ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนจัดทำขึ้น รวมทั้งรายงานการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างนโยบายฯ ดังกล่าว ดังนี้
1. ร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 แนวคิดพื้นฐานในการกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคือ มีความเป็นสากล มีความสมบูรณ์มีความสมดุลย์ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
1.2 วิสัยทัศน์ของนโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคือ การมีสังคมที่มีสันติสุขอย่างแท้จริง การมีสังคมที่มีการเคารพกฎหมาย ยึดหลักนิติธรรมควบคู่ไปกับหลักจริยธรรม การมีสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมการปกครองที่ดี (good governance) ทั้งในภาครัฐและภาคประชาสังคม และการมีสังคมที่การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืนและสมดุลย์
1.3 แนวนโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีดังนี้
1) ส่งเสริมให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
2) ผสมผสานเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไว้ในการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในทุกด้าน
3) ดำเนินการให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับหน้าที่ ความรับผิดชอบและจริยธรรม
4) ส่งเสริมหลักการ ความเป็นสากล การแบ่งแยกมิได้ และการเกี่ยวพันซึ่งกันและกันของสิทธิมนุษยชน
5) สนับสนุนการดำเนินงานตามอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ ตามที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้กับนานาประเทศ
6) เสริมสร้างความร่วมมือทุกระดับในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
7) พัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
8) ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรเอกชนและองค์กรประชาชนในทุกระดับให้เข้มแข็ง
9) ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและกลไกของรัฐให้ใช้อำนาจในการปกครองอย่างมีศีลธรรม
1.4 การนำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติ เป็นความรับผิดชอบของทุกคนในสังคมที่จะต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยร่วมมือกันในลักษณะหุ้นส่วน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
1.5 ระยะเวลาของนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ มีกำหนดเวลา 5 ปี (2544 - 2548)
1.6 ขอบเขตของแผนปฏิบัติการฯ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้าน 11 ด้าน และคุ้มครองกลุ่มเป้าหมาย 20 กลุ่ม
2. ภาพรวมความเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนต่อร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน
2.1 ความคิดเห็น
1) ร่างนโยบาย และแผนฯ มีความสำคัญและจำเป็นแก่สังคมไทย แต่สิ่งที่ประชาชนแสดงความกังวลไม่มั่นใจคือ การนำนโยบายและแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
2) ประชาชนส่วนใหญ่มีความสับสนระหว่าง "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญกับนโยบายและแผนฯ ที่เป็นดำริของรัฐบาล โดยเฉพาะในประเด็นการจัดตั้ง "คณะกรรมการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน" เพื่อเป็นกลไกการประสานให้มีการนำนโยบายและแผนฯ ไปปฏิบัติอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
3) ปัญหาสำคัญอื่น ๆ ที่ถูกหยิบยกคือ การไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในการยกร่างนโยบายและแผนฯ ข้อมูลที่ใช้ไม่เป็นปัจจุบัน ขาดความชัดเจนในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและสภาพสังคมไทย ความซ้ำซ้อนและสับสนของแผนแต่ละเรื่อง โดยเฉพาะข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการที่ปรากฏในแผนฯ มีลักษณะตั้งรับ คือ เน้นการแก้ปัญหาที่มีอยู่ไม่มีลักษณะเชิงรุก ซึ่งต้องมองไปข้างหน้าว่าสิทธิมนุษยชนในอนาคตควรเป็นอย่างไร
2.2 ข้อเสนอแนะ
1) นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บท ควรจะเป็นนโยบายและแผนแม่บทเชิงวิสัยทัศน์ โดยเป็นแนวทางกว้าง ๆ มากกว่า
2) ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายและแผนฯ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นขึ้นไปในลักษณะ bottom - up มิใช่ top - down
3) นโยบายและแผนฯ ควรเสนอภาพให้เห็นชัดว่าประชาชนจะปกป้องคุ้มครองสิทธิอย่างไร ส่วนราชการจะส่งเสริมคุ้มครองอย่างไร ใครเป็นตัวหลักในการปฏิบัติตามแผนและกลไกจะเป็นอย่างไร
3. ข้อเสนอของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน มีดังนี้
3.1ให้มีการประกาศใช้นโยบายและแผนฯ โดยสั่งการให้หน่วยราชการต่าง ๆ ดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานให้ตอบสนองต่อนโยบายและแผนฯ รวมทั้งให้มีความสอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย โดยให้ทุกหน่วยงานรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบเป็นประจำทุกปี
3.2 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นกลไกในการประสานนโยบายและแผนฯ นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีลักษณะเป็นองค์กรขนาดเล็ก (มีตัวแทนจากภาครัฐไม่เกิน 1 ใน 3)
3.3 ให้มีการเผยแพร่นโยบายและแผนฯ และเชิญชวนให้มีการวิพากษ์วิจารณ์โดยควรจะดำเนินการในวิถีทางต่าง ๆ ที่จะให้มีการประชาพิจารณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงนโยบายและแผนทุกสามปี
4. ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน(นายอานันท์ ปันยารชุน) ได้เสนอข้อแนะแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 อนุมัติประกาศใช้นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ
4.2 ดำเนินการประกาศและเผยแพร่ โดยจัดพิมพ์นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ ให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วกัน โดยผ่านสื่อและสื่อมวลชน และเชิญชวนให้มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯดังกล่าว
4.3 เนื่องจากมีเวลาจำกัด จึงไม่อยู่ในวิสัยของคณะกรรมการแห่งชาติฯ ที่จะศึกษาพิจารณาข้อคิดเห็นของประชาชนอย่างละเอียดในทุกข้อทุกประเด็น ดังนั้น รัฐบาลควรจะดำเนินการในวิถีทางต่าง ๆ ที่จะให้มีการประชาพิจารณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมมีความสนใจอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องกัน
4.4 สั่งการให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานให้ตอบสนองต่อนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ และมีความสอดคล้องต้องกันในระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยให้สำนักงบประมาณได้รับทราบด้วย จากนั้นให้หน่วยงานรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย
4.5 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงจำต้องมีการจัดตั้งกลไกในการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังในรูปของคณะกรรมการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีลักษณะเป็นองค์กรขนาดเล็ก มีองค์ประกอบที่มีสัดส่วนกรรมการจากตัวแทนของภาครัฐไม่เกินหนึ่งในสาม ส่วนที่เหลือควรประกอบด้วยตัวแทนของภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาชน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนในสัดส่วนที่สมดุลกัน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมกันของหญิงและชาย โดยให้คณะกรรมการประสานนโยบายและแผนฯ มีภาระหน้าที่ ดังนี้
1) กำหนดแนวทางและประสานการปฏิบัติงานระหว่างส่วนราชการ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2) พิจารณากลั่นกรองและให้ความเห็นชอบแผนงานหรือโครงการในการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนของส่วนราชการ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ รวมทั้งผลการปฏิบัติงานตามแผนของฝ่ายบริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ประชาชนได้รับทราบอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
4) เสริมสร้างกลไกในหน่วยงานของรัฐในระดับต่าง ๆ ได้แก่ กลไกในกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปได้ตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ
5) สนับสนุนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคของสังคม ทั้งในและระหว่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
6) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อสาธารณชน
4.6 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามกระแสของสังคม ไม่มีการสิ้นสุดอย่างเบ็ดเสร็จและตายตัว ดังนั้น รัฐบาลจึงควรมีการพัฒนาปรับปรุงนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ ทุก ๆ สามปี โดยคำนึงถึงข้อคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนจัดทำขึ้น รวมทั้งรายงานการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างนโยบายฯ ดังกล่าว ดังนี้
1. ร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 แนวคิดพื้นฐานในการกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคือ มีความเป็นสากล มีความสมบูรณ์มีความสมดุลย์ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
1.2 วิสัยทัศน์ของนโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคือ การมีสังคมที่มีสันติสุขอย่างแท้จริง การมีสังคมที่มีการเคารพกฎหมาย ยึดหลักนิติธรรมควบคู่ไปกับหลักจริยธรรม การมีสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมการปกครองที่ดี (good governance) ทั้งในภาครัฐและภาคประชาสังคม และการมีสังคมที่การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืนและสมดุลย์
1.3 แนวนโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีดังนี้
1) ส่งเสริมให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
2) ผสมผสานเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไว้ในการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในทุกด้าน
3) ดำเนินการให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปกับหน้าที่ ความรับผิดชอบและจริยธรรม
4) ส่งเสริมหลักการ ความเป็นสากล การแบ่งแยกมิได้ และการเกี่ยวพันซึ่งกันและกันของสิทธิมนุษยชน
5) สนับสนุนการดำเนินงานตามอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ ตามที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้กับนานาประเทศ
6) เสริมสร้างความร่วมมือทุกระดับในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
7) พัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
8) ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรเอกชนและองค์กรประชาชนในทุกระดับให้เข้มแข็ง
9) ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและกลไกของรัฐให้ใช้อำนาจในการปกครองอย่างมีศีลธรรม
1.4 การนำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติ เป็นความรับผิดชอบของทุกคนในสังคมที่จะต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยร่วมมือกันในลักษณะหุ้นส่วน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
1.5 ระยะเวลาของนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ มีกำหนดเวลา 5 ปี (2544 - 2548)
1.6 ขอบเขตของแผนปฏิบัติการฯ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้าน 11 ด้าน และคุ้มครองกลุ่มเป้าหมาย 20 กลุ่ม
2. ภาพรวมความเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนต่อร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน
2.1 ความคิดเห็น
1) ร่างนโยบาย และแผนฯ มีความสำคัญและจำเป็นแก่สังคมไทย แต่สิ่งที่ประชาชนแสดงความกังวลไม่มั่นใจคือ การนำนโยบายและแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
2) ประชาชนส่วนใหญ่มีความสับสนระหว่าง "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญกับนโยบายและแผนฯ ที่เป็นดำริของรัฐบาล โดยเฉพาะในประเด็นการจัดตั้ง "คณะกรรมการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน" เพื่อเป็นกลไกการประสานให้มีการนำนโยบายและแผนฯ ไปปฏิบัติอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
3) ปัญหาสำคัญอื่น ๆ ที่ถูกหยิบยกคือ การไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในการยกร่างนโยบายและแผนฯ ข้อมูลที่ใช้ไม่เป็นปัจจุบัน ขาดความชัดเจนในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและสภาพสังคมไทย ความซ้ำซ้อนและสับสนของแผนแต่ละเรื่อง โดยเฉพาะข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการที่ปรากฏในแผนฯ มีลักษณะตั้งรับ คือ เน้นการแก้ปัญหาที่มีอยู่ไม่มีลักษณะเชิงรุก ซึ่งต้องมองไปข้างหน้าว่าสิทธิมนุษยชนในอนาคตควรเป็นอย่างไร
2.2 ข้อเสนอแนะ
1) นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บท ควรจะเป็นนโยบายและแผนแม่บทเชิงวิสัยทัศน์ โดยเป็นแนวทางกว้าง ๆ มากกว่า
2) ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายและแผนฯ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นขึ้นไปในลักษณะ bottom - up มิใช่ top - down
3) นโยบายและแผนฯ ควรเสนอภาพให้เห็นชัดว่าประชาชนจะปกป้องคุ้มครองสิทธิอย่างไร ส่วนราชการจะส่งเสริมคุ้มครองอย่างไร ใครเป็นตัวหลักในการปฏิบัติตามแผนและกลไกจะเป็นอย่างไร
3. ข้อเสนอของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน มีดังนี้
3.1ให้มีการประกาศใช้นโยบายและแผนฯ โดยสั่งการให้หน่วยราชการต่าง ๆ ดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานให้ตอบสนองต่อนโยบายและแผนฯ รวมทั้งให้มีความสอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย โดยให้ทุกหน่วยงานรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบเป็นประจำทุกปี
3.2 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นกลไกในการประสานนโยบายและแผนฯ นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีลักษณะเป็นองค์กรขนาดเล็ก (มีตัวแทนจากภาครัฐไม่เกิน 1 ใน 3)
3.3 ให้มีการเผยแพร่นโยบายและแผนฯ และเชิญชวนให้มีการวิพากษ์วิจารณ์โดยควรจะดำเนินการในวิถีทางต่าง ๆ ที่จะให้มีการประชาพิจารณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงนโยบายและแผนทุกสามปี
4. ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน(นายอานันท์ ปันยารชุน) ได้เสนอข้อแนะแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 อนุมัติประกาศใช้นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ
4.2 ดำเนินการประกาศและเผยแพร่ โดยจัดพิมพ์นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ ให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วกัน โดยผ่านสื่อและสื่อมวลชน และเชิญชวนให้มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯดังกล่าว
4.3 เนื่องจากมีเวลาจำกัด จึงไม่อยู่ในวิสัยของคณะกรรมการแห่งชาติฯ ที่จะศึกษาพิจารณาข้อคิดเห็นของประชาชนอย่างละเอียดในทุกข้อทุกประเด็น ดังนั้น รัฐบาลควรจะดำเนินการในวิถีทางต่าง ๆ ที่จะให้มีการประชาพิจารณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมมีความสนใจอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องกัน
4.4 สั่งการให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานให้ตอบสนองต่อนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ และมีความสอดคล้องต้องกันในระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยให้สำนักงบประมาณได้รับทราบด้วย จากนั้นให้หน่วยงานรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย
4.5 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงจำต้องมีการจัดตั้งกลไกในการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังในรูปของคณะกรรมการประสานนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีลักษณะเป็นองค์กรขนาดเล็ก มีองค์ประกอบที่มีสัดส่วนกรรมการจากตัวแทนของภาครัฐไม่เกินหนึ่งในสาม ส่วนที่เหลือควรประกอบด้วยตัวแทนของภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาชน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนในสัดส่วนที่สมดุลกัน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมกันของหญิงและชาย โดยให้คณะกรรมการประสานนโยบายและแผนฯ มีภาระหน้าที่ ดังนี้
1) กำหนดแนวทางและประสานการปฏิบัติงานระหว่างส่วนราชการ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2) พิจารณากลั่นกรองและให้ความเห็นชอบแผนงานหรือโครงการในการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนของส่วนราชการ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ รวมทั้งผลการปฏิบัติงานตามแผนของฝ่ายบริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ประชาชนได้รับทราบอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
4) เสริมสร้างกลไกในหน่วยงานของรัฐในระดับต่าง ๆ ได้แก่ กลไกในกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปได้ตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ
5) สนับสนุนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคของสังคม ทั้งในและระหว่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
6) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อสาธารณชน
4.6 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามกระแสของสังคม ไม่มีการสิ้นสุดอย่างเบ็ดเสร็จและตายตัว ดังนั้น รัฐบาลจึงควรมีการพัฒนาปรับปรุงนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ ทุก ๆ สามปี โดยคำนึงถึงข้อคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-