แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการปรับปรุงให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้สิทธิและประโยชน์ภาษีอากรของรัฐ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยให้คำนวณจากวงเงินลงทุน โดยมีระยะเวลาไม่เกินแปดปี และมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้หักผลขาดทุนออกจากกำไรสุทธิภายหลังระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
2. ปรับปรุงให้มีการกำหนดพื้นที่และเขตพื้นที่ เพื่อให้ครอบคลุมกรณีที่กำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนด้วย
3. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้แจ้งหรือชำระภาษีอากรหรือภาษีอากรเพิ่มภายในหนึ่งเดือน ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ และให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินภาษีอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
4. กำหนดให้ในกรณีที่คณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องแจ้งขอชำระภาษีอากรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนต่อกรมสรรพากร สรรพากรเขตพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัดที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการปรับปรุงให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้สิทธิและประโยชน์ภาษีอากรของรัฐ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยให้คำนวณจากวงเงินลงทุน โดยมีระยะเวลาไม่เกินแปดปี และมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้หักผลขาดทุนออกจากกำไรสุทธิภายหลังระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
2. ปรับปรุงให้มีการกำหนดพื้นที่และเขตพื้นที่ เพื่อให้ครอบคลุมกรณีที่กำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนด้วย
3. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้แจ้งหรือชำระภาษีอากรหรือภาษีอากรเพิ่มภายในหนึ่งเดือน ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ และให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินภาษีอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
4. กำหนดให้ในกรณีที่คณะกรรมการสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องแจ้งขอชำระภาษีอากรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนต่อกรมสรรพากร สรรพากรเขตพื้นที่ หรือสรรพากรจังหวัดที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทราบคำสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-