ทำเนียบรัฐบาล--29 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปีและการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินงบประมาณสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการได้สำเร็จตามแผน และเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ซึ่งเกิดจากการผูกพันเงินกู้ แล้วมีมติอนุมัติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ดังนี้
1. เงินงบประมาณสมทบโครงการเงินกู้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 ให้ขยายเวลาเบิกจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 หากไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในเวลาดังกล่าวอีก ก็ให้เงินงบประมาณนั้นพับไป
2. เงินงบประมาณสมทบโครงการเงินกู้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินได้ถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 หากไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในเวลาดังกล่าวอีก ก็ให้เงินงบประมาณนั้นพับไป
สำหรับในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป เห็นสมควรกำหนดเป็นหลักเกณฑ์การอนุมัติการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน โดยอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้คราวละ 6 เดือน ทั้งนี้ รวมระยะเวลาทั้งสิ้นแล้วไม่เกิน 18 เดือน
ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงการคลังรายงานว่า ส่วนราชการที่มีการใช้เงินกู้ต่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการโดยมีเงินงบประมาณสมทบอีกส่วนหนึ่ง นั้น การดำเนินงานตามโครงการที่ล่าช้าออกไปมาก นอกจากไม่ได้ช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ยังทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายผูกพันเงินกู้ต่างประเทศอีกปีละมาก ๆ ตลอดระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ในระยะเวลาประมาณ 3 - 5 ปี กล่าวคือ กรณีที่ใช้เงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารโลก (IBRD) ผู้กู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายทั้งหมด โดยเริ่มคิดนับตั้งแต่ 60 วัน หลังวันลงนามในสัญญา ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติธนาคารโลกจะประกาศปรับลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นร้อยละ 0.25 ต่อปี สำหรับประเทศสมาชิกผู้กู้ที่ชำระหนี้ตรงกำหนด รวมทั้งประเทศไทย โดยประกาศเป็นรายปี และกรณีเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) ผู้กู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของยอดเงินกู้คงค้างที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายในแต่ละปี โดยเริ่มคิดนับตั้งแต่ 60 วัน หลังวันลงนามในสัญญาโดยคิดจากฐานวงเงิน ดังนี้
ช่วง 12 เดือนแรก คิดจากร้อยละ 15 ของวงเงินกู้ทั้งหมด
ช่วง 12 เดือนที่ 2 คิดจากร้อยละ 45 ของวงเงินกู้ทั้งหมด
ช่วง 12 เดือนที่ 3 คิดจากร้อยละ 85 ของวงเงินกู้ทั้งหมด
หลังจากนั้น คิดเต็มยอดเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
ในปัจจุบันกระทรวงการคลังมีภาระจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากส่วนราชการผู้ใช้เงินกู้ได้ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด ในปีงบประมาณ 2541 เฉพาะโครงการเงินกู้ของส่วนราชการต้องจ่ายค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ถึง 130 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2542 ต้องจ่ายจำนวน 145 ล้านบาท
อนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 อนุมัติให้ใช้หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปี และการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน เพื่อให้เกิดความชัดเจน สะดวก ในการอ้างอิงและถือปฏิบัติสำหรับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ปรับปรุงเป็นหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้กระทรวงการคลังเข้มงวดการอนุมัติการขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณกรณีมีหนี้ผูกพัน ให้มีระยะเวลาการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และการขยายเวลาเบิกจ่ายเงินรวมกันได้ไม่เกิน 2 ปีงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปีและการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินงบประมาณสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการได้สำเร็จตามแผน และเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ซึ่งเกิดจากการผูกพันเงินกู้ แล้วมีมติอนุมัติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ดังนี้
1. เงินงบประมาณสมทบโครงการเงินกู้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 ให้ขยายเวลาเบิกจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 หากไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในเวลาดังกล่าวอีก ก็ให้เงินงบประมาณนั้นพับไป
2. เงินงบประมาณสมทบโครงการเงินกู้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงินได้ถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 หากไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในเวลาดังกล่าวอีก ก็ให้เงินงบประมาณนั้นพับไป
สำหรับในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป เห็นสมควรกำหนดเป็นหลักเกณฑ์การอนุมัติการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน โดยอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้คราวละ 6 เดือน ทั้งนี้ รวมระยะเวลาทั้งสิ้นแล้วไม่เกิน 18 เดือน
ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงการคลังรายงานว่า ส่วนราชการที่มีการใช้เงินกู้ต่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการโดยมีเงินงบประมาณสมทบอีกส่วนหนึ่ง นั้น การดำเนินงานตามโครงการที่ล่าช้าออกไปมาก นอกจากไม่ได้ช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ยังทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายผูกพันเงินกู้ต่างประเทศอีกปีละมาก ๆ ตลอดระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ในระยะเวลาประมาณ 3 - 5 ปี กล่าวคือ กรณีที่ใช้เงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารโลก (IBRD) ผู้กู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายทั้งหมด โดยเริ่มคิดนับตั้งแต่ 60 วัน หลังวันลงนามในสัญญา ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติธนาคารโลกจะประกาศปรับลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นร้อยละ 0.25 ต่อปี สำหรับประเทศสมาชิกผู้กู้ที่ชำระหนี้ตรงกำหนด รวมทั้งประเทศไทย โดยประกาศเป็นรายปี และกรณีเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) ผู้กู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของยอดเงินกู้คงค้างที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายในแต่ละปี โดยเริ่มคิดนับตั้งแต่ 60 วัน หลังวันลงนามในสัญญาโดยคิดจากฐานวงเงิน ดังนี้
ช่วง 12 เดือนแรก คิดจากร้อยละ 15 ของวงเงินกู้ทั้งหมด
ช่วง 12 เดือนที่ 2 คิดจากร้อยละ 45 ของวงเงินกู้ทั้งหมด
ช่วง 12 เดือนที่ 3 คิดจากร้อยละ 85 ของวงเงินกู้ทั้งหมด
หลังจากนั้น คิดเต็มยอดเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
ในปัจจุบันกระทรวงการคลังมีภาระจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากส่วนราชการผู้ใช้เงินกู้ได้ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด ในปีงบประมาณ 2541 เฉพาะโครงการเงินกู้ของส่วนราชการต้องจ่ายค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ถึง 130 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2542 ต้องจ่ายจำนวน 145 ล้านบาท
อนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 อนุมัติให้ใช้หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปี และการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน เพื่อให้เกิดความชัดเจน สะดวก ในการอ้างอิงและถือปฏิบัติสำหรับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ปรับปรุงเป็นหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้กระทรวงการคลังเข้มงวดการอนุมัติการขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณกรณีมีหนี้ผูกพัน ให้มีระยะเวลาการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และการขยายเวลาเบิกจ่ายเงินรวมกันได้ไม่เกิน 2 ปีงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543--