่นนอกงบประมาณเพื่อมาใช้ในการดำเนินงาน จึงได้มีมติให้แก้ไขระเบียบดังกล่าวเพื่อให้สามารถรับเงินสนับสนุนจากแหล่งอื่น ๆ ได้ ซึ่งหากแก้ไขระเบียบฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และสามารถหาเงินจากแหล่งอื่นมาดำเนินการได้ คงจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนที่รอขอความช่วยเหลือและเกษตรกรและผู้ยากจนโดยทั่วไปได้มากขึ้น รวมทั้งลูกหนี้ของกองทุนหมุนเวียนที่ขาดเงินทุนในการนำไปลงทุนประกอบอาชีพในที่ดินที่ได้ไถ่ถอนคืนด้วย
6.4 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ได้ดำเนินการเร่งรัดกระทรวงการคลังเพื่อให้รีบดำเนินการออกพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังในการยุบหรือรวมกองทุนให้ได้ทันในสมัยรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพื่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการยุบรวมกองทุนหมุนเวียนฯ ทั้ง 3 กองทุนเข้าเป็นกองทุนเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถจะขยายหรือเพิ่มวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนได้ครอบคลุม กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543--