ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบฐานะการเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อการแบ่งเบาภาระรัฐบาลด้านดอกเบี้ยเงินกู้ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
สำนักงบประมาณได้รับข้อสังเกตตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2542 อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อ Refinance หนี้เงินกู้ในโครงการต่าง ๆ ที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ 2543 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ไปดำเนินการ โดยสำนักงบประมาณได้พิจารณาฐานะการเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยแล้ว มีผลสรุปดังนี้
1. ฐานะการเงินในภาพรวมของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยปัจจุบันมีปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ต้องกู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการบริหารแล้วจำนวน 8,498.31 ล้านบาท (เงินกู้บริหารตั้งแต่ปี 2537 - 2542) ประกอบกับปัจจุบันมีผลการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง (ปี 2541 ขาดทุน 47.81 ล้านบาท และปี 2542 ขาดทุน 4,190.96 ล้านบาท) สืบเนื่องจากปริมาณจราจรที่ใช้ทางด่วนลดลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
2. ฐานะการเงินของโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ มีรายได้จากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามผลการศึกษาที่ประมาณการไว้ โดยเฉพาะในเรื่องปริมาณจราจรที่เกิดขึ้นจริงต่ำกว่าปริมาณจราจรที่คาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ถนนคู่ขนานใต้ทางด่วนของกรุงเทพมหานคร และถนนกรุงเทพ-ชลบุรี (สายใหม่) ทางหลวงพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออกของกรมทางหลวง ทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น เป็นผลให้ประมาณการรายได้ของโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ไม่เพียงพอที่จะจ่ายคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่ครบกำหนดชำระในแต่ละปีได้ โดยคาดว่าจะมีเงินสดจ่ายสูงกว่าเงินสดรับเป็นระยะเวลา 14 ปี และเมื่อเปรียบเทียบการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) ของโครงการตามผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง พบว่า FIRR ของโครงการลดลงจากร้อยละ 7.87 คงเหลือร้อยละ 3
3. หากจะให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากที่ได้รับอยู่ในปัจจุบันจะสร้างปัญหาด้านการเงินให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ ประกอบกับดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว เป็นดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อ Refinance เงินกู้ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่รัฐบาลรับภาระ จึงเห็นว่ารัฐบาลคงจะต้องเป็นผู้รับภาระที่ได้ผูกพันไว้แล้วต่อไป
4. สำหรับการลงทุนในโครงการใหม่ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะดำเนินการต่อไปในอนาคตนั้น เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีปัญหาทางการเงินค่อนข้างมาก และปัจจุบันรัฐบาลรับภาระการลงทุนให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 5 โครงการ ในวงเงินที่สูงมากแล้ว จึงไม่ควรรับภาระโครงการใหม่เพิ่มขึ้นอีก และสำนักงบประมาณมีความเห็นว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาวิธีการเพิ่มรายได้เพื่อบรรเทาปัญหาด้านฐานะการเงินโดยด่วนต่อไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลังที่ให้ชะลอการดำเนินการโครงการใหม่ และความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่ม เพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบฐานะการเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อการแบ่งเบาภาระรัฐบาลด้านดอกเบี้ยเงินกู้ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
สำนักงบประมาณได้รับข้อสังเกตตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2542 อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อ Refinance หนี้เงินกู้ในโครงการต่าง ๆ ที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ 2543 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ไปดำเนินการ โดยสำนักงบประมาณได้พิจารณาฐานะการเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยแล้ว มีผลสรุปดังนี้
1. ฐานะการเงินในภาพรวมของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยปัจจุบันมีปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ต้องกู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการบริหารแล้วจำนวน 8,498.31 ล้านบาท (เงินกู้บริหารตั้งแต่ปี 2537 - 2542) ประกอบกับปัจจุบันมีผลการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง (ปี 2541 ขาดทุน 47.81 ล้านบาท และปี 2542 ขาดทุน 4,190.96 ล้านบาท) สืบเนื่องจากปริมาณจราจรที่ใช้ทางด่วนลดลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
2. ฐานะการเงินของโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ มีรายได้จากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามผลการศึกษาที่ประมาณการไว้ โดยเฉพาะในเรื่องปริมาณจราจรที่เกิดขึ้นจริงต่ำกว่าปริมาณจราจรที่คาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ถนนคู่ขนานใต้ทางด่วนของกรุงเทพมหานคร และถนนกรุงเทพ-ชลบุรี (สายใหม่) ทางหลวงพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออกของกรมทางหลวง ทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น เป็นผลให้ประมาณการรายได้ของโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ไม่เพียงพอที่จะจ่ายคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่ครบกำหนดชำระในแต่ละปีได้ โดยคาดว่าจะมีเงินสดจ่ายสูงกว่าเงินสดรับเป็นระยะเวลา 14 ปี และเมื่อเปรียบเทียบการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) ของโครงการตามผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง พบว่า FIRR ของโครงการลดลงจากร้อยละ 7.87 คงเหลือร้อยละ 3
3. หากจะให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากที่ได้รับอยู่ในปัจจุบันจะสร้างปัญหาด้านการเงินให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ ประกอบกับดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว เป็นดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อ Refinance เงินกู้ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่รัฐบาลรับภาระ จึงเห็นว่ารัฐบาลคงจะต้องเป็นผู้รับภาระที่ได้ผูกพันไว้แล้วต่อไป
4. สำหรับการลงทุนในโครงการใหม่ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะดำเนินการต่อไปในอนาคตนั้น เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีปัญหาทางการเงินค่อนข้างมาก และปัจจุบันรัฐบาลรับภาระการลงทุนให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 5 โครงการ ในวงเงินที่สูงมากแล้ว จึงไม่ควรรับภาระโครงการใหม่เพิ่มขึ้นอีก และสำนักงบประมาณมีความเห็นว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาวิธีการเพิ่มรายได้เพื่อบรรเทาปัญหาด้านฐานะการเงินโดยด่วนต่อไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลังที่ให้ชะลอการดำเนินการโครงการใหม่ และความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่ม เพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543
-สส-