ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการปรับค่าจ้างประจำปี ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
คณะกรรมการค่าจ้างกลางตามตำสั่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่ 99/2541 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้าง กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ให้ข้อแนะนำภาคเอกชนเกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างและการปรับค่าจ้างประจำปี และหน้าที่อื่นตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้รายงานผลการประชุมเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2543 ซึ่งพิจารณากำหนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการปรับค่าจ้างประจำปีต่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่า คณะกรรมการค่าจ้างกลางได้นำข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งขอให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เพียงพอกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมาพิจารณาหลายครั้ง โดยได้พิจารณาความเห็นของผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนลูกจ้าง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะค่าครองชีพในช่วงปี 2539 - 2542 รวมถึงการพิจารณาบนหลักการที่ว่าลูกจ้างสามารถอยู่ได้ นายจ้างสามารถจ่ายได้ มาตรฐานการครองชีพของลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมแล้วมีมติ ดังนี้
1. กรณีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อยังไม่เอื้ออำนวยให้ต้องปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งใช้สำหรับแรงงานไร้ฝีมือแรกเข้าทำงานในขณะนี้ เห็นสมควรให้ติดตามภาวะเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อต่อไปอีก3 เดือน แล้วจึงจะนำมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งในเดือนเมษายน 2543
2. กรณีการปรับค่าจ้างประจำปีหรือการขึ้นค่าจ้างประจำปี กรณีนี้ไม่เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คณะกรรมการค่าจ้างกลางมีข้อแนะนำนายจ้างและผู้ประกอบการภาคเอกชนว่า นายจ้างควรจะต้องพิจารณาปรับค่าจ้างประจำปีให้แก่ลูกจ้างแรงงานทั้งมีฝีมือและไม่มีฝีมือที่ทำงานมาครบหนึ่งปี เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2542 ที่ผ่านมาอยู่ในอัตราร้อยละ 3.0 - 4.0 และคาดว่าจะเป็นร้อยละ 4.0 - 4.4 ในปี 2543 จึงเสนอแนะให้นายจ้างได้พิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปีให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานมาแล้วครบหนึ่งปีตามผลงานของลูกจ้างและตามผลประกอบการของนายจ้าง โดยเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 2.0 - 4.0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการปรับค่าจ้างประจำปี ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
คณะกรรมการค่าจ้างกลางตามตำสั่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่ 99/2541 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้าง กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ให้ข้อแนะนำภาคเอกชนเกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างและการปรับค่าจ้างประจำปี และหน้าที่อื่นตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้รายงานผลการประชุมเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2543 ซึ่งพิจารณากำหนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการปรับค่าจ้างประจำปีต่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่า คณะกรรมการค่าจ้างกลางได้นำข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งขอให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เพียงพอกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมาพิจารณาหลายครั้ง โดยได้พิจารณาความเห็นของผู้แทนนายจ้าง และผู้แทนลูกจ้าง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะค่าครองชีพในช่วงปี 2539 - 2542 รวมถึงการพิจารณาบนหลักการที่ว่าลูกจ้างสามารถอยู่ได้ นายจ้างสามารถจ่ายได้ มาตรฐานการครองชีพของลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมแล้วมีมติ ดังนี้
1. กรณีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อยังไม่เอื้ออำนวยให้ต้องปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งใช้สำหรับแรงงานไร้ฝีมือแรกเข้าทำงานในขณะนี้ เห็นสมควรให้ติดตามภาวะเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อต่อไปอีก3 เดือน แล้วจึงจะนำมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งในเดือนเมษายน 2543
2. กรณีการปรับค่าจ้างประจำปีหรือการขึ้นค่าจ้างประจำปี กรณีนี้ไม่เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คณะกรรมการค่าจ้างกลางมีข้อแนะนำนายจ้างและผู้ประกอบการภาคเอกชนว่า นายจ้างควรจะต้องพิจารณาปรับค่าจ้างประจำปีให้แก่ลูกจ้างแรงงานทั้งมีฝีมือและไม่มีฝีมือที่ทำงานมาครบหนึ่งปี เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2542 ที่ผ่านมาอยู่ในอัตราร้อยละ 3.0 - 4.0 และคาดว่าจะเป็นร้อยละ 4.0 - 4.4 ในปี 2543 จึงเสนอแนะให้นายจ้างได้พิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปีให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานมาแล้วครบหนึ่งปีตามผลงานของลูกจ้างและตามผลประกอบการของนายจ้าง โดยเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 2.0 - 4.0
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543--