ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
ผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้บริษัท อเมราดา เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด สำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ให้ผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้บริษัท อเมราดา เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด สำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์บริเวณแหล่งก๊าซธรรมชาติภูฮ่อมในสัมปทานปิโตเลียมแปลง E5 และ EU-1 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. จากการดำเนินงานสำรวจทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ และเจาะหลุมสำรวจในพื้นที่สัมปทานแปลง EU-1 และ E5 ซึ่งมีเนื้อที่รวมประมาณ 234.1 ตารางกิโลเมตร ผู้รับสัมปทานได้พบก๊าซธรรมชาติที่แหล่งภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานี และกรมทรัพยากรธรณีคาดว่าจะมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 0.325 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต มีมูลค่าประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันบริษัท อเมราดา เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้นำข้อมูลการสำรวจวัดความไหวสะเทือน และข้อมูลการเจาะหลุมที่ทำไว้เดิมไปศึกษาใหม่ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ว่าปริมาณก๊าซสำรองธรรมชาติอาจจะมีสูงถึง 1.174 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต โดยในชั้นต้นบริษัทฯ ได้กำหนดแผนงานสำรวจวัดความไหวสะเทือนระยะทาง 75 กิโลเมตร โดยเดิมกำหนดจะดำเนินการในช่วงกลางปี พ.ศ. 2541 และจะวางแผนเพื่อเจาะสำรวจอีก 3 หลุม ระยะเวลาสำรวจประมาณ 2 ปี โดยคาดว่าหลุมแรกจะเริ่มเจาะในช่วงต้นปี 2542 สำหรับการเจาะหลุมปิโตรเลียม 1 หลุม จะต้องใช้พื้นที่ตั้งแท่นเจาะประมาณ 5 ไร่ 2 งาน และยังต้องใช้พื้นที่สำหรับตั้งค่ายพักของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแท่นเจาะอีกประมาณ 2 ไร่ 1 งาน ดังนั้น ในชั้นต้นนี้ คาดว่าจะต้องใช้พื้นที่โครงสร้างภูฮ่อมสำหรับตั้งฐานเจาะและตั้งค่ายพักทั้งหมดรวม 13 ไร่ 1 งาน (ใช้พื้นที่สำหรับฐานเจาะใหม่ 2 พื้นที่ ส่วนอีก 1 ฐานเจาะใช้พื้นที่ของหลุมเจาะภูฮ่อมเดิม)
2. บริษัท อเมราดาฯ ไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ได้ เนื่องจากพื้นที่แปลงสำรวจบริเวณโครงสร้างภูฮ่อมดังกล่าวได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และเป็นเขตป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528 วันที่ 12 กรกฎาคม 2531 วันที่10 มีนาคม 2535 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538
3. กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นควรสนับสนุนให้บริษัท อเมราดาฯ เข้าไปสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในบริเวณดังกล่าว เพื่อให้สามารถนำก๊าซธรรมชาติใต้พื้นดินซึ่งมีคุณค่ามหาศาลมาใช้ประโยชน์ อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยแผนการดำเนินงานสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมที่กำหนดไว้จะมีการใช้พื้นที่ป่าเพียงเล็กน้อย และได้คำนึงถึงการป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
ผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้บริษัท อเมราดา เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด สำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ให้ผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้บริษัท อเมราดา เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด สำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์บริเวณแหล่งก๊าซธรรมชาติภูฮ่อมในสัมปทานปิโตเลียมแปลง E5 และ EU-1 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. จากการดำเนินงานสำรวจทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ และเจาะหลุมสำรวจในพื้นที่สัมปทานแปลง EU-1 และ E5 ซึ่งมีเนื้อที่รวมประมาณ 234.1 ตารางกิโลเมตร ผู้รับสัมปทานได้พบก๊าซธรรมชาติที่แหล่งภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานี และกรมทรัพยากรธรณีคาดว่าจะมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 0.325 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต มีมูลค่าประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันบริษัท อเมราดา เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้นำข้อมูลการสำรวจวัดความไหวสะเทือน และข้อมูลการเจาะหลุมที่ทำไว้เดิมไปศึกษาใหม่ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ว่าปริมาณก๊าซสำรองธรรมชาติอาจจะมีสูงถึง 1.174 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต โดยในชั้นต้นบริษัทฯ ได้กำหนดแผนงานสำรวจวัดความไหวสะเทือนระยะทาง 75 กิโลเมตร โดยเดิมกำหนดจะดำเนินการในช่วงกลางปี พ.ศ. 2541 และจะวางแผนเพื่อเจาะสำรวจอีก 3 หลุม ระยะเวลาสำรวจประมาณ 2 ปี โดยคาดว่าหลุมแรกจะเริ่มเจาะในช่วงต้นปี 2542 สำหรับการเจาะหลุมปิโตรเลียม 1 หลุม จะต้องใช้พื้นที่ตั้งแท่นเจาะประมาณ 5 ไร่ 2 งาน และยังต้องใช้พื้นที่สำหรับตั้งค่ายพักของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแท่นเจาะอีกประมาณ 2 ไร่ 1 งาน ดังนั้น ในชั้นต้นนี้ คาดว่าจะต้องใช้พื้นที่โครงสร้างภูฮ่อมสำหรับตั้งฐานเจาะและตั้งค่ายพักทั้งหมดรวม 13 ไร่ 1 งาน (ใช้พื้นที่สำหรับฐานเจาะใหม่ 2 พื้นที่ ส่วนอีก 1 ฐานเจาะใช้พื้นที่ของหลุมเจาะภูฮ่อมเดิม)
2. บริษัท อเมราดาฯ ไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ได้ เนื่องจากพื้นที่แปลงสำรวจบริเวณโครงสร้างภูฮ่อมดังกล่าวได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และเป็นเขตป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528 วันที่ 12 กรกฎาคม 2531 วันที่10 มีนาคม 2535 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538
3. กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นควรสนับสนุนให้บริษัท อเมราดาฯ เข้าไปสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในบริเวณดังกล่าว เพื่อให้สามารถนำก๊าซธรรมชาติใต้พื้นดินซึ่งมีคุณค่ามหาศาลมาใช้ประโยชน์ อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยแผนการดำเนินงานสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมที่กำหนดไว้จะมีการใช้พื้นที่ป่าเพียงเล็กน้อย และได้คำนึงถึงการป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-