คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตามนโยบายรัฐบาลตามที่กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ . .) พ.ศ. … .
2. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ . .) พ.ศ. ….
3. ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. … . รวม 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มีสาระสำคัญ คือ
1) ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษแต่ละประเภทที่ผู้อนุญาตจะอนุญาตให้ผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองได้
2) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2 ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
3) แก้ไขลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับยาเสพติดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
4) จัดให้มีมาตรการควบคุมการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
5) กำหนดให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ต้องรับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ
6) กำหนดให้มีการโฆษณาสรรพคุณยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ต่อผู้ประกอบวิชาชีพได้ ปรับปรุงมาตรการควบคุมการโฆษณาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การบำบัดรักษา สถานพยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล กำหนดให้อาจอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเฉพาะยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เกินปริมาณที่กำหนดเป็นกรณีพิเศษได้
7) ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตามความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิด
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีสาระสำคัญคือ
1) แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเพิ่มรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
2) กำหนดให้คณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือทำการใด ๆ แทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้
3) กำหนดเหตุให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น และการค้นตามบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
4) กำหนดให้เจ้าพนักงานอาจขอให้บุคคลใดเพื่อช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจค้น จับกุม หรือตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ กำหนดให้เจ้าพนักงานอาจขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารในสิ่งสื่อสารที่ถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ และห้ามไม่ให้นำข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไปเปิดเผยโดยไม่ชอบ
5) กำหนดโทษแก่ผู้ที่ไม่ให้ความสะดวกแก่ผู้ที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจค้น จับกุม หรือตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบสารเสพติดในร่างกาย และโทษสำหรับผู้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติหน้าที่หรือตามกฎหมาย
ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีสาระสำคัญดังนี้
1) ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534
2) ให้มีคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ และให้อธิบดีกรมคุมประพฤติเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้อำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
3) ให้มีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
4) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจจัดตั้งและยุบเลิกศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา
5) ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามชนิด และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติด ถ้าผู้ต้องหามีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ ให้พนักงานสอบสวนนำตัวส่งศาลเพื่อมีคำสั่งให้ตรวจพิสูจน์ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน
6) ในกรณีที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดวินิจฉัยว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์เป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด ให้จัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และให้แจ้งผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานอัยการทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้พนักงานอัยการมีคำสั่งชะลอการฟ้องไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ถ้าได้รับแจ้งผลการตรวจพิสูจน์ว่าผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไป
7) คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอาจพิจารณาปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
8) ผู้รับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกำหนด
9) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อตรวจค้นและจับตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือมีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร หรือหลักฐานใดมาเพื่อการตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณาฯ
10) ให้ผู้เข้ารับการพิสูจน์สามารถอุทธรณ์คำสั่งของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ ที่มีคำสั่งว่าผู้เข้ารับการพิสูจน์นั้นเสพหรือติดยาเสพติด หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-
1. ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ . .) พ.ศ. … .
2. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ . .) พ.ศ. ….
3. ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. … . รวม 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มีสาระสำคัญ คือ
1) ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษแต่ละประเภทที่ผู้อนุญาตจะอนุญาตให้ผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองได้
2) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2 ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
3) แก้ไขลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับยาเสพติดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
4) จัดให้มีมาตรการควบคุมการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
5) กำหนดให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ต้องรับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ
6) กำหนดให้มีการโฆษณาสรรพคุณยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ต่อผู้ประกอบวิชาชีพได้ ปรับปรุงมาตรการควบคุมการโฆษณาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การบำบัดรักษา สถานพยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล กำหนดให้อาจอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเฉพาะยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เกินปริมาณที่กำหนดเป็นกรณีพิเศษได้
7) ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตามความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิด
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีสาระสำคัญคือ
1) แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเพิ่มรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
2) กำหนดให้คณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือทำการใด ๆ แทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้
3) กำหนดเหตุให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น และการค้นตามบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
4) กำหนดให้เจ้าพนักงานอาจขอให้บุคคลใดเพื่อช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจค้น จับกุม หรือตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ กำหนดให้เจ้าพนักงานอาจขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารในสิ่งสื่อสารที่ถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ และห้ามไม่ให้นำข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไปเปิดเผยโดยไม่ชอบ
5) กำหนดโทษแก่ผู้ที่ไม่ให้ความสะดวกแก่ผู้ที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจค้น จับกุม หรือตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบสารเสพติดในร่างกาย และโทษสำหรับผู้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติหน้าที่หรือตามกฎหมาย
ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีสาระสำคัญดังนี้
1) ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534
2) ให้มีคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ และให้อธิบดีกรมคุมประพฤติเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้อำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
3) ให้มีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
4) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจจัดตั้งและยุบเลิกศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา
5) ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามชนิด และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติด ถ้าผู้ต้องหามีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ ให้พนักงานสอบสวนนำตัวส่งศาลเพื่อมีคำสั่งให้ตรวจพิสูจน์ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน
6) ในกรณีที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดวินิจฉัยว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์เป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด ให้จัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และให้แจ้งผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานอัยการทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้พนักงานอัยการมีคำสั่งชะลอการฟ้องไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ถ้าได้รับแจ้งผลการตรวจพิสูจน์ว่าผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไป
7) คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอาจพิจารณาปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
8) ผู้รับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกำหนด
9) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อตรวจค้นและจับตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือมีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร หรือหลักฐานใดมาเพื่อการตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณาฯ
10) ให้ผู้เข้ารับการพิสูจน์สามารถอุทธรณ์คำสั่งของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ ที่มีคำสั่งว่าผู้เข้ารับการพิสูจน์นั้นเสพหรือติดยาเสพติด หรือมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-