แท็ก
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมวิชาการเกษตร
สหรัฐอเมริกา
คณะรัฐมนตรี
การส่งออก
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานความคืบหน้าในการขอเปิดตลาดผลไม้ไทย 6 ชนิดไปสหรัฐอเมริกา ดังนี้
ตามที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติร่วมกับกรมวิชาการเกษตร จัดการประชุมมาตรการกำจัดศัตรูพืชผลไม้ไทย 6 ชนิด เพื่อเตรียมการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา (The Meeting on Mitigation Measures : Phytosanitary Treatments for Potential Quarantine Pests on Selected Thai Fruits to be Exported from Thailand to the United States) เพื่อจัดทำข้อสรุปมาตรการกำจัดศัตรูพืชผลไม้ไทย 6 ชนิด และกรอบแผนการดำเนินงานเพื่อส่งออก ผลไม้สดดังกล่าวไปยังสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ เช่น สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเอกชนเข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 13 — 17 มิถุนายน 2548 ณ กรุงเทพมหานคร สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ดังนี้
1. กรอบแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมการส่งออกผลไม้ไปสหรัฐอเมริกา
ที่ประชุมเห็นชอบกรอบแผนการดำเนินงานโดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันการส่งออกให้ได้ภายในระยะเวลา 1 ปีครึ่ง ดังนี้
1) หน่วยงานประสานหลัก
ฝ่ายไทย คือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และฝ่ายสหรัฐอเมริกา คือ สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะยื่นหนังสือระบุมาตรการกำจัดศัตรูพืชที่ต้องการของผลไม้ทั้ง 6 ชนิด แก่ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
3) สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืชของสหรัฐอเมริกาจะยื่นหนังสือผ่าน มกอช. เพื่อนำเสนอไทยให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 103 พ.ศ. 2529 เรื่องข้อกำหนดว่าด้วยปริมาณสูงสุดของการฉายรังสีสำหรับผักและผลไม้
4) สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืชของสหรัฐอเมริกาจะยื่นหนังสือผ่าน มกอช. เพื่อนำเสนอไทยให้ยอมรับค่าการฉายรังสีแมลงศัตรูพืชกักกันที่ 400 เกรย์
5) สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืชของสหรัฐอเมริกาจะยื่นหนังสือแจ้งไทยขอร่วมจัดทำกรอบแผนการดำเนินงานว่าด้วยความเท่าเทียมกันด้านวิธีการฉายรังสี และ มกอช. ยื่นคำขอความร่วมมือทางเทคนิคด้านการพัฒนาโรงงานฉายรังสีและการตรวจรับรองเพื่อให้สอดคล้องมาตรฐานสากล
2. ข้อสรุปมาตรการกำจัดศัตรูพืชผลไม้ไทย 6 ชนิด ก่อนการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา
ที่ประชุมให้ความเห็นชอบมาตรการกำจัดศัตรูพืชสำหรับผลไม้แต่ละชนิด ซึ่งจะครอบคลุมการฉายรังสี การใช้ความเย็น การอบไอน้ำ การใช้ Systems approach เป็นต้น ดังนี้
ลิ้นจี่
1. การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
2. การใช้ความเย็น กำจัดแมลงวันผลไม้และหนอนผีเสื้อ ระยะที่ 1
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
1. หนังสือฝ่ายไทยระบุคุณภาพของผลไม้ที่ไม่เปลี่ยนแปลงหากได้รับการฉายรังสีที่ระดับสูงกว่า 600 กิโลเกรย์
2. ข้อมูลเพิ่มเติมการกำจัดหนอนผีเสื้อ ระยะที่ 1 ในลิ้นจี่ด้วยการใช้ความเย็น โรคหลังเก็บเกี่ยวอีก 1 ชนิด และข้อมูลกรณีการใช้มาตรการอบไอน้ำลิ้นจี่ของจีน
ลำไย
1. การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
2. การใช้ความเย็น สำหรับแมลงวันผลไม้และหนอนผีเสื้อ ระยะที่ 1
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
ข้อมูลการกำจัดหนอนผีเสื้อ ระยะที่ 1 ในลำไยด้วยการใช้ความเย็น
มะม่วง
การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
หนังสือฝ่ายไทยระบุระดับความทนทานต่อการฉายรังสีของมะม่วงแต่ละชนิด
มังคุด
1. การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
2. การอบไอน้ำ
Systems approach
สับปะรด
1. การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์ อย่างไรก็ตามมีปัญหาทำให้แกนสับปะรดเปลี่ยนสีเข้มขึ้นมากเป็นปัญหาต่อการตลาด อาจต้องใช้วิธีการอื่นแทน
2. Systems approach
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
1. ผลทดสอบการฉายรังสีที่ระดับความสุกของสับปะรดชนิดต่าง ๆ และระดับอุณหภูมิ
2. ข้อมูลการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีอบไอน้ำเนื่องจากวิธีนี้ได้รับการยอมรับจากสหรัฐฯ
เงาะ
การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการอื่น ๆ เช่น การกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีอบไอน้ำ การกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีเป่าด้วยอากาศร้อน
สำหรับการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติจะได้เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกรมวิชาการเกษตร สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนไทย และหน่วยงานของสหรัฐอเมริกา ในการดำเนินการตามแผนงานต่าง ๆ ต่อไป และจะรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
ทราบเพื่อเป็นข้อมูลเรื่องที่ 4 / เรื่อง การตรวจและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ “สึนามิ” ในพื้นที่จังหวัดพังงา
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายงานผลการดำเนินงานจากการประชุมหารือร่วมของหน่วยราชการกับประชาชนผู้ประสบภัย ในการตรวจและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ “สึนามิ” ในเขตอำเภอตะกั่วป่า และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในระหว่างวันที่ 9 — 11 มิถุนายน 2548 โดยมีประเด็นเชิงนโยบายที่มีสาระสำคัญ ดังนี้
ปัญหา สาระสำคัญ แนวทางแก้ไข
1.ปัญหาที่พักอาศัย - ความล่าช้าในการก่อสร้างบ้านพักถาวร จังหวัดพังงาได้เร่งรัด และ
(บ้านพักถาวร) ของผู้ประสบภัย ปัจจุบันในบางพื้นที่ ดำเนินการจัดหาผู้รับเหมาจ้าง
ดำเนินการ ไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับ เพิ่มเติม เข้ามาดำเนินการ
ย่างเข้าฤดูฝน ทำให้ประชาชนที่รอเข้า ก่อสร้างโดยเร่งด่วน
พักอาศัย ได้รับความเดือดร้อน
2.ปัญหาผู้ประกอบการค้า - ได้มีการร้องเรียนว่าปัจจุบันมีผู้ จังหวัดพังงาได้มอบหมายให้
รายย่อย ประกอบการ รายย่อยบางส่วนยังไม่ได้ สำนักงาน ท้องถิ่นจังหวัด
รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วน
- ขณะเดียวกัน ทางราชการได้มีการ ท้องถิ่น ทำการสำรวจและ
สำรวจจำนวนผู้ประกอบการค้ารายย่อย ตรวจสอบ รายชื่อผู้ประกอบการ
ปรากฎว่าจำนวนไม่ทั่วถึงและครบถ้วน รายย่อย เสนอต่อสำนักงานปลัด
สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนัก
ตรวชราชการ) แล้วปัจจุบันอยู่
ในขั้นตอนพิจารณาผล
3.ปัญหาระบบประปา - บ้านพักถาวรที่ได้มีการก่อสร้างเสร็จ ได้เร่งรัดให้กรมทรัพยากรนำ
เรียบร้อยแล้ว ปรากฎว่าไม่มีน้ำประปา บาดาล กระทรวงทรัพยากรฯ
เพื่อบริโภค และไม่มีหน่วยงาน ดำเนินงานในส่วนเกี่ยวข้องพร้อม
รับผิดชอบ ทั้งมอบหมายให้จังหวัดพังงา
ประสานกับการประปาส่วนภูมิภาค
ดำเนินการโดยเร่งด่วน
4.ปัญหาเตือนภัยล่วงหน้า - ปัจจุบันยังไม่มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัย คณะกรรมการศึกษาระบบเตือนภัย
(Early Warning) ล่วงหน้า ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย โดย เตรียมที่จะเร่งดำเนินการติดตั้ง
เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชุมชน ใกล้ชาย ในพื้นที่จังหวัดพังงา 20 จุด
ฝั่งทะเล โดยเร่งด่วน
5.ปัญหาทุนการศึกษาของ - ประชาชนได้ขอให้ตรวจสอบเรื่องทุน ได้มอบหมายให้สำนักงานเขต
เด็กที่พ่อแม่ประสบภัย การศึกษาของเด็กนักเรียนในกรณีที่ พื้นที่การศึกษา จังหวัดพังงา
ครอบครัวประสบภัย ซึ่งบางรายยัง ไปตรวจสอบและเร่งรัดดำเนิน
ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ การเบิกจ่ายโดยเร็ว พร้อมทั้ง
รายงานผลให้จังหวัดพังงาทราบ
6. ปัญหาศาสนสถาน - ได้มีการร้องเรียนให้หน่วยราชการ ได้มอบหมายให้จังหวัดพังงา
ถูกทำลาย ปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนาศาสนสถาน พิจารณาใช้งบประมาณที่สามารถ
(วัด) ที่อยู่ในบริเวณประสบภัย และ ดำเนินการได้ ปรับปรุงซ่อมแซม
ให้การช่วยเหลือในช่วงเกิดภัยพิบัติ ศาสนสถาน (วัด) ในส่วนที่
สามารถดำเนินการได้โดยเร่งด่วน
7.ปัญหาการใช้ที่ดินและ - การวางผังเมือง (จัดระเบียบการใช้ ได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการ
ผังเมือง ที่ดิน) บริเวณตำบลคึกคัก/แนวชายฝั่ง และผังเมืองร่วมกับ อพท. เร่ง
ทะเลอันดามัน ยังไม่มีการประกาศใช้ ดำเนินการประสานงานและหา
บังคับ ขณะเดียวกันปรากฏว่ามีการ ข้อยุติภายใน 27 มิถุนายน 2548
ลักลอบถมดินล้ำในเขตทะเล ทำให้เกิด และจะได้นัดหมายผู้ประกอบการ
ความเสียหายบริเวณชายฝั่ง และ อบต.ที่เกี่ยวข้องมาสรุป
ภายใน 15 กรกฎาคม 2548
8.ปัญหาการทำประมง - ประชาชนผู้มีอาชีพประมงชายฝั่ง ได้มอบหมายให้จังหวัดพังงา
ขนาดเล็ก (ประมง (หรือประมงขนาดเล็ก) ได้ร้องเรียน ประสานงานกับกรมประมง และ
ชายฝั่ง) ให้สร้างเขื่อนกันทราย (ขุดร่องน้ำ) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง
เพื่อให้เรือประมงขนาดเล็กสามารถ หารือแนวทางการช่วยเหลือ ผ่าน
เข้าออกได้ คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือ
- สนับสนุนน้ำมันราคาถูก (น้ำมันสีม่วง) และแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน
สำหรับเรือประมงขนาดเล็ก ซึ่งมี 6 จังหวัดภาคใต้
ความขาดแคลน และหาซื้อลำบาก
(โดยขอสนับสนุน 300,000 ลิตร)
- สนับสนุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อประกอบอาชีพ
และค่าเสียหายของเรือที่ประสบภัย
"สึนามิ"
9.ปัญหาการให้ข้อมูล - ประชาชนมีความสับสนในการให้ข้อมูล มอบหมายให้ปลัดสำนักนายก-
ภาครัฐ ข่าวสารภาครัฐ ซึ่งมักจะไม่สอดคล้องกัน รัฐมนตรี เป็นหน่วยงานหลักร่วม
- เห็นควรกำหนดให้มีฐานข้อมูลของผู้ กับกรมป้องกันและบรรเทา
ประสบภัยอย่างเป็นระบบเพื่อให้การ สาธารณภัย และจังหวัดพังงา
ช่วยเหลือเป็นไปอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ประสานงานกับหน่วยงานที่
และยุติธรรมโดยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนในการจัดทำ
ฐานข้อมูล (Database) ให้มี
มาตรฐาน
10.ปัญหาให้ความ - ขอให้หน่วยงานภาครัฐมีหลักเกณฑ์ที่ จังหวัดพังงาได้ชี้แจงว่า จะใช้งบ
ช่วยเหลือกลุ่มเฉพาะ ชัดเจน ในการให้ความช่วยเหลือกลุ่ม ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพื่อ
เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ และกลุ่มหมอนวดแผนโบราณ ให้ความช่วยเหลือต่อไป โดยมอบ
และกลุ่มหมอนวด ที่ประสบภัยธรรมชาติครั้งนี้ หมายให้สำนักงานสาธารณสุข
แผนโบราณ จังหวัดรับผิดชอบ
11.ปัญหาการท่องเที่ยว - เสนอให้มีนโยบายที่ชัดเจนในการ ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการ
ในพื้นที่จังหวัดพังงา ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา ศึกษาแผนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่
โดยจัดให้มีแผนฟื้นฟุและหลักเกณฑ์ที่ ประสบภัยธรณีพิบัติ จังหวัดพังงา
เป็นระบบ โดยสถาบันการศึกษาของรัฐ
12.ปัญหาแรงงานต่างด้าว - เสนอให้มีการผ่อนผันแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงานได้ชี้แจงว่า
ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์(ใบอนุญาต)ให้ ปัจจุบันให้ แรงงานต่างด้าวมายื่น
สามารถประกอบอาชีพด้านการประมงได้ ความจำนงเพื่อขยายการจ้างงาน
จนถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ส่วนผู้
ที่ไม่มีสิทธิขอให้ดำเนินการตาม
พรบ.ว่าด้วยการทำงานต่างด้าว
พ.ศ.2521
13.ปัญหาของกลุ่ม แพปลา - ชาวประมงในพื้นที่ประสบภัยได้ร้องขอให้ มอบหมายให้จังหวัดพังงาประสาน
เอกชน พิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพแพปลา งานกับกรมประมง เพื่อพิจารณา
ของเอกชนที่ได้รับความเสียหาย ตามหลักเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือ
พร้อมทั้งรายงานผล
14.ปัญหาการพัฒนาระบบ - เนื่องจากบริเวณก่อสร้างระบบ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สาธารณูปการ (ถนนและระบบไฟฟ้า) พิจารณาดำเนินการต่อไป
และอาคารที่ทำการ อบต.ของเกาะ
พระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
บางส่วนทับซ้อนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
นอกเหนือจากการรับฟังสภาพปัญหา และการชี้แจงข้อเท็จจริง ตลอดทั้งข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแล้ว ยังได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา เพื่อรับฟังความคิดเห็น และแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ปรากฏว่ามีข้อสังเกตและประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การดำเนินงานช่วยเหลือของหน่วยราชการต่าง ๆ ในจังหวัดพังงา ยังขาดการเชื่อมโยงประสานงานอย่างเป็นระบบ แม้จะกำหนดให้จังหวัดพังงาเป็นศูนย์กลางการประสานงานในพื้นที่ก็ตาม แต่ปรากฏว่ายังมีหน่วยราชการเป็นจำนวนมากดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยปราศจากการติดต่อประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด
2. การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการใช้ประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติครั้งนี้ ขาดมาตรฐานการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย เป็นระบบ ทำให้เกิดช่องว่างของการช่วยเหลือ มีความซ้ำซ้อนและไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งมีการแสวงหาผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางขึ้นรับผิดชอบเพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลรายละเอียด ตลอดทั้งความคืบหน้าในการดำเนินงานช่วยเหลือของทุกส่วนราชการ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งใน และต่างประเทศ ประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป ทั้งนี้ได้นำเรียนประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนวทางแก้ไขดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการฯ ของแต่ละกระทรวงที่รับผิดชอบ ได้รับทราบในเบื้องต้นแล้ว และจะได้มีการประสานงานและติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--
ตามที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติร่วมกับกรมวิชาการเกษตร จัดการประชุมมาตรการกำจัดศัตรูพืชผลไม้ไทย 6 ชนิด เพื่อเตรียมการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา (The Meeting on Mitigation Measures : Phytosanitary Treatments for Potential Quarantine Pests on Selected Thai Fruits to be Exported from Thailand to the United States) เพื่อจัดทำข้อสรุปมาตรการกำจัดศัตรูพืชผลไม้ไทย 6 ชนิด และกรอบแผนการดำเนินงานเพื่อส่งออก ผลไม้สดดังกล่าวไปยังสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ เช่น สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเอกชนเข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 13 — 17 มิถุนายน 2548 ณ กรุงเทพมหานคร สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ดังนี้
1. กรอบแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมการส่งออกผลไม้ไปสหรัฐอเมริกา
ที่ประชุมเห็นชอบกรอบแผนการดำเนินงานโดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันการส่งออกให้ได้ภายในระยะเวลา 1 ปีครึ่ง ดังนี้
1) หน่วยงานประสานหลัก
ฝ่ายไทย คือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และฝ่ายสหรัฐอเมริกา คือ สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะยื่นหนังสือระบุมาตรการกำจัดศัตรูพืชที่ต้องการของผลไม้ทั้ง 6 ชนิด แก่ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
3) สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืชของสหรัฐอเมริกาจะยื่นหนังสือผ่าน มกอช. เพื่อนำเสนอไทยให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 103 พ.ศ. 2529 เรื่องข้อกำหนดว่าด้วยปริมาณสูงสุดของการฉายรังสีสำหรับผักและผลไม้
4) สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืชของสหรัฐอเมริกาจะยื่นหนังสือผ่าน มกอช. เพื่อนำเสนอไทยให้ยอมรับค่าการฉายรังสีแมลงศัตรูพืชกักกันที่ 400 เกรย์
5) สำนักงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืชของสหรัฐอเมริกาจะยื่นหนังสือแจ้งไทยขอร่วมจัดทำกรอบแผนการดำเนินงานว่าด้วยความเท่าเทียมกันด้านวิธีการฉายรังสี และ มกอช. ยื่นคำขอความร่วมมือทางเทคนิคด้านการพัฒนาโรงงานฉายรังสีและการตรวจรับรองเพื่อให้สอดคล้องมาตรฐานสากล
2. ข้อสรุปมาตรการกำจัดศัตรูพืชผลไม้ไทย 6 ชนิด ก่อนการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา
ที่ประชุมให้ความเห็นชอบมาตรการกำจัดศัตรูพืชสำหรับผลไม้แต่ละชนิด ซึ่งจะครอบคลุมการฉายรังสี การใช้ความเย็น การอบไอน้ำ การใช้ Systems approach เป็นต้น ดังนี้
ลิ้นจี่
1. การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
2. การใช้ความเย็น กำจัดแมลงวันผลไม้และหนอนผีเสื้อ ระยะที่ 1
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
1. หนังสือฝ่ายไทยระบุคุณภาพของผลไม้ที่ไม่เปลี่ยนแปลงหากได้รับการฉายรังสีที่ระดับสูงกว่า 600 กิโลเกรย์
2. ข้อมูลเพิ่มเติมการกำจัดหนอนผีเสื้อ ระยะที่ 1 ในลิ้นจี่ด้วยการใช้ความเย็น โรคหลังเก็บเกี่ยวอีก 1 ชนิด และข้อมูลกรณีการใช้มาตรการอบไอน้ำลิ้นจี่ของจีน
ลำไย
1. การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
2. การใช้ความเย็น สำหรับแมลงวันผลไม้และหนอนผีเสื้อ ระยะที่ 1
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
ข้อมูลการกำจัดหนอนผีเสื้อ ระยะที่ 1 ในลำไยด้วยการใช้ความเย็น
มะม่วง
การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
หนังสือฝ่ายไทยระบุระดับความทนทานต่อการฉายรังสีของมะม่วงแต่ละชนิด
มังคุด
1. การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
2. การอบไอน้ำ
Systems approach
สับปะรด
1. การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์ อย่างไรก็ตามมีปัญหาทำให้แกนสับปะรดเปลี่ยนสีเข้มขึ้นมากเป็นปัญหาต่อการตลาด อาจต้องใช้วิธีการอื่นแทน
2. Systems approach
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
1. ผลทดสอบการฉายรังสีที่ระดับความสุกของสับปะรดชนิดต่าง ๆ และระดับอุณหภูมิ
2. ข้อมูลการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีอบไอน้ำเนื่องจากวิธีนี้ได้รับการยอมรับจากสหรัฐฯ
เงาะ
การฉายรังสีที่ระดับ 400 เกรย์
สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม
ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการอื่น ๆ เช่น การกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีอบไอน้ำ การกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีเป่าด้วยอากาศร้อน
สำหรับการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติจะได้เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกรมวิชาการเกษตร สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนไทย และหน่วยงานของสหรัฐอเมริกา ในการดำเนินการตามแผนงานต่าง ๆ ต่อไป และจะรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
ทราบเพื่อเป็นข้อมูลเรื่องที่ 4 / เรื่อง การตรวจและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ “สึนามิ” ในพื้นที่จังหวัดพังงา
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายงานผลการดำเนินงานจากการประชุมหารือร่วมของหน่วยราชการกับประชาชนผู้ประสบภัย ในการตรวจและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ “สึนามิ” ในเขตอำเภอตะกั่วป่า และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในระหว่างวันที่ 9 — 11 มิถุนายน 2548 โดยมีประเด็นเชิงนโยบายที่มีสาระสำคัญ ดังนี้
ปัญหา สาระสำคัญ แนวทางแก้ไข
1.ปัญหาที่พักอาศัย - ความล่าช้าในการก่อสร้างบ้านพักถาวร จังหวัดพังงาได้เร่งรัด และ
(บ้านพักถาวร) ของผู้ประสบภัย ปัจจุบันในบางพื้นที่ ดำเนินการจัดหาผู้รับเหมาจ้าง
ดำเนินการ ไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับ เพิ่มเติม เข้ามาดำเนินการ
ย่างเข้าฤดูฝน ทำให้ประชาชนที่รอเข้า ก่อสร้างโดยเร่งด่วน
พักอาศัย ได้รับความเดือดร้อน
2.ปัญหาผู้ประกอบการค้า - ได้มีการร้องเรียนว่าปัจจุบันมีผู้ จังหวัดพังงาได้มอบหมายให้
รายย่อย ประกอบการ รายย่อยบางส่วนยังไม่ได้ สำนักงาน ท้องถิ่นจังหวัด
รับเงินช่วยเหลือจากทางราชการ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วน
- ขณะเดียวกัน ทางราชการได้มีการ ท้องถิ่น ทำการสำรวจและ
สำรวจจำนวนผู้ประกอบการค้ารายย่อย ตรวจสอบ รายชื่อผู้ประกอบการ
ปรากฎว่าจำนวนไม่ทั่วถึงและครบถ้วน รายย่อย เสนอต่อสำนักงานปลัด
สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนัก
ตรวชราชการ) แล้วปัจจุบันอยู่
ในขั้นตอนพิจารณาผล
3.ปัญหาระบบประปา - บ้านพักถาวรที่ได้มีการก่อสร้างเสร็จ ได้เร่งรัดให้กรมทรัพยากรนำ
เรียบร้อยแล้ว ปรากฎว่าไม่มีน้ำประปา บาดาล กระทรวงทรัพยากรฯ
เพื่อบริโภค และไม่มีหน่วยงาน ดำเนินงานในส่วนเกี่ยวข้องพร้อม
รับผิดชอบ ทั้งมอบหมายให้จังหวัดพังงา
ประสานกับการประปาส่วนภูมิภาค
ดำเนินการโดยเร่งด่วน
4.ปัญหาเตือนภัยล่วงหน้า - ปัจจุบันยังไม่มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัย คณะกรรมการศึกษาระบบเตือนภัย
(Early Warning) ล่วงหน้า ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย โดย เตรียมที่จะเร่งดำเนินการติดตั้ง
เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชุมชน ใกล้ชาย ในพื้นที่จังหวัดพังงา 20 จุด
ฝั่งทะเล โดยเร่งด่วน
5.ปัญหาทุนการศึกษาของ - ประชาชนได้ขอให้ตรวจสอบเรื่องทุน ได้มอบหมายให้สำนักงานเขต
เด็กที่พ่อแม่ประสบภัย การศึกษาของเด็กนักเรียนในกรณีที่ พื้นที่การศึกษา จังหวัดพังงา
ครอบครัวประสบภัย ซึ่งบางรายยัง ไปตรวจสอบและเร่งรัดดำเนิน
ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ การเบิกจ่ายโดยเร็ว พร้อมทั้ง
รายงานผลให้จังหวัดพังงาทราบ
6. ปัญหาศาสนสถาน - ได้มีการร้องเรียนให้หน่วยราชการ ได้มอบหมายให้จังหวัดพังงา
ถูกทำลาย ปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนาศาสนสถาน พิจารณาใช้งบประมาณที่สามารถ
(วัด) ที่อยู่ในบริเวณประสบภัย และ ดำเนินการได้ ปรับปรุงซ่อมแซม
ให้การช่วยเหลือในช่วงเกิดภัยพิบัติ ศาสนสถาน (วัด) ในส่วนที่
สามารถดำเนินการได้โดยเร่งด่วน
7.ปัญหาการใช้ที่ดินและ - การวางผังเมือง (จัดระเบียบการใช้ ได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการ
ผังเมือง ที่ดิน) บริเวณตำบลคึกคัก/แนวชายฝั่ง และผังเมืองร่วมกับ อพท. เร่ง
ทะเลอันดามัน ยังไม่มีการประกาศใช้ ดำเนินการประสานงานและหา
บังคับ ขณะเดียวกันปรากฏว่ามีการ ข้อยุติภายใน 27 มิถุนายน 2548
ลักลอบถมดินล้ำในเขตทะเล ทำให้เกิด และจะได้นัดหมายผู้ประกอบการ
ความเสียหายบริเวณชายฝั่ง และ อบต.ที่เกี่ยวข้องมาสรุป
ภายใน 15 กรกฎาคม 2548
8.ปัญหาการทำประมง - ประชาชนผู้มีอาชีพประมงชายฝั่ง ได้มอบหมายให้จังหวัดพังงา
ขนาดเล็ก (ประมง (หรือประมงขนาดเล็ก) ได้ร้องเรียน ประสานงานกับกรมประมง และ
ชายฝั่ง) ให้สร้างเขื่อนกันทราย (ขุดร่องน้ำ) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง
เพื่อให้เรือประมงขนาดเล็กสามารถ หารือแนวทางการช่วยเหลือ ผ่าน
เข้าออกได้ คณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือ
- สนับสนุนน้ำมันราคาถูก (น้ำมันสีม่วง) และแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน
สำหรับเรือประมงขนาดเล็ก ซึ่งมี 6 จังหวัดภาคใต้
ความขาดแคลน และหาซื้อลำบาก
(โดยขอสนับสนุน 300,000 ลิตร)
- สนับสนุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อประกอบอาชีพ
และค่าเสียหายของเรือที่ประสบภัย
"สึนามิ"
9.ปัญหาการให้ข้อมูล - ประชาชนมีความสับสนในการให้ข้อมูล มอบหมายให้ปลัดสำนักนายก-
ภาครัฐ ข่าวสารภาครัฐ ซึ่งมักจะไม่สอดคล้องกัน รัฐมนตรี เป็นหน่วยงานหลักร่วม
- เห็นควรกำหนดให้มีฐานข้อมูลของผู้ กับกรมป้องกันและบรรเทา
ประสบภัยอย่างเป็นระบบเพื่อให้การ สาธารณภัย และจังหวัดพังงา
ช่วยเหลือเป็นไปอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ประสานงานกับหน่วยงานที่
และยุติธรรมโดยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนในการจัดทำ
ฐานข้อมูล (Database) ให้มี
มาตรฐาน
10.ปัญหาให้ความ - ขอให้หน่วยงานภาครัฐมีหลักเกณฑ์ที่ จังหวัดพังงาได้ชี้แจงว่า จะใช้งบ
ช่วยเหลือกลุ่มเฉพาะ ชัดเจน ในการให้ความช่วยเหลือกลุ่ม ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพื่อ
เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ และกลุ่มหมอนวดแผนโบราณ ให้ความช่วยเหลือต่อไป โดยมอบ
และกลุ่มหมอนวด ที่ประสบภัยธรรมชาติครั้งนี้ หมายให้สำนักงานสาธารณสุข
แผนโบราณ จังหวัดรับผิดชอบ
11.ปัญหาการท่องเที่ยว - เสนอให้มีนโยบายที่ชัดเจนในการ ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการ
ในพื้นที่จังหวัดพังงา ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา ศึกษาแผนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่
โดยจัดให้มีแผนฟื้นฟุและหลักเกณฑ์ที่ ประสบภัยธรณีพิบัติ จังหวัดพังงา
เป็นระบบ โดยสถาบันการศึกษาของรัฐ
12.ปัญหาแรงงานต่างด้าว - เสนอให้มีการผ่อนผันแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงานได้ชี้แจงว่า
ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์(ใบอนุญาต)ให้ ปัจจุบันให้ แรงงานต่างด้าวมายื่น
สามารถประกอบอาชีพด้านการประมงได้ ความจำนงเพื่อขยายการจ้างงาน
จนถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ส่วนผู้
ที่ไม่มีสิทธิขอให้ดำเนินการตาม
พรบ.ว่าด้วยการทำงานต่างด้าว
พ.ศ.2521
13.ปัญหาของกลุ่ม แพปลา - ชาวประมงในพื้นที่ประสบภัยได้ร้องขอให้ มอบหมายให้จังหวัดพังงาประสาน
เอกชน พิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพแพปลา งานกับกรมประมง เพื่อพิจารณา
ของเอกชนที่ได้รับความเสียหาย ตามหลักเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือ
พร้อมทั้งรายงานผล
14.ปัญหาการพัฒนาระบบ - เนื่องจากบริเวณก่อสร้างระบบ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สาธารณูปการ (ถนนและระบบไฟฟ้า) พิจารณาดำเนินการต่อไป
และอาคารที่ทำการ อบต.ของเกาะ
พระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
บางส่วนทับซ้อนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
นอกเหนือจากการรับฟังสภาพปัญหา และการชี้แจงข้อเท็จจริง ตลอดทั้งข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแล้ว ยังได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา เพื่อรับฟังความคิดเห็น และแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ปรากฏว่ามีข้อสังเกตและประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การดำเนินงานช่วยเหลือของหน่วยราชการต่าง ๆ ในจังหวัดพังงา ยังขาดการเชื่อมโยงประสานงานอย่างเป็นระบบ แม้จะกำหนดให้จังหวัดพังงาเป็นศูนย์กลางการประสานงานในพื้นที่ก็ตาม แต่ปรากฏว่ายังมีหน่วยราชการเป็นจำนวนมากดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยปราศจากการติดต่อประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด
2. การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการใช้ประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติครั้งนี้ ขาดมาตรฐานการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย เป็นระบบ ทำให้เกิดช่องว่างของการช่วยเหลือ มีความซ้ำซ้อนและไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งมีการแสวงหาผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางขึ้นรับผิดชอบเพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลรายละเอียด ตลอดทั้งความคืบหน้าในการดำเนินงานช่วยเหลือของทุกส่วนราชการ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งใน และต่างประเทศ ประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป ทั้งนี้ได้นำเรียนประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนวทางแก้ไขดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการฯ ของแต่ละกระทรวงที่รับผิดชอบ ได้รับทราบในเบื้องต้นแล้ว และจะได้มีการประสานงานและติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--