ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบโครงการปรับเปลี่ยนกำลังพล (การขอพระราชทานยศหรือเลื่อนยศสูงขึ้นเป็นกรณีพิเศษ่ให้กับข้าราชการตำรวจที่ขอลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ) ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ โครงการดังกล่าว เป็นโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลโดยรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งนอกเหนือไปจากโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังพลในสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อันจะสอดคล้องกับการลดงบประมาณหมวดเงินเดือนภาครัฐ โดยจูงใจให้ข้าราชการตำรวจลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ ซึ่งมีหลักการเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังพล โดยไม่มีการยุบเลิกตำแหน่ง เป็นความสมัครใจของข้าราชการตำรวจ และความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ข้าราชการตำรวจมีทางเลือกที่ดี และได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่ทางราชการกำหนด และลดงบประมาณหมวดเงินเดือนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้น และไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์หรือสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงิน
ข้าราชการตำรวจกลุ่มเป้าหมาย จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นข้าราชการตำรวจอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
2. มีอายุราชการเหลือตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
3. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ทุน
4. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการในกรณีอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ถูกสั่งลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการเป็นต้น
5. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนทางวินัยหรือสืบสวนข้อเท็จจริงทางวินัย หรือการพิจารณาโทษทางวินัย หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดคดีอาญา ซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือกระทำโดยประมาท
6. เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ ด้วยเหตุสูงอายุหรือเหตุรับราชการนานตามความที่บัญญัติในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข คือ
1. ดำเนินการภายใต้กฎมายที่มีอยู่ โดยไม่แก้ไขกฎหมาย
2. เมื่อได้รับอนุมัติให้ลาออกแล้วจะไม่ขอกลับเข้ารับราชการใหม่ ไม่เรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใด ๆ นอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนด
3. การอนุมัติให้ลาออกจะมีผลบังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณ
4. เป็นไปตามความสมัครใจและได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับคือ ผู้ขอลาออกตามโครงการจะได้รับบำเหน็จบำนาญปกติและสิทธิอื่นตามข้อบังคับ หรือกฎหมายกำหนด ดังนี้
1. ได้รับการขอพระราชทานยศ หรือเลื่อนยศสูงขึ้นเป็นกรณีพิเศษ โดยไม่มีการปรับระดับเงินเดือนสูงขึ้นตามชั้นยศใหม่ (ยกเว้นข้าราชกาตำรวจยศพันตำรวจเอก) การขอพระราชทานยศ หรือเลื่อนยศ สูงขึ้น ข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะต้องครองยศ ดังนี้
1.1 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพลตำรวจโท จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นพลตำรวจเอก
1.2 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพลตำรวจตรี จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นพลตำรวจโท
1.3 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) จะต้องครองยศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี
1.4 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพันตำรวจเอกซึ่งครองยศพันตำรวจเอกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีนับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก ให้ปรับเป็นเงินเดือนระดับ ส.5 เป็นกรณีพิเศษ โดยให้ปรับระดับขั้นเงินเดือนเป็นระดับ ส.5 ในขั้นที่ตรงกับระดับ ส.4 ปัจจุบัน (กรณีที่ขั้นเงินเดือนตรงกัน) หรือให้อาศัยเบิกในขั้นที่สูงกว่าถัดไป(กรณีขั้นเงินเดือนไม่ตรงกัน) โดยให้ผู้ที่ขอลาออกได้รับเงินเดือนในอัตราที่เคยได้รับก่อนที่จะได้มีการปรับระดับอัตราเงินเดือน
1.5 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพันตำรวจโท จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นพันตำรวจเอก
1.6 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศร้อยตำรวจตรีถึงพันตำรวจตรี จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศสูงขึ้น 1 ชั้นยศ
1.7 ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศนายดาบตำรวจ จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจตรี
1.8 ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศจ่าสิบตำรวจ จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจตรี
1.9 ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศสิบตำรวจตรีถึงสิบตำรวจเอก จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออกและให้เลื่อนยศสูงขึ้น 1 ชั้นยศ
2. มีสิทธิได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามสิทธิในชั้นยศเดิม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2536
3. มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นและอัตราเงินเดือนประจำปี
4. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณทำนองเดียวกับผู้เกษียณอายุ
ระยะเวลาดำเนินการในโครงการ โดยระยะเวลาดำเนินการขั้นแรก 2 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 ถึงปีงบประมาณ 2545 และสามารถขยายระยะเวลาดำเนินโครงการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบโครงการปรับเปลี่ยนกำลังพล (การขอพระราชทานยศหรือเลื่อนยศสูงขึ้นเป็นกรณีพิเศษ่ให้กับข้าราชการตำรวจที่ขอลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ) ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ โครงการดังกล่าว เป็นโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลโดยรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งนอกเหนือไปจากโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังพลในสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อันจะสอดคล้องกับการลดงบประมาณหมวดเงินเดือนภาครัฐ โดยจูงใจให้ข้าราชการตำรวจลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ ซึ่งมีหลักการเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังพล โดยไม่มีการยุบเลิกตำแหน่ง เป็นความสมัครใจของข้าราชการตำรวจ และความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ข้าราชการตำรวจมีทางเลือกที่ดี และได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่ทางราชการกำหนด และลดงบประมาณหมวดเงินเดือนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้น และไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์หรือสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงิน
ข้าราชการตำรวจกลุ่มเป้าหมาย จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นข้าราชการตำรวจอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
2. มีอายุราชการเหลือตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
3. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ทุน
4. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการในกรณีอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ถูกสั่งลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการเป็นต้น
5. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนทางวินัยหรือสืบสวนข้อเท็จจริงทางวินัย หรือการพิจารณาโทษทางวินัย หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดคดีอาญา ซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือกระทำโดยประมาท
6. เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ ด้วยเหตุสูงอายุหรือเหตุรับราชการนานตามความที่บัญญัติในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข คือ
1. ดำเนินการภายใต้กฎมายที่มีอยู่ โดยไม่แก้ไขกฎหมาย
2. เมื่อได้รับอนุมัติให้ลาออกแล้วจะไม่ขอกลับเข้ารับราชการใหม่ ไม่เรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใด ๆ นอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนด
3. การอนุมัติให้ลาออกจะมีผลบังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณ
4. เป็นไปตามความสมัครใจและได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับคือ ผู้ขอลาออกตามโครงการจะได้รับบำเหน็จบำนาญปกติและสิทธิอื่นตามข้อบังคับ หรือกฎหมายกำหนด ดังนี้
1. ได้รับการขอพระราชทานยศ หรือเลื่อนยศสูงขึ้นเป็นกรณีพิเศษ โดยไม่มีการปรับระดับเงินเดือนสูงขึ้นตามชั้นยศใหม่ (ยกเว้นข้าราชกาตำรวจยศพันตำรวจเอก) การขอพระราชทานยศ หรือเลื่อนยศ สูงขึ้น ข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะต้องครองยศ ดังนี้
1.1 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพลตำรวจโท จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นพลตำรวจเอก
1.2 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพลตำรวจตรี จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นพลตำรวจโท
1.3 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) จะต้องครองยศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี
1.4 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพันตำรวจเอกซึ่งครองยศพันตำรวจเอกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีนับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก ให้ปรับเป็นเงินเดือนระดับ ส.5 เป็นกรณีพิเศษ โดยให้ปรับระดับขั้นเงินเดือนเป็นระดับ ส.5 ในขั้นที่ตรงกับระดับ ส.4 ปัจจุบัน (กรณีที่ขั้นเงินเดือนตรงกัน) หรือให้อาศัยเบิกในขั้นที่สูงกว่าถัดไป(กรณีขั้นเงินเดือนไม่ตรงกัน) โดยให้ผู้ที่ขอลาออกได้รับเงินเดือนในอัตราที่เคยได้รับก่อนที่จะได้มีการปรับระดับอัตราเงินเดือน
1.5 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศพันตำรวจโท จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นพันตำรวจเอก
1.6 ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรยศร้อยตำรวจตรีถึงพันตำรวจตรี จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศสูงขึ้น 1 ชั้นยศ
1.7 ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศนายดาบตำรวจ จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจตรี
1.8 ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศจ่าสิบตำรวจ จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออก และให้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจตรี
1.9 ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศสิบตำรวจตรีถึงสิบตำรวจเอก จะต้องครองยศเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่ลาออกและให้เลื่อนยศสูงขึ้น 1 ชั้นยศ
2. มีสิทธิได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามสิทธิในชั้นยศเดิม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2536
3. มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นและอัตราเงินเดือนประจำปี
4. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณทำนองเดียวกับผู้เกษียณอายุ
ระยะเวลาดำเนินการในโครงการ โดยระยะเวลาดำเนินการขั้นแรก 2 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 ถึงปีงบประมาณ 2545 และสามารถขยายระยะเวลาดำเนินโครงการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-