ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. …. ตามที่ สำนักนายกรัฐมนตรี (คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นที่มาของพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิสัยทัศน์การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งกล่าวถึงการถ่ายโอนภารกิจในช่วง 4 ปีแรก (พ.ศ. 2544 - 2547) ซึ่งเป็นไปตามกรอบของกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ และช่วงหลังการถ่ายโอนใน 4 ปีแรกสิ้นสุด จนถึงระยะเวลาการถ่ายโอนในปีที่ 10 (พ.ศ. 2548 - 2553)เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน มีการปรับเปลี่ยนบทบาทของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนที่จะเรียนรู้ร่วมกันในการถ่ายโอนภารกิจ รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจการสาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และเป้าหมายสุดท้ายในช่วงเวลาหลังปีที่ 10 (พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป) ประชาชนในท้องถิ่นจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีบทบาทในการตัดสินใจ การกำกับดูแล การตรวจสอบ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะเป็นการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
2. สำหรับกรอบแนวคิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ยึดหลักการ 3 ด้าน ได้แก่ด้านความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และด้านประสิทธิภาพการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการกระจายอำนาจ โดยให้มีการถ่ายโอนภารกิจในการจัดบริการสาธารณะของรัฐให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ โดยมีรูปแบบการถ่ายโอน ซึ่งได้กำหนดไว้ 3 ลักษณะคือ ภารกิจที่ให้ท้องถิ่นดำเนินการ ท้องถิ่นดำเนินการร่วมกับรัฐ และรัฐยังคงดำเนินการ แต่ท้องถิ่นสามารถจะดำเนินการได้
3. ระยะเวลาการถ่ายโอน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 -4 ปี (พ.ศ. 2544 - 2547) โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันที และแล้วเสร็จภายใน 4 ปี เป็นการถ่ายโอนตามมาตรา 30(1) แห่ง พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ระยะที่ 2 ระยะเวลา 1 - 10 ปี (พ.ศ. 2544-2553) เป็นการถ่ายโอนเนื่องจากการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันในระยะ 10 ปีแรก ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 30 (2) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ดังกล่าว ส่วนผลการพิจารณาการถ่ายโอนได้กำหนดภารกิจที่จะทำการถ่ายโอนไว้ 6 ด้าน โดยได้พิจารณาจากอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของแผนการกระจายอำนาจฯ หลักการทั่วไป รูปแบบการถ่ายโอน และระยะเวลาของการถ่ายโอน โดยจำแนกงานในแต่ละด้านที่จะต้องการถ่ายโอน ข้อกฎหมาย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ลักษณะภารกิจ รูปแบบขอบเขต ระยะเวลา และเงื่อนไขในการถ่ายโอน ซึ่งไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนไปพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภทที่จะรับการถ่ายโอน รวมทั้งสร้างกลไกและระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐานมารองรับ ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง สำหรับแผนปฏิบัติการให้มีสาระสำคัญอย่างน้อย ดังนี้ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ในส่วนของการกระจายอำนาจการเงิน การคลัง และงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดหลักการ แนวทางการปรับปรุงรายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บจัดหาเอง ปรับปรุงภาษีอากรที่รัฐจัดแบ่ง จัดสรรหรือจัดเก็บเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดสรรเงินอุดหนุนให้กระทำในลักษณะเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพื่อการถ่ายโอน เงินอุดหนุนเฉพาะด้าน เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนสมทบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการทบทวนการจัดสรรรายได้ และมาตรการเสริมสร้างวินัยทางการเงินและการคลัง ตลอดจนแนวทางการถ่ายโอนบุคลากรจากราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการพัฒนาระบบตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคม ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยมีการเตรียมความพร้อมการปรับโครงสร้างภายในองค์กร การพัฒนาองค์กรในระดับจังหวัดเพื่อรองรับการถ่ายโอนซึ่งในภารกิจบางด้านต้องการความชำนาญในวิชาชีพเฉพาะและความเป็นเอกภาพในการจัดบริการสาธารณะ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้านระดับจังหวัด โดยให้มีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการกำหนดนดยบายและมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะเรื่องนั้น ๆ ในเขตจังหวัด หรือกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการสาธารณะ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจกำหนดให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้านระดับพื้นที่ในเขตจังหวัดแทนคณะกรรมการเฉพาะด้านระดับจังหวัดได้ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเฉพาะด้าน หรือคณะกรรมการเฉพาะด้านระดับพื้นที่ อาจมีมติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่นั้นทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
5. แผนการกระจายอำนาจฯ ดังกล่าวได้กำหนดให้มีการปรับปรุงระบบการวางแผน ระบบงบประมาณ ระบบบัญชี ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบติดตามตรวจสอบ และระบบข้อมูล รวมทั้งการกำกับดูแล การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและผู้บริหารท้องถิ่น การเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนและภาคประชาสังคมในการตรวจสอบการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบให้สอดคล้องกับการถ่ายโอนภารกิจ กลไกการกำกับดูแล ตลอดจนการสร้างระบบประกันคุณภาพบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. …. ตามที่ สำนักนายกรัฐมนตรี (คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นที่มาของพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิสัยทัศน์การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งกล่าวถึงการถ่ายโอนภารกิจในช่วง 4 ปีแรก (พ.ศ. 2544 - 2547) ซึ่งเป็นไปตามกรอบของกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ และช่วงหลังการถ่ายโอนใน 4 ปีแรกสิ้นสุด จนถึงระยะเวลาการถ่ายโอนในปีที่ 10 (พ.ศ. 2548 - 2553)เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน มีการปรับเปลี่ยนบทบาทของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนที่จะเรียนรู้ร่วมกันในการถ่ายโอนภารกิจ รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจการสาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และเป้าหมายสุดท้ายในช่วงเวลาหลังปีที่ 10 (พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป) ประชาชนในท้องถิ่นจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีบทบาทในการตัดสินใจ การกำกับดูแล การตรวจสอบ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะเป็นการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
2. สำหรับกรอบแนวคิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ยึดหลักการ 3 ด้าน ได้แก่ด้านความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และด้านประสิทธิภาพการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการกระจายอำนาจ โดยให้มีการถ่ายโอนภารกิจในการจัดบริการสาธารณะของรัฐให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ โดยมีรูปแบบการถ่ายโอน ซึ่งได้กำหนดไว้ 3 ลักษณะคือ ภารกิจที่ให้ท้องถิ่นดำเนินการ ท้องถิ่นดำเนินการร่วมกับรัฐ และรัฐยังคงดำเนินการ แต่ท้องถิ่นสามารถจะดำเนินการได้
3. ระยะเวลาการถ่ายโอน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 -4 ปี (พ.ศ. 2544 - 2547) โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันที และแล้วเสร็จภายใน 4 ปี เป็นการถ่ายโอนตามมาตรา 30(1) แห่ง พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ระยะที่ 2 ระยะเวลา 1 - 10 ปี (พ.ศ. 2544-2553) เป็นการถ่ายโอนเนื่องจากการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกันในระยะ 10 ปีแรก ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 30 (2) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ดังกล่าว ส่วนผลการพิจารณาการถ่ายโอนได้กำหนดภารกิจที่จะทำการถ่ายโอนไว้ 6 ด้าน โดยได้พิจารณาจากอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของแผนการกระจายอำนาจฯ หลักการทั่วไป รูปแบบการถ่ายโอน และระยะเวลาของการถ่ายโอน โดยจำแนกงานในแต่ละด้านที่จะต้องการถ่ายโอน ข้อกฎหมาย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ลักษณะภารกิจ รูปแบบขอบเขต ระยะเวลา และเงื่อนไขในการถ่ายโอน ซึ่งไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนไปพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภทที่จะรับการถ่ายโอน รวมทั้งสร้างกลไกและระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐานมารองรับ ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง สำหรับแผนปฏิบัติการให้มีสาระสำคัญอย่างน้อย ดังนี้ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ในส่วนของการกระจายอำนาจการเงิน การคลัง และงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดหลักการ แนวทางการปรับปรุงรายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บจัดหาเอง ปรับปรุงภาษีอากรที่รัฐจัดแบ่ง จัดสรรหรือจัดเก็บเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดสรรเงินอุดหนุนให้กระทำในลักษณะเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพื่อการถ่ายโอน เงินอุดหนุนเฉพาะด้าน เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนสมทบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการทบทวนการจัดสรรรายได้ และมาตรการเสริมสร้างวินัยทางการเงินและการคลัง ตลอดจนแนวทางการถ่ายโอนบุคลากรจากราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการพัฒนาระบบตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคม ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยมีการเตรียมความพร้อมการปรับโครงสร้างภายในองค์กร การพัฒนาองค์กรในระดับจังหวัดเพื่อรองรับการถ่ายโอนซึ่งในภารกิจบางด้านต้องการความชำนาญในวิชาชีพเฉพาะและความเป็นเอกภาพในการจัดบริการสาธารณะ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้านระดับจังหวัด โดยให้มีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการกำหนดนดยบายและมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะเรื่องนั้น ๆ ในเขตจังหวัด หรือกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการสาธารณะ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจกำหนดให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้านระดับพื้นที่ในเขตจังหวัดแทนคณะกรรมการเฉพาะด้านระดับจังหวัดได้ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเฉพาะด้าน หรือคณะกรรมการเฉพาะด้านระดับพื้นที่ อาจมีมติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่นั้นทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
5. แผนการกระจายอำนาจฯ ดังกล่าวได้กำหนดให้มีการปรับปรุงระบบการวางแผน ระบบงบประมาณ ระบบบัญชี ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบติดตามตรวจสอบ และระบบข้อมูล รวมทั้งการกำกับดูแล การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและผู้บริหารท้องถิ่น การเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนและภาคประชาสังคมในการตรวจสอบการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบให้สอดคล้องกับการถ่ายโอนภารกิจ กลไกการกำกับดูแล ตลอดจนการสร้างระบบประกันคุณภาพบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-