คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง รายงานสถานะหนี้สาธารณะของคณะกรรมการนโยบาย
และกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 ดังนี้
1. ปัจจุบัน กระทรวงการคลังได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะเป็นรายเดือนต่อนายกรัฐมนตรี และ
ได้มีการแถลงข่าวต่อสาธารณชนตามลำดับ ซึ่งเป็นการรายงานสถานะหนี้ตามแนวทาง GFS (Government
Finance Statistics) กล่าวคือ หนี้สาธารณะตามระบบนี้จะประกอบด้วย
(1) หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง
(2) หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินทั้งที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
(3) หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยไม่รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจ
ในภาคการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมทุน และให้กู้ต่อแก่ภาครัฐและเอกชน
โดยมิได้เป็นผู้ลงทุนในเศรษฐกิจที่แท้จริงโดยตรง จึงไม่นับรวมหนี้ของภาคการเงินเพื่อหลีกเลี่ยงการนับซ้ำ
2. จากข้อเท็จจริงตามนัยข้อ 1. หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มีจำนวน 3,105,262
ล้านบาท หรือร้อยละ 43.14 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 1,790,030 ล้านบาท
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 934,537 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ
สถาบันการเงิน 380,695 ล้านบาท โดยมีต้นทุนเฉลี่ยร้อยละ 4.24 และมีอายุกู้เฉลี่ย 6.41 ปี
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ล้านบาท % GDP Avg Interest Remaining
Rate (%) Maturity (Yrs)
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,790,030 24.84 4.78 6.36
1.1 หนี้ต่างประเทศ 291,747 2.94 8.91
1.2 หนี้ในประเทศ 1,498,283 5.14 5.87
- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 470,259 3.86 4.71
- พันธบัตรชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 984,240 5.83 6.46
FIDF 1 479,252 6.37 6.19
FIDF 3 504,988 5.32 6.72
- พันธบัตรโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุน 43,784 3.27 4.91
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 934,537 12.98 4.07 8.96
2.1 หนี้ต่างประเทศ 333,597 2.63 17.41
- หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 262,140 2.3 20.3
- หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 71,457 3.86 6.82
2.2 หนี้ในประเทศ 600,940 4.87 4.26
- หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 416,414 5.04 3.62
- หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 184,527 4.48 5.7
3. หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 380,695 5.29 2.15 0.39
3.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 40,000 4.1 1.03
3.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 340,695 1.92 0.32
รวม 3,105,262 43.14 4.24 6.41
อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อเหรียญสหรัฐ) 38.2786
ประมาณการ GDP ปี 2548 (สศช.) 7,198,800
3. ในการนี้ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้พิจารณาการเปลี่ยนแปลง
สถานะหนี้คงค้างในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2543-2547) พบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 2,811,110
ล้านบาท ณ สิ้นปี 2543 เป็น 2,930,799 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2545 ต่อมาลดลงเหลือ 2,902,382 ล้านบาท
ณ สิ้นปี 2546 และได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดในช่วงปี 2547 เป็น 3,120,803 ล้านบาท ณ สิ้นเดือน
ธันวาคม 2547 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic
Product: GDP) พบว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP มีสัดส่วนลดลงตามลำดับ คือจากร้อยละ 57.10 ณ สิ้นปี 2543
เหลือร้อยละ 47.46 ณ สิ้นปี 2547 การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ จำนวน 309,693 ล้านบาท ในช่วงเวลา
ดังกล่าว เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐบาล 667,042 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 42,117
ล้านบาท ส่วนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 399,467 ล้านบาท
4. คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 หนี้รัฐบาลในส่วนของหนี้ต่างประเทศลดลง 100,576 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการบริหาร
จัดการหนี้ในเชิงรุก โดยการชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด การทำ Refinance/Swap หนี้เงินตราต่างประเทศเป็น
หนี้เงินบาทตามที่ฐานะการเงินและภาวะตลาดจะเอื้ออำนวย ในขณะที่หนี้ในประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงคือ
767,618 ล้านบาท แม้ว่าในช่วง 5 ปี จะมีการลดยอดหนี้คงค้างไปบางส่วนจากการชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาลภาย
ใต้โครงการให้ความช่วยเหลือในการเพิ่มเงินกองทุนแก่สถาบันการเงินตามมาตรการ 14 สิงหาคม 2542 (Tier
1 & Tier 2 Program) คืนก่อนครบกำหนด จำนวน 28,369 ล้านบาท การลดหนี้พันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดใช้ความ
เสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF 1) เป็นเงิน 19,602 ล้านบาท และการ
ลดยอดตั๋วเงินคลัง 52,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2545 และ 2546 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของ
รัฐบาลเป็นผลจากการกู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (ปีงบประมาณ 2544-2547 รวม
453,797 ล้านบาท) และการกู้เงินเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่ 2 (FIDF3) ซึ่งเริ่มกู้
ในปีงบประมาณ 2545 และ ณ สิ้นปี 2547 มียอดคงค้าง 504,988 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของหนี้
FIDF3 จำนวนดังกล่าวเป็นเพียงการโอนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งได้นับรวมเป็นหนี้สาธารณะอยู่แล้วมา
เป็นหนี้ของรัฐบาล ทำให้หนี้สินในส่วนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีจำนวนลดลงในช่วงเวลาเดียวกัน
4.2 การเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศ
จำนวน 150,858 ล้านบาท ในขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลง 108,741 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐวิสาหกิจ
กู้เงินในประเทศเพิ่มขึ้น อาทิ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และส่วนหนึ่ง
เป็นผลจากการบริหารหนี้โดยการดำเนินการชำระคืนหนี้ต่างประเทศก่อนครบกำหนด การ Refinance เงินกู้ต่าง
ประเทศด้วยเงินบาท และการกู้เงินในประเทศทดแทนการกู้จากต่างประเทศ
4.3 สำหรับหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ส่วนที่รัฐบาลไม่ได้ค้ำประกันลดลง 399,467
ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องมาจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับการชดใช้ความเสียหายจากรัฐบาลและมีรายได้
ส่วนหนึ่งจากการเฉลี่ยหนี้คืนจากกองสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนที่ถูกปิดกิจการ 56 แห่งจากองค์กรเพื่อการปฏิรูป
ระบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และการจำหน่ายหุ้นของธนาคารพาณิชย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถืออยู่ และรายได้
จากการขายสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่น ที่ดิน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ต้องเข้าไปรับภาระ
ผูกพันล่วงหน้าที่เกิดจากการเข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของ บริษัทบริหารสินทรัพย์ อาทิ บริษัท บริหารสินทรัพย์รัตนสิน
จำกัด บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด และสถาบันการเงินอื่น ในช่วงปี 2546-2547 เป็นเงินกว่า
300,000 ล้านบาท ซึ่งเดิมบันทึกอยู่นอกงบดุล (Off Balance Sheet) และจะนับเป็นหนี้สาธารณะเมื่อกองทุน
เพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าไปรับภาระตามภาระอาวัลโดยการกู้เงินจากตลาดซื้อคืน จึงเป็นผลให้หนี้สินของกองทุนเพื่อการ
ฟื้นฟูฯ ลดลงน้อยกว่าจำนวนเงินที่รัฐบาลเข้าไปชดใช้ความเสียหายให้
4.4 กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญของการดำเนินการบริหารจัดการหนี้สาธารณะที่มี
ประสิทธิภาพ และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ทั้งในด้านการก่อหนี้ใหม่และการบริหารหนี้คงค้างโดยใช้
เครื่องมือทางการเงินและโอกาสที่ตลาดการเงินเอื้ออำนวยในการทำ Refinancing Prepayment และ
Swap Agreement ซึ่งในช่วงปีงบประมาณ 2543-2547 การดำเนินการดังกล่าว ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้าง
ได้ถึง 227,193 ล้านบาท และประหยัดภาระดอกเบี้ยได้ 73,905 ล้านบาท และสำหรับใน 7 เดือนแรกของ
ปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม 2547 — เมษายน 2548) สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 20,664 ล้านบาท และ
ลดภาระดอกเบี้ยได้ 5,660 ล้านบาท ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยการบริหาร
งบประมาณเพื่อการชำระหนี้ที่ได้รับจัดสรรโดยปกติเป็นหลัก ซึ่งการที่งบประมาณที่ได้รับจัดสรรมีจำนวน
จำกัดยิ่งขึ้น ทำให้โอกาสในการบริหารหนี้ลดลง
ผลการบริหารหนี้สาธารณะในช่วงปี 2543 — 2548
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2543 2544 2545 2546 2547 2548
ผล-เม.ย.48
1. การลดยอดคงค้าง 15,485 12,384 48,607 92,904 57,813 20,664
1.1 รัฐบาล 15,485 12,384 30,063 63,751 39,896 16,747
1.2 รัฐวิสาหกิจ - - 18,544 29,153 17,917 3,917
2. การลดภาระดอกเบี้ย 4,831 8,720 15,248 24,457 20,649 5,660
2.1 รัฐบาล 2,300 3,657 5,831 10,866 12,897 3,418
2.2 รัฐวิสาหกิจ 2,531 5,063 9,417 13,591 7,752 2,242
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--
และกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 ดังนี้
1. ปัจจุบัน กระทรวงการคลังได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะเป็นรายเดือนต่อนายกรัฐมนตรี และ
ได้มีการแถลงข่าวต่อสาธารณชนตามลำดับ ซึ่งเป็นการรายงานสถานะหนี้ตามแนวทาง GFS (Government
Finance Statistics) กล่าวคือ หนี้สาธารณะตามระบบนี้จะประกอบด้วย
(1) หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง
(2) หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินทั้งที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
(3) หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยไม่รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจ
ในภาคการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมทุน และให้กู้ต่อแก่ภาครัฐและเอกชน
โดยมิได้เป็นผู้ลงทุนในเศรษฐกิจที่แท้จริงโดยตรง จึงไม่นับรวมหนี้ของภาคการเงินเพื่อหลีกเลี่ยงการนับซ้ำ
2. จากข้อเท็จจริงตามนัยข้อ 1. หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มีจำนวน 3,105,262
ล้านบาท หรือร้อยละ 43.14 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 1,790,030 ล้านบาท
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 934,537 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ
สถาบันการเงิน 380,695 ล้านบาท โดยมีต้นทุนเฉลี่ยร้อยละ 4.24 และมีอายุกู้เฉลี่ย 6.41 ปี
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ล้านบาท % GDP Avg Interest Remaining
Rate (%) Maturity (Yrs)
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,790,030 24.84 4.78 6.36
1.1 หนี้ต่างประเทศ 291,747 2.94 8.91
1.2 หนี้ในประเทศ 1,498,283 5.14 5.87
- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 470,259 3.86 4.71
- พันธบัตรชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 984,240 5.83 6.46
FIDF 1 479,252 6.37 6.19
FIDF 3 504,988 5.32 6.72
- พันธบัตรโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุน 43,784 3.27 4.91
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 934,537 12.98 4.07 8.96
2.1 หนี้ต่างประเทศ 333,597 2.63 17.41
- หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 262,140 2.3 20.3
- หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 71,457 3.86 6.82
2.2 หนี้ในประเทศ 600,940 4.87 4.26
- หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 416,414 5.04 3.62
- หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 184,527 4.48 5.7
3. หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 380,695 5.29 2.15 0.39
3.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 40,000 4.1 1.03
3.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 340,695 1.92 0.32
รวม 3,105,262 43.14 4.24 6.41
อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อเหรียญสหรัฐ) 38.2786
ประมาณการ GDP ปี 2548 (สศช.) 7,198,800
3. ในการนี้ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้พิจารณาการเปลี่ยนแปลง
สถานะหนี้คงค้างในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2543-2547) พบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 2,811,110
ล้านบาท ณ สิ้นปี 2543 เป็น 2,930,799 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2545 ต่อมาลดลงเหลือ 2,902,382 ล้านบาท
ณ สิ้นปี 2546 และได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดในช่วงปี 2547 เป็น 3,120,803 ล้านบาท ณ สิ้นเดือน
ธันวาคม 2547 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic
Product: GDP) พบว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP มีสัดส่วนลดลงตามลำดับ คือจากร้อยละ 57.10 ณ สิ้นปี 2543
เหลือร้อยละ 47.46 ณ สิ้นปี 2547 การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ จำนวน 309,693 ล้านบาท ในช่วงเวลา
ดังกล่าว เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐบาล 667,042 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 42,117
ล้านบาท ส่วนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 399,467 ล้านบาท
4. คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 หนี้รัฐบาลในส่วนของหนี้ต่างประเทศลดลง 100,576 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการบริหาร
จัดการหนี้ในเชิงรุก โดยการชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด การทำ Refinance/Swap หนี้เงินตราต่างประเทศเป็น
หนี้เงินบาทตามที่ฐานะการเงินและภาวะตลาดจะเอื้ออำนวย ในขณะที่หนี้ในประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงคือ
767,618 ล้านบาท แม้ว่าในช่วง 5 ปี จะมีการลดยอดหนี้คงค้างไปบางส่วนจากการชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาลภาย
ใต้โครงการให้ความช่วยเหลือในการเพิ่มเงินกองทุนแก่สถาบันการเงินตามมาตรการ 14 สิงหาคม 2542 (Tier
1 & Tier 2 Program) คืนก่อนครบกำหนด จำนวน 28,369 ล้านบาท การลดหนี้พันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดใช้ความ
เสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF 1) เป็นเงิน 19,602 ล้านบาท และการ
ลดยอดตั๋วเงินคลัง 52,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2545 และ 2546 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของ
รัฐบาลเป็นผลจากการกู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (ปีงบประมาณ 2544-2547 รวม
453,797 ล้านบาท) และการกู้เงินเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่ 2 (FIDF3) ซึ่งเริ่มกู้
ในปีงบประมาณ 2545 และ ณ สิ้นปี 2547 มียอดคงค้าง 504,988 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของหนี้
FIDF3 จำนวนดังกล่าวเป็นเพียงการโอนหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งได้นับรวมเป็นหนี้สาธารณะอยู่แล้วมา
เป็นหนี้ของรัฐบาล ทำให้หนี้สินในส่วนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีจำนวนลดลงในช่วงเวลาเดียวกัน
4.2 การเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศ
จำนวน 150,858 ล้านบาท ในขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลง 108,741 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐวิสาหกิจ
กู้เงินในประเทศเพิ่มขึ้น อาทิ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และส่วนหนึ่ง
เป็นผลจากการบริหารหนี้โดยการดำเนินการชำระคืนหนี้ต่างประเทศก่อนครบกำหนด การ Refinance เงินกู้ต่าง
ประเทศด้วยเงินบาท และการกู้เงินในประเทศทดแทนการกู้จากต่างประเทศ
4.3 สำหรับหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ส่วนที่รัฐบาลไม่ได้ค้ำประกันลดลง 399,467
ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องมาจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับการชดใช้ความเสียหายจากรัฐบาลและมีรายได้
ส่วนหนึ่งจากการเฉลี่ยหนี้คืนจากกองสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนที่ถูกปิดกิจการ 56 แห่งจากองค์กรเพื่อการปฏิรูป
ระบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และการจำหน่ายหุ้นของธนาคารพาณิชย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถืออยู่ และรายได้
จากการขายสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่น ที่ดิน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ต้องเข้าไปรับภาระ
ผูกพันล่วงหน้าที่เกิดจากการเข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของ บริษัทบริหารสินทรัพย์ อาทิ บริษัท บริหารสินทรัพย์รัตนสิน
จำกัด บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด และสถาบันการเงินอื่น ในช่วงปี 2546-2547 เป็นเงินกว่า
300,000 ล้านบาท ซึ่งเดิมบันทึกอยู่นอกงบดุล (Off Balance Sheet) และจะนับเป็นหนี้สาธารณะเมื่อกองทุน
เพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าไปรับภาระตามภาระอาวัลโดยการกู้เงินจากตลาดซื้อคืน จึงเป็นผลให้หนี้สินของกองทุนเพื่อการ
ฟื้นฟูฯ ลดลงน้อยกว่าจำนวนเงินที่รัฐบาลเข้าไปชดใช้ความเสียหายให้
4.4 กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญของการดำเนินการบริหารจัดการหนี้สาธารณะที่มี
ประสิทธิภาพ และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ทั้งในด้านการก่อหนี้ใหม่และการบริหารหนี้คงค้างโดยใช้
เครื่องมือทางการเงินและโอกาสที่ตลาดการเงินเอื้ออำนวยในการทำ Refinancing Prepayment และ
Swap Agreement ซึ่งในช่วงปีงบประมาณ 2543-2547 การดำเนินการดังกล่าว ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้าง
ได้ถึง 227,193 ล้านบาท และประหยัดภาระดอกเบี้ยได้ 73,905 ล้านบาท และสำหรับใน 7 เดือนแรกของ
ปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม 2547 — เมษายน 2548) สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้ 20,664 ล้านบาท และ
ลดภาระดอกเบี้ยได้ 5,660 ล้านบาท ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยการบริหาร
งบประมาณเพื่อการชำระหนี้ที่ได้รับจัดสรรโดยปกติเป็นหลัก ซึ่งการที่งบประมาณที่ได้รับจัดสรรมีจำนวน
จำกัดยิ่งขึ้น ทำให้โอกาสในการบริหารหนี้ลดลง
ผลการบริหารหนี้สาธารณะในช่วงปี 2543 — 2548
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2543 2544 2545 2546 2547 2548
ผล-เม.ย.48
1. การลดยอดคงค้าง 15,485 12,384 48,607 92,904 57,813 20,664
1.1 รัฐบาล 15,485 12,384 30,063 63,751 39,896 16,747
1.2 รัฐวิสาหกิจ - - 18,544 29,153 17,917 3,917
2. การลดภาระดอกเบี้ย 4,831 8,720 15,248 24,457 20,649 5,660
2.1 รัฐบาล 2,300 3,657 5,831 10,866 12,897 3,418
2.2 รัฐวิสาหกิจ 2,531 5,063 9,417 13,591 7,752 2,242
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--