การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย (เงินเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2545/2546
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 เป็นราคาเดียวทั่วประเทศ ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด ดังนี้
1.1 ราคาอ้อยขั้นต้นในอัตราเมตริกตันละ 530.00 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99.18407 ของราคาอ้อยในเขตต่ำสุด หรือเท่ากับร้อยละ 93.9783 ของราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ และกำหนดอัตราการขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 31.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. ต่อเมตริกตัน
1.2 ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นในอัตรากระสอบละ 250.79 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99.18407 ของผลตอบแทนการผลิตฯ ในเขตต่ำสุด หรือเท่ากับร้อยละ 97.4850 ของผลตอบแทนการผลิตฯ เฉลี่ยทั่วประเทศ
2. รับทราบมาตรการในการให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายดำเนินการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยกรณีราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตอ้อย ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด
เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ที่ชาวไร่อ้อยได้รับตามข้อ 1 ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตอ้อยซึ่งอยู่ที่ตันอ้อยละ 586.32 บาท ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย จึงมีมติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายดำเนินการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยดังต่อไปนี้
2.1 ให้นำรายได้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายไปเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิตปี 2544/2545 ในอัตราตันอ้อยละ 20 บาท (คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,043 ล้านบาท) ทั้งนี้ ให้ถือว่าเป็นเงินยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย และบันทึกบัญชีว่าชาวไร่อ้อยเป็นหนี้ต่อกองทุนฯ
2.2 ให้นำรายได้ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายไปชำระดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2541/2542 และปี 2542/2543 (เป็นเงินประมาณ 427 ล้านบาท) ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในฤดูการผลิตปี 2544/2545 ต่อไป
3. มาตรการพักชำระหนี้เฉพาะส่วนของเงินต้น ที่ชาวไร่อ้อยจะต้องชำระให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรในฤดูการผลิตปี 2544/2545 เป็นเงินประมาณ 2,014 ล้านบาท หรือประมาณตันอ้อยละ 38.64 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
เนื่องจากในฤดูการผลิตปี 2544/2545 ชาวไร่อ้อยมีภาระที่ต้องชำระหนี้เงินกู้ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2541/2542 และปี 2542/2543 เป็นเงินประมาณ 2,306 ล้านบาท หรือประมาณตันอ้อยละ44.22 บาท โดยชาวไร่อ้อยจะถูกหักภาระหนี้เงินกู้ ดังกล่าวจากราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ซึ่งจะทำให้ราคา อ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ที่ชาวไร่อ้อยได้รับหลังจากหักภาระหนี้แล้วเหลือเพียงตันอ้อยละ 485.78 บาท ที่10 ซี.ซี.เอส. และแม้ว่าคณะกรรมการ อ้อยและน้ำตาลทรายจะได้มีมติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายดำเนินการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยดังกล่าวแล้ว แต่ปรากฏว่าชาวไร่อ้อย ยังคงได้รับราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ในอัตราที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตอ้อยเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้เฉพาะส่วนของเงินต้นดังกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย (เงินเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2545/2546 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย (เงินเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2545/2546 ในวงเงิน10,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เป็นการให้ความช่วยเหลือในลักษณะการกู้ยืมแบบมีกำหนดเวลา จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยชาวไร่อ้อยจะต้องส่งคืนเงินต้นพร้อมชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ ธ.ก.ส. กำหนด เช่นเดียวกับการให้กู้ยืมแก่เกษตรกรทั่วไป โดยวงเงินดังกล่าวจะหมุนเวียนต่อเนื่องไปทุกปีการผลิต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนอกจากจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยในการจัดหาแหล่งเงินกู้ยืมเพื่อส่งเสริมการปลูกอ้อยแทนการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์โดยตรงแล้ว ยังช่วยให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสามารถจัดระบบในการบริหารจัดการวัตถุดิบ (อ้อย) ให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น ลดปัญหาการเกี๊ยวอ้อยซ้ำซ้อน และลดปัญหาการแย่งซื้ออ้อยระหว่างโรงงาน ตลอดจนลดปัญหาการก่อหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งผลจากการดำเนินการในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ธ.ก.ส. สามารถเรียกเก็บหนี้จากการกู้ยืมเงินตามโครงการนี้ได้ครบทั้งหมด ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่มาตรการที่ภาครัฐเข้าไปอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายแต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามมาตรการดังกล่าวยังช่วยจัดระบบของอุตสาหกรรมนี้ให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น และช่วยดูดซับสภาพคล่องทางการเงินของ ธ.ก.ส. โดยมีหลักประกันการชำระคืนเงินกู้ที่มั่นคงอีกด้วย
2. กรณีคนไทยบริโภคน้ำตาลแพงกว่าคนในต่างประเทศนั้น ตามข้อเท็จจริงรัฐบาลได้ควบคุมราคา จำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศให้อยู่ในระดับเดิมมาตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา แม้ว่าจะได้มีการปรับเพิ่มราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ราคาดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และหากจะเปรียบเทียบราคาจำหน่ายภายในประเทศกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่จะนำมาเปรียบเทียบจะต้องเป็นราคาน้ำตาลทรายขาวหรือขาวบริสุทธิ์ ไม่ใช่น้ำตาลทรายดิบ และราคาดังกล่าวจะต้องเป็นราคาที่รวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ค่าภาษี และค่าธรรมเนียมการนำเข้า รวมทั้งค่าการตลาด และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค ซึ่งเมื่อพิจารณาจากระดับราคาน้ำตาลทรายขาวในตลาดลอนดอน ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2544 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 214.90 เหรียญ/ตัน เอฟ.โอ.บี. พบว่าราคาขายปลีกของน้ำตาลทรายขาวนำเข้า (รวมภาษีนำเข้าที่กำหนดไว้ภายใต้ WTO 65%) จะอยู่ที่ระดับประมาณ 23 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาจำหน่ายภายในประเทศที่รัฐบาลควบคุมอยู่ในขณะนี้
3. ในการพิจารณาปรับปรุงระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ขณะนี้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับภาคเอกชนของไทยได้ประสานกับประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลกรวม 13 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลัมเบีย เอลซาวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินเดีย นิคารากัว ปานามา แอฟริกาใต้ และไทย จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเพื่อปฏิรูปการค้าน้ำตาลของโลก (Global Alliance for SugarTrade Reforms and Liberalization) เพื่อผลักดันให้ประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในประชาคมยุโรป ลดการอุดหนุนผู้ผลิตน้ำตาลทรายภายในประเทศซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความเป็นจริง อันส่งผลให้อุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายของไทยต้องประสบปัญหา ทางการค้ามาโดยตลอด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 เป็นราคาเดียวทั่วประเทศ ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด ดังนี้
1.1 ราคาอ้อยขั้นต้นในอัตราเมตริกตันละ 530.00 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99.18407 ของราคาอ้อยในเขตต่ำสุด หรือเท่ากับร้อยละ 93.9783 ของราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ และกำหนดอัตราการขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 31.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. ต่อเมตริกตัน
1.2 ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นในอัตรากระสอบละ 250.79 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99.18407 ของผลตอบแทนการผลิตฯ ในเขตต่ำสุด หรือเท่ากับร้อยละ 97.4850 ของผลตอบแทนการผลิตฯ เฉลี่ยทั่วประเทศ
2. รับทราบมาตรการในการให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายดำเนินการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยกรณีราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตอ้อย ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด
เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ที่ชาวไร่อ้อยได้รับตามข้อ 1 ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตอ้อยซึ่งอยู่ที่ตันอ้อยละ 586.32 บาท ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย จึงมีมติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายดำเนินการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยดังต่อไปนี้
2.1 ให้นำรายได้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายไปเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิตปี 2544/2545 ในอัตราตันอ้อยละ 20 บาท (คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,043 ล้านบาท) ทั้งนี้ ให้ถือว่าเป็นเงินยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย และบันทึกบัญชีว่าชาวไร่อ้อยเป็นหนี้ต่อกองทุนฯ
2.2 ให้นำรายได้ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายไปชำระดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2541/2542 และปี 2542/2543 (เป็นเงินประมาณ 427 ล้านบาท) ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในฤดูการผลิตปี 2544/2545 ต่อไป
3. มาตรการพักชำระหนี้เฉพาะส่วนของเงินต้น ที่ชาวไร่อ้อยจะต้องชำระให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตรในฤดูการผลิตปี 2544/2545 เป็นเงินประมาณ 2,014 ล้านบาท หรือประมาณตันอ้อยละ 38.64 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
เนื่องจากในฤดูการผลิตปี 2544/2545 ชาวไร่อ้อยมีภาระที่ต้องชำระหนี้เงินกู้ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2541/2542 และปี 2542/2543 เป็นเงินประมาณ 2,306 ล้านบาท หรือประมาณตันอ้อยละ44.22 บาท โดยชาวไร่อ้อยจะถูกหักภาระหนี้เงินกู้ ดังกล่าวจากราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ซึ่งจะทำให้ราคา อ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ที่ชาวไร่อ้อยได้รับหลังจากหักภาระหนี้แล้วเหลือเพียงตันอ้อยละ 485.78 บาท ที่10 ซี.ซี.เอส. และแม้ว่าคณะกรรมการ อ้อยและน้ำตาลทรายจะได้มีมติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายดำเนินการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยดังกล่าวแล้ว แต่ปรากฏว่าชาวไร่อ้อย ยังคงได้รับราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2544/2545 ในอัตราที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตอ้อยเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้เฉพาะส่วนของเงินต้นดังกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย (เงินเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2545/2546 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย (เงินเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2545/2546 ในวงเงิน10,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เป็นการให้ความช่วยเหลือในลักษณะการกู้ยืมแบบมีกำหนดเวลา จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยชาวไร่อ้อยจะต้องส่งคืนเงินต้นพร้อมชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ ธ.ก.ส. กำหนด เช่นเดียวกับการให้กู้ยืมแก่เกษตรกรทั่วไป โดยวงเงินดังกล่าวจะหมุนเวียนต่อเนื่องไปทุกปีการผลิต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนอกจากจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยในการจัดหาแหล่งเงินกู้ยืมเพื่อส่งเสริมการปลูกอ้อยแทนการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์โดยตรงแล้ว ยังช่วยให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสามารถจัดระบบในการบริหารจัดการวัตถุดิบ (อ้อย) ให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น ลดปัญหาการเกี๊ยวอ้อยซ้ำซ้อน และลดปัญหาการแย่งซื้ออ้อยระหว่างโรงงาน ตลอดจนลดปัญหาการก่อหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งผลจากการดำเนินการในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ธ.ก.ส. สามารถเรียกเก็บหนี้จากการกู้ยืมเงินตามโครงการนี้ได้ครบทั้งหมด ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่มาตรการที่ภาครัฐเข้าไปอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายแต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามมาตรการดังกล่าวยังช่วยจัดระบบของอุตสาหกรรมนี้ให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น และช่วยดูดซับสภาพคล่องทางการเงินของ ธ.ก.ส. โดยมีหลักประกันการชำระคืนเงินกู้ที่มั่นคงอีกด้วย
2. กรณีคนไทยบริโภคน้ำตาลแพงกว่าคนในต่างประเทศนั้น ตามข้อเท็จจริงรัฐบาลได้ควบคุมราคา จำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศให้อยู่ในระดับเดิมมาตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา แม้ว่าจะได้มีการปรับเพิ่มราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ราคาดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และหากจะเปรียบเทียบราคาจำหน่ายภายในประเทศกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่จะนำมาเปรียบเทียบจะต้องเป็นราคาน้ำตาลทรายขาวหรือขาวบริสุทธิ์ ไม่ใช่น้ำตาลทรายดิบ และราคาดังกล่าวจะต้องเป็นราคาที่รวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ค่าภาษี และค่าธรรมเนียมการนำเข้า รวมทั้งค่าการตลาด และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค ซึ่งเมื่อพิจารณาจากระดับราคาน้ำตาลทรายขาวในตลาดลอนดอน ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2544 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 214.90 เหรียญ/ตัน เอฟ.โอ.บี. พบว่าราคาขายปลีกของน้ำตาลทรายขาวนำเข้า (รวมภาษีนำเข้าที่กำหนดไว้ภายใต้ WTO 65%) จะอยู่ที่ระดับประมาณ 23 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาจำหน่ายภายในประเทศที่รัฐบาลควบคุมอยู่ในขณะนี้
3. ในการพิจารณาปรับปรุงระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ขณะนี้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับภาคเอกชนของไทยได้ประสานกับประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลกรวม 13 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลัมเบีย เอลซาวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินเดีย นิคารากัว ปานามา แอฟริกาใต้ และไทย จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเพื่อปฏิรูปการค้าน้ำตาลของโลก (Global Alliance for SugarTrade Reforms and Liberalization) เพื่อผลักดันให้ประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในประชาคมยุโรป ลดการอุดหนุนผู้ผลิตน้ำตาลทรายภายในประเทศซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความเป็นจริง อันส่งผลให้อุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายของไทยต้องประสบปัญหา ทางการค้ามาโดยตลอด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-