คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการเร่งรัดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินโครงการและเบิกจ่ายเงินกู้ที่ได้ผูกพันไว้แล้ว เพื่อสนับสนุนให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ได้ให้แนวทางในการดำเนินการไว้ดังนี้ 1) ต้องมีความโปร่งใส 2) ต้องมีประสิทธิภาพ 3) หากไม่มีความโปร่งใสและไม่มีประสิทธิภาพให้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ และ 4) หากมีความโปร่งใสและเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพให้เร่งรัดเบิกจ่าย
สำหรับรายละเอียดของโครงการฯ มีดังนี้
1. โครงการเงินกู้จากต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ (OngoingProject) มีทั้งหมดจำนวน 99 โครงการ เป็นโครงการของส่วนราชการ 45 โครงการ และรัฐวิสาหกิจ 54 โครงการ คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 12,193 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 531,127 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 43.56 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ) โดยมีวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นจำนวนรวม 7,157 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 311,759 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยเบิกในช่วง 4 - 5 ปี ข้างหน้า
2. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการข้อ 1 ข้างต้น มีโครงการที่สามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายได้ประมาณ 20โครงการ โดยใน 2 ไตรมาสหลังของปีงบประมาณ 2544 นี้ สามารถเร่งรัดเบิกจ่ายได้ประมาณ 885 ล้านเหรียญสหรัฐ(ประมาณ 38,393 ล้านบาท) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1 โครงการเงินกู้ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและงานโยธา จำนวน 17 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของส่วนราชการ 9 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 รวม 2 โครงการ โครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ รวม 2 โครงการ โครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและการจัดระบบการจราจร โครงการพัฒนากรมที่ดินและเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ ระยะที่ 3 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดนครอินทร์และถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์-เพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์ โครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม และโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดินด้วยการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน (ระยะที่ 1) และโครงการของรัฐวิสาหกิจ 8 โครงการ ได้แก่ โครงการเปลี่ยนรางในทางประธานระยะที่ 1, ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 รวม 3 โครงการ โครงการเปลี่ยนรางในทางประธานระยะที่ 1, 2, 3 ในส่วนเงินบาทสมทบ โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักครั้งที่ 7 (ระยะที่ 1 และ 2) แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 รวม 2 โครงการ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ ระยะทาง 234 กม.
2.2 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบทางสังคม เป็นการกู้เงินในลักษณะเป็น Program Loan ประกอบด้วย โครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง ๆ และโครงการลงทุนเพื่อสังคม รวม3 โครงการ ได้แก่ โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) (สัญญาเงินกู้เบิกจ่ายระหว่าง 1998-2000)โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร และโครงการลงทุนเพื่อสังคม
3. สำหรับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกู้ตามโครงการข้างต้น เห็นสมควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินงานดังต่อไปนี้
3.1 ติดตามและเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างและการดำเนินโครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจข้างต้นให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด
3.2 จัดให้มีคณะกรรมการเพื่อติดตามและให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการ รวมทั้งการจัดทำรายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินกู้ สำหรับกลุ่มโครงการดังกล่าวเป็นรายโครงการ
อนึ่ง สำหรับโครงการลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งใช้เงินกู้จากต่างประเทศ และมีสัดส่วนของการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศในสัดส่วนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ จำนวน 10 แห่ง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ชะลอการนำเข้าพัสดุที่มูลค่าสูงจากต่างประเทศ และให้ใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศทดแทนนั้น กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับรัฐวิสาหกิจข้างต้นแล้ว โดยได้กำหนดแนวปฏิบัติในการลดการนำเข้าและส่งเสริมการใช้วัสดุภายในประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเรียบร้อยแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ได้ให้แนวทางในการดำเนินการไว้ดังนี้ 1) ต้องมีความโปร่งใส 2) ต้องมีประสิทธิภาพ 3) หากไม่มีความโปร่งใสและไม่มีประสิทธิภาพให้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ และ 4) หากมีความโปร่งใสและเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพให้เร่งรัดเบิกจ่าย
สำหรับรายละเอียดของโครงการฯ มีดังนี้
1. โครงการเงินกู้จากต่างประเทศของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ (OngoingProject) มีทั้งหมดจำนวน 99 โครงการ เป็นโครงการของส่วนราชการ 45 โครงการ และรัฐวิสาหกิจ 54 โครงการ คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 12,193 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 531,127 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 43.56 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ) โดยมีวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นจำนวนรวม 7,157 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 311,759 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยเบิกในช่วง 4 - 5 ปี ข้างหน้า
2. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการข้อ 1 ข้างต้น มีโครงการที่สามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายได้ประมาณ 20โครงการ โดยใน 2 ไตรมาสหลังของปีงบประมาณ 2544 นี้ สามารถเร่งรัดเบิกจ่ายได้ประมาณ 885 ล้านเหรียญสหรัฐ(ประมาณ 38,393 ล้านบาท) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1 โครงการเงินกู้ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและงานโยธา จำนวน 17 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของส่วนราชการ 9 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 รวม 2 โครงการ โครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ รวม 2 โครงการ โครงการเงินกู้ญี่ปุ่นสาขาการวางแผนและการจัดระบบการจราจร โครงการพัฒนากรมที่ดินและเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ ระยะที่ 3 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดนครอินทร์และถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์-เพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์ โครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม และโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดินด้วยการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน (ระยะที่ 1) และโครงการของรัฐวิสาหกิจ 8 โครงการ ได้แก่ โครงการเปลี่ยนรางในทางประธานระยะที่ 1, ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 รวม 3 โครงการ โครงการเปลี่ยนรางในทางประธานระยะที่ 1, 2, 3 ในส่วนเงินบาทสมทบ โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักครั้งที่ 7 (ระยะที่ 1 และ 2) แผนงานเงินกู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 รวม 2 โครงการ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ ระยะทาง 234 กม.
2.2 โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบทางสังคม เป็นการกู้เงินในลักษณะเป็น Program Loan ประกอบด้วย โครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง ๆ และโครงการลงทุนเพื่อสังคม รวม3 โครงการ ได้แก่ โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) (สัญญาเงินกู้เบิกจ่ายระหว่าง 1998-2000)โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร และโครงการลงทุนเพื่อสังคม
3. สำหรับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกู้ตามโครงการข้างต้น เห็นสมควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินงานดังต่อไปนี้
3.1 ติดตามและเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างและการดำเนินโครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจข้างต้นให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด
3.2 จัดให้มีคณะกรรมการเพื่อติดตามและให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการ รวมทั้งการจัดทำรายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินกู้ สำหรับกลุ่มโครงการดังกล่าวเป็นรายโครงการ
อนึ่ง สำหรับโครงการลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งใช้เงินกู้จากต่างประเทศ และมีสัดส่วนของการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศในสัดส่วนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ จำนวน 10 แห่ง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ชะลอการนำเข้าพัสดุที่มูลค่าสูงจากต่างประเทศ และให้ใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศทดแทนนั้น กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับรัฐวิสาหกิจข้างต้นแล้ว โดยได้กำหนดแนวปฏิบัติในการลดการนำเข้าและส่งเสริมการใช้วัสดุภายในประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเรียบร้อยแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-