ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
ไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงาน
1.1 สถานภาพปัจจุบัน หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณประจำปี 2543 แล้ว มีรัฐ
วิสาหกิจขอปรับเพิ่มเป้าหมายดำเนินงาน ดังนี้
1) มีรัฐวิสาหกิจจำนวน 12 แห่ง ได้แก่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) การกีฬา
แห่งประเทศไทย (กกท.) องค์การสุรา บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การเภสัชกรรม องค์การจัดการน้ำเสีย
(อจน.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การคลังสินค้า (อคส.)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) และองค์การพิ
พิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เสนอขอเพิ่มกรอบเบิกจ่ายลงทุนรวมประมาณ 5,763 ล้านบาท และสถาบัน
การบินพลเรือน (สบพ.) ขอปรับลดวงเงิน 8 ล้านบาท รวมทั้งองค์การแก้วยุบเลิกกิจการ ทำให้วงเงินเบิกจ่ายลดลง
1 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นสุทธิ 5,754 ล้านบาท ทำให้ในปี 2543 มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่าย
เพิ่มขึ้นจาก 215,373 ล้านบาท เป็น 221,127 ล้านบาท ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบเบิกจ่ายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้เมื่อ
วันที่ 31 สิงหาคม 2542 คือ 224,000 ล้านบาท (ต่ำกว่า 2,873 ล้านบาท)
2) ในด้านการจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income : RI) รัฐวิสาหกิจ
จำนวน 6 แห่ง ได้แก่บขส. ททท. อตก. กนอ. บกท. และ อพวช. ประมาณว่าจะมี RI เพิ่มขึ้นรวม 1,597
ล้านบาท และ อจน. ขอปรับลดประมาณ 1 ล้านบาท รวมทั้ง องค์การแก้ว ได้ยุบเลิกกิจการ ทำให้ RI ลดลงอีก 21
ล้านบาท ส่งผลให้ RI เพิ่มขึ้นสุทธิ 1,575 ล้านบาท เป้าหมาย RI ในปี 2543 จึงเปลี่ยนจาก 115,579 ล้านบาท
เป็น 117,154 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีผลให้ภาพรวมการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนแปลงไป คือเป้าหมายปีงบประมาณ 2543
เป้าหมายปีงบประมาณ 2543
หน่วย : ล้านบาท
เป้าหมาย มติ ครม. ปรับใหม่ ผลต่าง
31 สิงหาคม 2542 ล้านบาท ร้อยละ
รายได้รวม 987,288 998,035 10,747 1.1
รายจ่ายรวม 925,259 932,950 7,691 0.8
กำไรสุทธิ 62,029 65,085 3,056 4.9
วงเงินเบิกจ่ายที่ได้รับอนุมัติ 215,373 221,127 5,754 2.7
กรอบเบิกจ่ายลงทุน 224,000 224,000 - -
Retained Income 115,579 117,154 1,575 1.4
ฐานะขาดดุล (RI - เบิกจ่าย) 108,421 /1 103,973 /2 (4,448) (4.1)
GDP 5,420,000 5,092,000 328,000 (6.1)
ฐานะขาดดุลประมาณ (ร้อยละ) 2.01 2.02 - -
/1ฐานะขาดดุลตามกรอบเบิกจ่ายที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
/2เป้าหมาย ฐานะขาดดุลตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้จ่ายจริง ณ ปัจจุบัน
1.2 ประเมินผลการดำเนินงานในไตรมาสแรก (ต.ค. - ธ.ค. 2542) จากการประมวล
ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรก รัฐวิสาหกิจในภาพรวมมีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสุทธิเพิ่ม
สูงมากถึงร้อยละ 72 ในขณะที่การเบิกจ่ายลงทุนดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 16 ส่วนการจัดหา
RI สามารถดำเนินการจัดหาได้สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 12สรุปผลการดำเนินงานในไตรมาสแรก
สรุปผลการดำเนินงานในไตรมาสแรก
หน่วย : ล้านบาท
เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน ผลต่าง
ล้านบาท ร้อยละ
รายได้รวม 249,274 257,339 8,065 3.2
รายจ่ายรวม 229,428 223,189 (6,239) (2.7)
กำไรสุทธิ 19,846 34,150 14,304 72.1
วงเงินเบิกจ่ายลงทุน 60,122 50,429 (9,693) (16.1)
Retained Income (RI) 40,648 45,665 5,017 12.3
2. แนวโน้มการดำเนินงานปี 2543
จากผลการดำเนินงานของไตรมาสแรก และแนวโน้มการดำเนินงานในช่วงต่อไปประมาณการ
ได้ว่าการดำเนินงานในปี 2543 ในภาพรวม รัฐวิสาหกิจจะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณ 3,360 ล้านบาท หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ที่สำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เนื่องจากคาดว่าจะสามารถขายหุ้นบริษัท
ราชบุรีโฮลดิ้งได้ทันในปีงบประมาณ 2543 โดยจะมีกำไรจากการขายหุ้นประมาณ 2,700 ล้านบาท
จากเป้าหมายการเบิกจ่ายลงทุนที่ได้รับอนุมัติ 221,127 ล้านบาท นั้น คาดว่าจะสามารถเบิกจ่าย
ลงทุนได้ทั้งสิ้น216,839 ล้านบาท ลดลง 4,288 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2 โดยมีรัฐวิสาหกิจที่สำคัญที่คาดว่า
จะจ่ายลงทุนได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ได้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) (1,996 ล้านบาท) เนื่องจากปรับลด
การเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับ RI ที่ลดลง และบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.)
(929 ล้านบาท) เนื่องจากมีปัญหาต้องหาข้อยุติเรื่องการเปิดเผยราคากลางในการประมูลการก่อสร้างก่อน
ทำให้การดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนด 3 เดือน
สำหรับการจัดหา RI นั้น คาดว่ารัฐวิสาหกิจจะสามารถจัดหาได้ทั้งสิ้น 132,928 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากเป้าหมาย15,774 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย (12,180 ล้านบาท) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (4,968 ล้านบาท) เนื่องจากผลการดำเนินงาน
ในปี 2542 ขาดทุน ทำให้ไม่ต้องนำเงินส่งรัฐ และจ่ายโบนัส รวมทั้ง กฟผ. คาดว่าจะมีรายรับจากการขายหุ้น
บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง (7,950 ล้านบาท) ในปี 2543
จากการประมาณแนวโน้มการดำเนินงานปี 2543 ดังกล่าวข้างต้น คาดว่าจะมีผลให้ฐานะขาดดุล
โดยรวมของรัฐวิสาหกิจปี 2543 ลดลงจากเป้าหมายร้อยละ 2 ของ GDP เหลือเพียงร้อยละ 1.6 ของ GDP
แนวโน้มการดำเนินงานปี 2543
หน่วย : ล้านบาท
เป้าหมาย แนวโน้ม ผลต่าง
ปี 2543 การดำเนินงาน ล้านบาท ร้อยละ
รายได้รวม 998,035 1,007,836 9,801 1.0
รายจ่ายรวม 932,950 939,391 6,441 0.7
กำไรสุทธิ 65,085 68,445 3,360 5.2
วงเงินเบิกจ่ายลงทุนที่ได้รับอนุมัติ 221,127 216,839 (4,288) (1.9)
Retained Income (RI) 1 17,154 132,928 15,774 13.5
ฐานะขาดดุล (RI - เบิกจ่าย) 103,973 83,911 (20,062) (19.3)
GDP 5,092,000 5,092,000 - -
ฐานะขาดดุล (ร้อยละ) 2 1.6 - 0.4
อนึ่ง จากการประสานงานกับรัฐวิสาหกิจ ปรากฏว่า ปตท. ได้แจ้งความต้องการที่จะขยายวงเงิน
ลงทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 15,000 ล้านบาท เนื่องจากมีรายการลงทุนตามแผนระยะยาว (การเพิ่มทุนในบริษัท
ในเครือ) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปี 2542 เนื่องจากการ
เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทในเครือยังไม่แล้วเสร็จ ได้แก่
- บริษัทไทยออยส์ จำกัด จำนวน 10,000 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 20 สิงหาคม 2542)
- บริษัทไทยพาราไซลีน จำกัด จำนวน 1,554 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 24 สิงหาคม 2542)
- บริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด จำนวน 2,485 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 29 กันยายน
2541)
- บริษัทไทยลุ้บเบส จำกัด จำนวน 720 ล้านบาท (คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีประมาณเดือนพฤษภาคม
2543)
อย่างไรก็ตาม ปตท. คาดว่าจะมีรายได้ลดลงเพราะการชะลอการขายหุ้นบริษัท ปตท. และการจำหน่าย
ก๊าซไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากการศึกษารูปแบบของการแปรรูปยังไม่แล้วเสร็จ และต้องชะลอการสั่งซื้อก๊าซ
จากพม่า เพราะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรียังไม่แล้วเสร็จตามลำดับ ซึ่งจะมีผลให้ RI ลดลงประมาณ 8,500
ล้านบาท
ทั้งนี้ หากเป็นไปตามประมาณการดังกล่าวแล้ว จะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุลเพิ่มขึ้น
เป็นประมาณร้อยละ 2.2 ของ GDP
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
ไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงาน
1.1 สถานภาพปัจจุบัน หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณประจำปี 2543 แล้ว มีรัฐ
วิสาหกิจขอปรับเพิ่มเป้าหมายดำเนินงาน ดังนี้
1) มีรัฐวิสาหกิจจำนวน 12 แห่ง ได้แก่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) การกีฬา
แห่งประเทศไทย (กกท.) องค์การสุรา บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การเภสัชกรรม องค์การจัดการน้ำเสีย
(อจน.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การคลังสินค้า (อคส.)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) และองค์การพิ
พิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เสนอขอเพิ่มกรอบเบิกจ่ายลงทุนรวมประมาณ 5,763 ล้านบาท และสถาบัน
การบินพลเรือน (สบพ.) ขอปรับลดวงเงิน 8 ล้านบาท รวมทั้งองค์การแก้วยุบเลิกกิจการ ทำให้วงเงินเบิกจ่ายลดลง
1 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นสุทธิ 5,754 ล้านบาท ทำให้ในปี 2543 มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่าย
เพิ่มขึ้นจาก 215,373 ล้านบาท เป็น 221,127 ล้านบาท ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบเบิกจ่ายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้เมื่อ
วันที่ 31 สิงหาคม 2542 คือ 224,000 ล้านบาท (ต่ำกว่า 2,873 ล้านบาท)
2) ในด้านการจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income : RI) รัฐวิสาหกิจ
จำนวน 6 แห่ง ได้แก่บขส. ททท. อตก. กนอ. บกท. และ อพวช. ประมาณว่าจะมี RI เพิ่มขึ้นรวม 1,597
ล้านบาท และ อจน. ขอปรับลดประมาณ 1 ล้านบาท รวมทั้ง องค์การแก้ว ได้ยุบเลิกกิจการ ทำให้ RI ลดลงอีก 21
ล้านบาท ส่งผลให้ RI เพิ่มขึ้นสุทธิ 1,575 ล้านบาท เป้าหมาย RI ในปี 2543 จึงเปลี่ยนจาก 115,579 ล้านบาท
เป็น 117,154 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีผลให้ภาพรวมการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนแปลงไป คือเป้าหมายปีงบประมาณ 2543
เป้าหมายปีงบประมาณ 2543
หน่วย : ล้านบาท
เป้าหมาย มติ ครม. ปรับใหม่ ผลต่าง
31 สิงหาคม 2542 ล้านบาท ร้อยละ
รายได้รวม 987,288 998,035 10,747 1.1
รายจ่ายรวม 925,259 932,950 7,691 0.8
กำไรสุทธิ 62,029 65,085 3,056 4.9
วงเงินเบิกจ่ายที่ได้รับอนุมัติ 215,373 221,127 5,754 2.7
กรอบเบิกจ่ายลงทุน 224,000 224,000 - -
Retained Income 115,579 117,154 1,575 1.4
ฐานะขาดดุล (RI - เบิกจ่าย) 108,421 /1 103,973 /2 (4,448) (4.1)
GDP 5,420,000 5,092,000 328,000 (6.1)
ฐานะขาดดุลประมาณ (ร้อยละ) 2.01 2.02 - -
/1ฐานะขาดดุลตามกรอบเบิกจ่ายที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
/2เป้าหมาย ฐานะขาดดุลตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้จ่ายจริง ณ ปัจจุบัน
1.2 ประเมินผลการดำเนินงานในไตรมาสแรก (ต.ค. - ธ.ค. 2542) จากการประมวล
ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรก รัฐวิสาหกิจในภาพรวมมีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสุทธิเพิ่ม
สูงมากถึงร้อยละ 72 ในขณะที่การเบิกจ่ายลงทุนดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 16 ส่วนการจัดหา
RI สามารถดำเนินการจัดหาได้สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 12สรุปผลการดำเนินงานในไตรมาสแรก
สรุปผลการดำเนินงานในไตรมาสแรก
หน่วย : ล้านบาท
เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน ผลต่าง
ล้านบาท ร้อยละ
รายได้รวม 249,274 257,339 8,065 3.2
รายจ่ายรวม 229,428 223,189 (6,239) (2.7)
กำไรสุทธิ 19,846 34,150 14,304 72.1
วงเงินเบิกจ่ายลงทุน 60,122 50,429 (9,693) (16.1)
Retained Income (RI) 40,648 45,665 5,017 12.3
2. แนวโน้มการดำเนินงานปี 2543
จากผลการดำเนินงานของไตรมาสแรก และแนวโน้มการดำเนินงานในช่วงต่อไปประมาณการ
ได้ว่าการดำเนินงานในปี 2543 ในภาพรวม รัฐวิสาหกิจจะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณ 3,360 ล้านบาท หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ที่สำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เนื่องจากคาดว่าจะสามารถขายหุ้นบริษัท
ราชบุรีโฮลดิ้งได้ทันในปีงบประมาณ 2543 โดยจะมีกำไรจากการขายหุ้นประมาณ 2,700 ล้านบาท
จากเป้าหมายการเบิกจ่ายลงทุนที่ได้รับอนุมัติ 221,127 ล้านบาท นั้น คาดว่าจะสามารถเบิกจ่าย
ลงทุนได้ทั้งสิ้น216,839 ล้านบาท ลดลง 4,288 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2 โดยมีรัฐวิสาหกิจที่สำคัญที่คาดว่า
จะจ่ายลงทุนได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ได้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) (1,996 ล้านบาท) เนื่องจากปรับลด
การเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับ RI ที่ลดลง และบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.)
(929 ล้านบาท) เนื่องจากมีปัญหาต้องหาข้อยุติเรื่องการเปิดเผยราคากลางในการประมูลการก่อสร้างก่อน
ทำให้การดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนด 3 เดือน
สำหรับการจัดหา RI นั้น คาดว่ารัฐวิสาหกิจจะสามารถจัดหาได้ทั้งสิ้น 132,928 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากเป้าหมาย15,774 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย (12,180 ล้านบาท) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (4,968 ล้านบาท) เนื่องจากผลการดำเนินงาน
ในปี 2542 ขาดทุน ทำให้ไม่ต้องนำเงินส่งรัฐ และจ่ายโบนัส รวมทั้ง กฟผ. คาดว่าจะมีรายรับจากการขายหุ้น
บริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง (7,950 ล้านบาท) ในปี 2543
จากการประมาณแนวโน้มการดำเนินงานปี 2543 ดังกล่าวข้างต้น คาดว่าจะมีผลให้ฐานะขาดดุล
โดยรวมของรัฐวิสาหกิจปี 2543 ลดลงจากเป้าหมายร้อยละ 2 ของ GDP เหลือเพียงร้อยละ 1.6 ของ GDP
แนวโน้มการดำเนินงานปี 2543
หน่วย : ล้านบาท
เป้าหมาย แนวโน้ม ผลต่าง
ปี 2543 การดำเนินงาน ล้านบาท ร้อยละ
รายได้รวม 998,035 1,007,836 9,801 1.0
รายจ่ายรวม 932,950 939,391 6,441 0.7
กำไรสุทธิ 65,085 68,445 3,360 5.2
วงเงินเบิกจ่ายลงทุนที่ได้รับอนุมัติ 221,127 216,839 (4,288) (1.9)
Retained Income (RI) 1 17,154 132,928 15,774 13.5
ฐานะขาดดุล (RI - เบิกจ่าย) 103,973 83,911 (20,062) (19.3)
GDP 5,092,000 5,092,000 - -
ฐานะขาดดุล (ร้อยละ) 2 1.6 - 0.4
อนึ่ง จากการประสานงานกับรัฐวิสาหกิจ ปรากฏว่า ปตท. ได้แจ้งความต้องการที่จะขยายวงเงิน
ลงทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 15,000 ล้านบาท เนื่องจากมีรายการลงทุนตามแผนระยะยาว (การเพิ่มทุนในบริษัท
ในเครือ) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ทันในปี 2542 เนื่องจากการ
เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทในเครือยังไม่แล้วเสร็จ ได้แก่
- บริษัทไทยออยส์ จำกัด จำนวน 10,000 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 20 สิงหาคม 2542)
- บริษัทไทยพาราไซลีน จำกัด จำนวน 1,554 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 24 สิงหาคม 2542)
- บริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด จำนวน 2,485 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 29 กันยายน
2541)
- บริษัทไทยลุ้บเบส จำกัด จำนวน 720 ล้านบาท (คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีประมาณเดือนพฤษภาคม
2543)
อย่างไรก็ตาม ปตท. คาดว่าจะมีรายได้ลดลงเพราะการชะลอการขายหุ้นบริษัท ปตท. และการจำหน่าย
ก๊าซไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากการศึกษารูปแบบของการแปรรูปยังไม่แล้วเสร็จ และต้องชะลอการสั่งซื้อก๊าซ
จากพม่า เพราะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรียังไม่แล้วเสร็จตามลำดับ ซึ่งจะมีผลให้ RI ลดลงประมาณ 8,500
ล้านบาท
ทั้งนี้ หากเป็นไปตามประมาณการดังกล่าวแล้ว จะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุลเพิ่มขึ้น
เป็นประมาณร้อยละ 2.2 ของ GDP
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543--