คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) เสนอ
เรื่อง มาตรการเร่งด่วนทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 5 มีมติให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี 2544 เพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มี
ศักยภาพ รวมทั้งจัดสรรให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพัฒนาการบริการในท่าอากาศยาน
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ คกก. 5 มีความเห็นและข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
1. การนำเรื่อง มาตรการเร่งด่วนทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เข้าสู่วาระพิจารณาในการ
ประชุม คกก. 5 ไม่ถือเป็นการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนกับ คกก. คณะอื่น ๆ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้า
ประเทศ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ คกก. 5
2. ข้อจำกัดในการดำเนินมาตรการเร่งด่วนทางด้านการท่องเที่ยวมีหลายมาตรการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) ไม่สามารถดำเนินการได้เอง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ หน่วยงาน นอกจากนี้ ยังมี
ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การให้บริการตรวจลงตราการเข้าเมือง
ที่ท่าอากาศยานยังมีความล่าช้าเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีจำนวนน้อย และวัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ล้าสมัย
และไม่เพียงพอที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งในส่วนนี้สำนักงบประมาณสมควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานล่วงเวลา จัดหาบุคลากรเพิ่ม รวมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์ทันสมัยและมีปริมาณเพียงพอ
3. สำนักงบประมาณได้ประสานงานกับ ททท. เพื่อจัดทำมาตรการเสริมเพื่อพัฒนาชนบทและชุมชน
โดยจะจัดสรรเงินกู้ให้แก่หน่วยงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้จังหวัดและองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในลักษณะจากล่างขึ้นบน (Bottom Up)
4. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวต้องทำให้ครบวงจร และเป็นมาตรฐานสากล จึงจะจูงใจนักท่องเที่ยว โดย
ททท. ต้องวางแผนร่วมกับหน่วยงานอื่นและมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สิ่งที่ควรพัฒนาอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
4.1 การส่งเสริมความหลากหลายให้ท้องถิ่น มีอิสระในการพัฒนาส่งเสริมเอกลักษณ์และภูมิปัญญา
ท้องถิ่น
4.2 การพัฒนาให้การบริการมีมาตรฐานเดียวกัน โดยมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
คุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้จ่ายไป เช่น การจัดทำแผนที่ และป้ายบอกทางตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ
5. การสนับสนุนโครงการอบรมผู้ฝึก (Trainer) ในด้านต่าง ๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ และการให้บริการ
ที่รองรับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งควรมีการประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ
ทบวงมหาวิทยาลัย ให้มีหลักสูตรการสร้างคนที่จะมาเป็นผู้สอนหรือฝึกผู้ให้บริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ควรให้สำนักงานท่องเที่ยวตามจังหวัดต่าง ๆ เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง
กับธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น ผู้ประกอบการร้านอาหารตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จะช่วยให้การบริการมีมาตรฐานมีคุณภาพ
และเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น
6. ปัญหาการหลอกลวงนักท่องเที่ยวเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง
7. ควรเร่งเสร้างความเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการด้านสินค้าและบริการท้องถิ่น เช่น ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
และการนวดแผนโบราณ สามารถเข้าสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและจริงจังเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชน
ในท้องถิ่น
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวได้นำไปประกอบการหารือในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวซึ่งได้จัดขึ้นในระหว่าง
วันที่ 20 - 21 เมษายน 2544
สำหรับมาตรการเร่งด่วนทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ในการกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
1.1 เร่งนำรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศเพื่อกระตุ้นและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติ
โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว/คน/วัน
1.2 กระตุ้นให้เกิดรายได้หมุนเวียนกระจายไปสู่สังคมไทยทั้งภาคชนบทและภาคสังคมเมือง โดยกระตุ้น
ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น และชะลอการเดินทางออกนอกประเทศ
1.3 รักษาความเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยพัฒนาคุณภาพองค์ประกอบทางการ
ท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างจิตสำนึกให้คนไทยเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืนของ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอนาคต
2. มาตรการเร่งด่วน 2 มาตรการหลัก ได้แก่
2.1 มาตรการเร่งด่วนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งมีมาตรการย่อยที่จะดำเนินการ ได้แก่
การป้องกันและแก้ไขปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม การอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง การส่งเสริมการท่องเที่ยว
ในชุมชนชนบท การใช้พื้นที่ของรัฐเพื่อการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาตลาดท่องเที่ยวจีน การพัฒนาบุคลากร บริการ และ
กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
2.2 มาตรการเร่งด่วนด้านการตลาดการท่องเที่ยว ประกอบด้วย
1) การส่งเสริมเชิงรุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีแนวทางดำเนินงาน ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์
การจัด Road Show ในตลาดที่มีศักยภาพ การจัดทำข้อเสนอพิเศษ การผลิตสื่อวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการตลาด การปรับปรุง
ช่องทางการประชาสัมพันธ์และการบริการข้อมูลทางสื่อสารสนเทศสำหรับตลาดต่างประเทศ และการส่งเสริมการซื้อสินค้า
ในประเทศไทย
2) การส่งเสริมไทยเที่ยวไทย และการรณรงค์การเป็นเจ้าบ้านที่ดี ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน
ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่งเสริมไทยเที่ยวไทย การปรับปรุงช่องทางการประชาสัมพันธ์และการบริการข้อมูลทาง
สื่อสารสนเทศสำหรับตลาดในประเทศ การจัดตลาดนัดการท่องเที่ยวในภูมิภาค การปรับปรุงมาตรการภาษีสำหรับบริษัทเอกชนที่ให้รางวัล
เป็นการเดินทางท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี
3. หลักการและเหตุผลในการเสนอมาตรการเร่งด่วน
3.1 รัฐบาลกำหนดให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 4 กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของชาติ เพื่อเร่งหารายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ กระจายรายได้สู่ภาคชนบท และให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
3.2 ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์เร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ
โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางในการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวว่าควรมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 5 หมื่น
ล้านบาท (ประมาณร้อยละ 1 ของ GDP)
4. แนวโน้มและแนวทางความเป็นไปได้ในการเพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยวของไทย
จำนวนนักท่องเที่ยว วันพักเฉลี่ย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย รายได้ ส่วนต่างจากปี 43
(ล้านคน) (วัน) /วัน/คน (บาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)
1. ปี 2543 9.51 (+10.8%) 7.77 (-2.6%) 3,870* (+4.5%) 286,100*(+13.1%) -
2. แนวโน้มปี 2544 10.2 (+7.3%) 7.57 (-2.6%) 4,000**(+3.9%) 310,000 (+8.4%) 23,900
3. มาตรการเร่งรัด 10.3 (+8.3%) 7.77 4,150 (+7.2%) 332,100 (+16.1%) 46,000
3/2/44 0.1 0.2 150 22,100 -
* ตัวเลขเบื้องต้น
** ตัวเลขเป้าหมายปี 2544
มาตรการเร่งด่วนนี้หากสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน คาดว่าจะ
กระตุ้นให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 22,000 ล้านบาท และกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้เกิดจังหวัดที่ได้รับ
รายได้จากการท่องเที่ยว 5 พันล้านบาท ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 3 จังหวัด (จากเดิมที่มีอยู่ 13 จังหวัด) ภายในปี 2545
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 24 เม.ย.2544
-สส-
เรื่อง มาตรการเร่งด่วนทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะที่ 5 มีมติให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี 2544 เพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มี
ศักยภาพ รวมทั้งจัดสรรให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพัฒนาการบริการในท่าอากาศยาน
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ คกก. 5 มีความเห็นและข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
1. การนำเรื่อง มาตรการเร่งด่วนทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เข้าสู่วาระพิจารณาในการ
ประชุม คกก. 5 ไม่ถือเป็นการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนกับ คกก. คณะอื่น ๆ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้า
ประเทศ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ คกก. 5
2. ข้อจำกัดในการดำเนินมาตรการเร่งด่วนทางด้านการท่องเที่ยวมีหลายมาตรการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) ไม่สามารถดำเนินการได้เอง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ หน่วยงาน นอกจากนี้ ยังมี
ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การให้บริการตรวจลงตราการเข้าเมือง
ที่ท่าอากาศยานยังมีความล่าช้าเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีจำนวนน้อย และวัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ล้าสมัย
และไม่เพียงพอที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งในส่วนนี้สำนักงบประมาณสมควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานล่วงเวลา จัดหาบุคลากรเพิ่ม รวมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์ทันสมัยและมีปริมาณเพียงพอ
3. สำนักงบประมาณได้ประสานงานกับ ททท. เพื่อจัดทำมาตรการเสริมเพื่อพัฒนาชนบทและชุมชน
โดยจะจัดสรรเงินกู้ให้แก่หน่วยงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้จังหวัดและองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในลักษณะจากล่างขึ้นบน (Bottom Up)
4. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวต้องทำให้ครบวงจร และเป็นมาตรฐานสากล จึงจะจูงใจนักท่องเที่ยว โดย
ททท. ต้องวางแผนร่วมกับหน่วยงานอื่นและมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สิ่งที่ควรพัฒนาอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
4.1 การส่งเสริมความหลากหลายให้ท้องถิ่น มีอิสระในการพัฒนาส่งเสริมเอกลักษณ์และภูมิปัญญา
ท้องถิ่น
4.2 การพัฒนาให้การบริการมีมาตรฐานเดียวกัน โดยมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
คุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้จ่ายไป เช่น การจัดทำแผนที่ และป้ายบอกทางตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ
5. การสนับสนุนโครงการอบรมผู้ฝึก (Trainer) ในด้านต่าง ๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ และการให้บริการ
ที่รองรับการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งควรมีการประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ
ทบวงมหาวิทยาลัย ให้มีหลักสูตรการสร้างคนที่จะมาเป็นผู้สอนหรือฝึกผู้ให้บริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ควรให้สำนักงานท่องเที่ยวตามจังหวัดต่าง ๆ เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง
กับธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น ผู้ประกอบการร้านอาหารตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จะช่วยให้การบริการมีมาตรฐานมีคุณภาพ
และเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น
6. ปัญหาการหลอกลวงนักท่องเที่ยวเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง
7. ควรเร่งเสร้างความเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการด้านสินค้าและบริการท้องถิ่น เช่น ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
และการนวดแผนโบราณ สามารถเข้าสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและจริงจังเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชน
ในท้องถิ่น
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวได้นำไปประกอบการหารือในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวซึ่งได้จัดขึ้นในระหว่าง
วันที่ 20 - 21 เมษายน 2544
สำหรับมาตรการเร่งด่วนทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ในการกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
1.1 เร่งนำรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศเพื่อกระตุ้นและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติ
โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว/คน/วัน
1.2 กระตุ้นให้เกิดรายได้หมุนเวียนกระจายไปสู่สังคมไทยทั้งภาคชนบทและภาคสังคมเมือง โดยกระตุ้น
ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น และชะลอการเดินทางออกนอกประเทศ
1.3 รักษาความเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยพัฒนาคุณภาพองค์ประกอบทางการ
ท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างจิตสำนึกให้คนไทยเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืนของ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอนาคต
2. มาตรการเร่งด่วน 2 มาตรการหลัก ได้แก่
2.1 มาตรการเร่งด่วนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งมีมาตรการย่อยที่จะดำเนินการ ได้แก่
การป้องกันและแก้ไขปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม การอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง การส่งเสริมการท่องเที่ยว
ในชุมชนชนบท การใช้พื้นที่ของรัฐเพื่อการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาตลาดท่องเที่ยวจีน การพัฒนาบุคลากร บริการ และ
กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
2.2 มาตรการเร่งด่วนด้านการตลาดการท่องเที่ยว ประกอบด้วย
1) การส่งเสริมเชิงรุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีแนวทางดำเนินงาน ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์
การจัด Road Show ในตลาดที่มีศักยภาพ การจัดทำข้อเสนอพิเศษ การผลิตสื่อวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการตลาด การปรับปรุง
ช่องทางการประชาสัมพันธ์และการบริการข้อมูลทางสื่อสารสนเทศสำหรับตลาดต่างประเทศ และการส่งเสริมการซื้อสินค้า
ในประเทศไทย
2) การส่งเสริมไทยเที่ยวไทย และการรณรงค์การเป็นเจ้าบ้านที่ดี ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน
ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่งเสริมไทยเที่ยวไทย การปรับปรุงช่องทางการประชาสัมพันธ์และการบริการข้อมูลทาง
สื่อสารสนเทศสำหรับตลาดในประเทศ การจัดตลาดนัดการท่องเที่ยวในภูมิภาค การปรับปรุงมาตรการภาษีสำหรับบริษัทเอกชนที่ให้รางวัล
เป็นการเดินทางท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี
3. หลักการและเหตุผลในการเสนอมาตรการเร่งด่วน
3.1 รัฐบาลกำหนดให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 4 กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของชาติ เพื่อเร่งหารายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ กระจายรายได้สู่ภาคชนบท และให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
3.2 ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์เร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ
โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางในการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวว่าควรมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 5 หมื่น
ล้านบาท (ประมาณร้อยละ 1 ของ GDP)
4. แนวโน้มและแนวทางความเป็นไปได้ในการเพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยวของไทย
จำนวนนักท่องเที่ยว วันพักเฉลี่ย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย รายได้ ส่วนต่างจากปี 43
(ล้านคน) (วัน) /วัน/คน (บาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)
1. ปี 2543 9.51 (+10.8%) 7.77 (-2.6%) 3,870* (+4.5%) 286,100*(+13.1%) -
2. แนวโน้มปี 2544 10.2 (+7.3%) 7.57 (-2.6%) 4,000**(+3.9%) 310,000 (+8.4%) 23,900
3. มาตรการเร่งรัด 10.3 (+8.3%) 7.77 4,150 (+7.2%) 332,100 (+16.1%) 46,000
3/2/44 0.1 0.2 150 22,100 -
* ตัวเลขเบื้องต้น
** ตัวเลขเป้าหมายปี 2544
มาตรการเร่งด่วนนี้หากสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน คาดว่าจะ
กระตุ้นให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 22,000 ล้านบาท และกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้เกิดจังหวัดที่ได้รับ
รายได้จากการท่องเที่ยว 5 พันล้านบาท ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 3 จังหวัด (จากเดิมที่มีอยู่ 13 จังหวัด) ภายในปี 2545
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 24 เม.ย.2544
-สส-