คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542
เรื่อง โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ครั้งที่ 5 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2544) สรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (Program Steering
Committee : PSC) ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติรายละเอียดแผนงาน/โครงการ และกรอบวงเงินแล้วรวมทั้งสิ้น
24 ครั้ง พิจารณารายละเอียดแผนงาน/โครงการ จำนวน 15 โครงการ อนุมัติให้ดำเนินการจำนวน 14 โครงการ วงเงิน
16,654.04 ล้านบาท ให้ปรับปรุงและจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมจำนวน 1 โครงการ ยังมิได้นำเสนอคณะกรรมการบริหารฯ
จำนวน 5 โครงการ
2. ผลการอนุมัติค่าใช้จ่ายโครงการ ส่วนราชการที่ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะกรรมการบริหารจัดการ
โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรแล้ว โดยสำนักงบประมาณ (สงป.) ได้อนุมัติค่าใช้จ่ายแล้ว 13 โครงการ
วงเงิน 10,172.3 ล้านบาท ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการอนุมัติเฉพาะยอดเงินที่ต้องเบิกจ่ายในปี 2543 - 2544 และยอดเงิน
ผูกพันข้ามปี โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการที่สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายแล้ว ดังนี้
PSC อนุมัติ สงป. อนุมัติ
1) โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง 2,885.66 1,307.73
2) โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็ก 500 312.84
3) โครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำ 699 -
4) โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อพัฒนาแหล่งผลิตของชุมชน 2,500.00 2,118.04
5) โครงการจัดรูปที่ดิน 449.83 217.45
6) โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร 2,047.00 1,730.40
7) โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตในเขตปฏิรูปที่ดิน 639.85 177.59
8) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร 1,150.00 803.22
9) กองทุนพัฒนางานวิจัยการเกษตรและบุคลากร 3,500.00 3,000.00
10) โครงการพัฒนามาตรฐานและระบบตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตร 699.49 256.1
11) โครงการจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของ 700 8.04
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
12) โครงการจัดทำแนวเขตและเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ 303.21 122.44
13) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง 300 89.73
14) โครงการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการเงินกู้ 280 28.45
รวม PSC อนุมัติ 16,654.04 ล้านบาท สงป. อนุมัติ 10,172.03 ล้านบาท
3. การเก็บเงินคืนทุนตามกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการจัดสัมมนาเพื่อเตรียมจัดทำแผนการเก็บเงินคืนทุน (Cost Recovery) ค่าบริการน้ำ
ชลประทาน ผลการสัมมนาสรุปได้ ดังนี้
3.1 ระบบชลประทานแบบการใช้แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity)
1) ค่าก่อสร้าง
- หัวงาน/ระบบหลัก กรมชลประทานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- ระบบแปลงนา (คูน้ำ) เกษตรกรออกค่าใช้จ่าย 20 - 50% เหมือนค่าจัดรูปที่ดิน
2) ค่าจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา (O & M)
- คลองสายหลักและสายซอย กรมชลประทานรับผิดชอบทั้งหมด
- คลองส่งน้ำแยกซอย เป็นไปตามแผนถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น
(อบจ. อบต.) ดูแล ดำเนินการในรูปแบบ Contracting Out หรือ Service Agreement ขณะเดียวกันในโครงการปรับปรุง
ระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่ใช้เงิน ASPL จะดำเนินการโครงการนำร่องทำความตกลงกับเกษตรกรให้ออกค่าใช้จ่ายสมทบ
โดยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการชลประทานแบบมีส่วนร่วม (Participatory Irrigation Management - PIM)
3.2 ชลประทานระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
1) ค่าก่อสร้าง
- ระบบหลัก กรมชลประทานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- ระบบแปลงนา (คูน้ำ) เกษตรกรออกค่าใช้จ่าย 20 - 30% เหมือนค่าจัดรูปที่ดิน
2) ค่าจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา (O & M)
- คลองสายหลักและสายซอย กรมชลประทานรับผิดชอบทั้งหมด
- คลองส่งน้ำแยกซอย เป็นไปตามแผนถ่ายโอนอำนาจให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
- ค่าไฟฟ้า เกษตรกรรับผิดชอบ 45% (เท่ากับที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกำหนด)
3.3 ชลประทานระบบท่อ
1) ค่าก่อสร้าง
- ระบบหลัก (ถังบ่อพักน้ำ) กรมชลประทานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- จากสถานีสูบน้ำถึงแปลงนา เกษตรกรรับผิดชอบ 100%
2) ค่าจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา
- ทั้งระบบ เกษตรกรรับผิดชอบ 100%
4. การวางระบบฐานข้อมูล การติดตามและรายงานความก้าวหน้าโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้าง
ภาคเกษตร
สำนักงานบริหารโครงการเงินกู้ฯ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ว่าจ้างบริษัทเพื่อวาง
ระบบฐานข้อมูลโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเก็บข้อมูล
ความรวดเร็วในการประมวลผลและออกแบบรายงาน ตลอดจนมีความแม่นตรงของข้อมูล เพื่อแสดงผลการดำเนินงานใน
ทุกระดับของโครงการ โดยทำการออกแบบและจัดทำระบบฐานข้อมูลส่วนกลาง (Data Center) สำหรับการติดตามผลการ
ดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณ และประมวลผลความก้าวหน้าการบริหารจัดการแผนงาน/โครงการและงบประมาณของโครงการ
ทั้งนี้ สาระของกรอบการรายงานเป็นไปตามความต้องการหรือข้อกำหนดของสำนักงานบริหารโครงการเงินกู้ฯ
กรมบัญชีกลาง และกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-
เรื่อง โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร ครั้งที่ 5 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2544) สรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (Program Steering
Committee : PSC) ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติรายละเอียดแผนงาน/โครงการ และกรอบวงเงินแล้วรวมทั้งสิ้น
24 ครั้ง พิจารณารายละเอียดแผนงาน/โครงการ จำนวน 15 โครงการ อนุมัติให้ดำเนินการจำนวน 14 โครงการ วงเงิน
16,654.04 ล้านบาท ให้ปรับปรุงและจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมจำนวน 1 โครงการ ยังมิได้นำเสนอคณะกรรมการบริหารฯ
จำนวน 5 โครงการ
2. ผลการอนุมัติค่าใช้จ่ายโครงการ ส่วนราชการที่ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะกรรมการบริหารจัดการ
โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรแล้ว โดยสำนักงบประมาณ (สงป.) ได้อนุมัติค่าใช้จ่ายแล้ว 13 โครงการ
วงเงิน 10,172.3 ล้านบาท ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการอนุมัติเฉพาะยอดเงินที่ต้องเบิกจ่ายในปี 2543 - 2544 และยอดเงิน
ผูกพันข้ามปี โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการที่สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายแล้ว ดังนี้
PSC อนุมัติ สงป. อนุมัติ
1) โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง 2,885.66 1,307.73
2) โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็ก 500 312.84
3) โครงการชลประทานระบบท่อส่งน้ำ 699 -
4) โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อพัฒนาแหล่งผลิตของชุมชน 2,500.00 2,118.04
5) โครงการจัดรูปที่ดิน 449.83 217.45
6) โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร 2,047.00 1,730.40
7) โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตในเขตปฏิรูปที่ดิน 639.85 177.59
8) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร 1,150.00 803.22
9) กองทุนพัฒนางานวิจัยการเกษตรและบุคลากร 3,500.00 3,000.00
10) โครงการพัฒนามาตรฐานและระบบตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตร 699.49 256.1
11) โครงการจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของ 700 8.04
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
12) โครงการจัดทำแนวเขตและเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ 303.21 122.44
13) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง 300 89.73
14) โครงการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการเงินกู้ 280 28.45
รวม PSC อนุมัติ 16,654.04 ล้านบาท สงป. อนุมัติ 10,172.03 ล้านบาท
3. การเก็บเงินคืนทุนตามกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการจัดสัมมนาเพื่อเตรียมจัดทำแผนการเก็บเงินคืนทุน (Cost Recovery) ค่าบริการน้ำ
ชลประทาน ผลการสัมมนาสรุปได้ ดังนี้
3.1 ระบบชลประทานแบบการใช้แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity)
1) ค่าก่อสร้าง
- หัวงาน/ระบบหลัก กรมชลประทานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- ระบบแปลงนา (คูน้ำ) เกษตรกรออกค่าใช้จ่าย 20 - 50% เหมือนค่าจัดรูปที่ดิน
2) ค่าจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา (O & M)
- คลองสายหลักและสายซอย กรมชลประทานรับผิดชอบทั้งหมด
- คลองส่งน้ำแยกซอย เป็นไปตามแผนถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น
(อบจ. อบต.) ดูแล ดำเนินการในรูปแบบ Contracting Out หรือ Service Agreement ขณะเดียวกันในโครงการปรับปรุง
ระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่ใช้เงิน ASPL จะดำเนินการโครงการนำร่องทำความตกลงกับเกษตรกรให้ออกค่าใช้จ่ายสมทบ
โดยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการชลประทานแบบมีส่วนร่วม (Participatory Irrigation Management - PIM)
3.2 ชลประทานระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
1) ค่าก่อสร้าง
- ระบบหลัก กรมชลประทานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- ระบบแปลงนา (คูน้ำ) เกษตรกรออกค่าใช้จ่าย 20 - 30% เหมือนค่าจัดรูปที่ดิน
2) ค่าจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา (O & M)
- คลองสายหลักและสายซอย กรมชลประทานรับผิดชอบทั้งหมด
- คลองส่งน้ำแยกซอย เป็นไปตามแผนถ่ายโอนอำนาจให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
- ค่าไฟฟ้า เกษตรกรรับผิดชอบ 45% (เท่ากับที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกำหนด)
3.3 ชลประทานระบบท่อ
1) ค่าก่อสร้าง
- ระบบหลัก (ถังบ่อพักน้ำ) กรมชลประทานรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- จากสถานีสูบน้ำถึงแปลงนา เกษตรกรรับผิดชอบ 100%
2) ค่าจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา
- ทั้งระบบ เกษตรกรรับผิดชอบ 100%
4. การวางระบบฐานข้อมูล การติดตามและรายงานความก้าวหน้าโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้าง
ภาคเกษตร
สำนักงานบริหารโครงการเงินกู้ฯ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ว่าจ้างบริษัทเพื่อวาง
ระบบฐานข้อมูลโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเก็บข้อมูล
ความรวดเร็วในการประมวลผลและออกแบบรายงาน ตลอดจนมีความแม่นตรงของข้อมูล เพื่อแสดงผลการดำเนินงานใน
ทุกระดับของโครงการ โดยทำการออกแบบและจัดทำระบบฐานข้อมูลส่วนกลาง (Data Center) สำหรับการติดตามผลการ
ดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณ และประมวลผลความก้าวหน้าการบริหารจัดการแผนงาน/โครงการและงบประมาณของโครงการ
ทั้งนี้ สาระของกรอบการรายงานเป็นไปตามความต้องการหรือข้อกำหนดของสำนักงานบริหารโครงการเงินกู้ฯ
กรมบัญชีกลาง และกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-