แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานอัยการสูงสุด
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
สำนักงบประมาณ
กรมการปกครอง
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พ.ศ. …. ของกระทรวงยุติธรรมเสร็จแล้ว โดยกระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด กรมการปกครอง และสำนักงบประมาณ ได้มีหนังสือยืนยัน ให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า เนื่องจากในปัจจุบันพยานในคดีอาญายังไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควรทั้งที่พยานมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ ทำให้การมาเป็นพยาน อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างการ เสรีภาพ หรือทรัพย์สินของพยานตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นผล ให้พยานเกิดความเกรงกลัวและไม่ให้ความร่วมมือต่อกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้พยานยังไม่ได้รับการ ปฏิบัติที่เหมาะสมและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการมาเป็นพยานอีกด้วย จึงสมควรมีกฎหมายเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองพยานในคดีอาญา ให้มีการปฏิบัติที่เหมาะสม รวมทั้งให้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นและสมควรแก่พยาน โดยมีหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่คุ้มครองพยานโดยตรงเป็นผู้ดำเนินการ และโดยที่มาตรา 244 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นพยานในคดีอาญามีสิทธิได้รับความคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสมและค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญา จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีหลักการ ดังนี้
1. กำหนดให้บุคคลที่รู้เห็นข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์เป็นพยานในคดีอาญา เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งก่อน ขณะ และหลังมาเป็นพยาน และให้คุ้มครองถึงสามี ภริยา ผู้บุพการี และผู้สืบสันดานของพยานด้วย
2. กำหนดให้การเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่พยานพึงได้รับตามกฎหมายอื่น
3. กำหนดให้เป็นหน้าที่ของบุคคลในการที่จะมาเป็นพยาน และให้ถือว่าการมาเป็นพยานของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ รวมถึงพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานเอกชน เป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามหน้าที่
4. กำหนดให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการสืบพยานเด็กมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่พยานเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีหรือหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ
5. กำหนดให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการอาจมีคำสั่งให้กันผู้ต้องหาคนหนึ่งคนใดไว้เป็นพยานได้
6. กำหนดให้พยานได้รับความคุ้มครอง โดย
(ก) กรณีที่พยานสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นและจำเป็นต้องมีล่าม ให้มีการจัดหาล่ามให้ และให้ล่ามนั้นได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พัก
(ข) พยานซึ่งอาจได้รับอันตรายหรือเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย มีสิทธิคัดค้านหรือโต้แย้งการปล่อยชั่วคราวนั้น
(ค) กำหนดมาตรการที่จะมิให้มีการเผชิญหน้าระหว่างพยานหรือผู้เสียหาย กับผู้ต้องหรือจำเลย ได้แก่การสอบปากคำพยานในชั้นสอบสวน หรือการสืบพยานในชั้นศาล โดยใช้โทรศัพท์วงจรปิดหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการยืนยันตัวผู้กระทำผิดในชั้นจับกุม หรือการชี้ตัวผู้ต้องหาในสถานที่ที่เหมาะสม และสามารถป้องกันมิให้ผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยาน
(ง) ให้พยานอยู่ในความคุ้มครองของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
(จ) ให้พยานอยู่ในความคุ้มครองตามมาตรการพิเศษ เช่น การจัดหาที่พักอันเหมาะสมแก่สถานะและสภาพของพยาน การจ่ายค่าเลี้ยงชีพที่สมควร หรือการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล และหลักฐานทางทะเบียนต่าง ๆ เป็นต้น โดยกำหนดให้คุ้มครองถึงสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลที่พยานร้องขอด้วย
(ฉ) กำหนดโทษแก่ผู้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับพยานและกำหนดโทษหนักขึ้นแก่ผู้ที่กระทำผิดอาญาแก่พยาน เพราะเหตุที่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดานน่าจะมา มา หรือได้มาเป็นพยาน
7. กำหนดให้พยานได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม
(ก) การให้เกียรติแก่พยานในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การตรงต่อเวลา และการถามพยาน เป็นต้น (ข) การตรวจตัวหรือการสอบคำให้การพยานซึ่งเป็นหญิงในชั้นสอบสวน ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศต้องกระทำโดยพนักงานหรือผู้สอบสวนซึ่งเป็นหญิง
8. กำหนดให้พยานได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควร
(ก) กรณีที่เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือทรัพย์สิน เนื่องจากการจะมา มา หรือได้มาเป็นพยาน
(ข) กรณีที่พยานได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนหรือเบิกความต่อศาล
9. กำหนดโทษแก่ผู้ที่กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางการดำเนินกระบวนการยุติธรรม
10. กำหนดให้กระทรวงยุติธรรมมีอำนาจกำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยาน ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
11. กำหนดให้กระทรวงยุติธรรมมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้มีอำนาจดำเนินคดีตามที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด
12. กำหนดให้การอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าพนักงานสอบสวน สำนักงานคุ้มครองพยาน หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือคดีที่บุคคลนั้นต้องมาเป็นพยาน
13. ให้จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยานขึ้นในกระทรวงยุติธรรมภายใน 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยาน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการ โดยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความปลอดภัย การปฏิบัติที่เหมาะสม การคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ รวมทั้งประสานการปฏิบัติงานและข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
14. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า เนื่องจากในปัจจุบันพยานในคดีอาญายังไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควรทั้งที่พยานมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ ทำให้การมาเป็นพยาน อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างการ เสรีภาพ หรือทรัพย์สินของพยานตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นผล ให้พยานเกิดความเกรงกลัวและไม่ให้ความร่วมมือต่อกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้พยานยังไม่ได้รับการ ปฏิบัติที่เหมาะสมและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการมาเป็นพยานอีกด้วย จึงสมควรมีกฎหมายเฉพาะ เพื่อให้ความคุ้มครองพยานในคดีอาญา ให้มีการปฏิบัติที่เหมาะสม รวมทั้งให้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นและสมควรแก่พยาน โดยมีหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่คุ้มครองพยานโดยตรงเป็นผู้ดำเนินการ และโดยที่มาตรา 244 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นพยานในคดีอาญามีสิทธิได้รับความคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสมและค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญา จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีหลักการ ดังนี้
1. กำหนดให้บุคคลที่รู้เห็นข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์เป็นพยานในคดีอาญา เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งก่อน ขณะ และหลังมาเป็นพยาน และให้คุ้มครองถึงสามี ภริยา ผู้บุพการี และผู้สืบสันดานของพยานด้วย
2. กำหนดให้การเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่พยานพึงได้รับตามกฎหมายอื่น
3. กำหนดให้เป็นหน้าที่ของบุคคลในการที่จะมาเป็นพยาน และให้ถือว่าการมาเป็นพยานของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ รวมถึงพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานเอกชน เป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามหน้าที่
4. กำหนดให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการสืบพยานเด็กมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่พยานเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีหรือหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ
5. กำหนดให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการอาจมีคำสั่งให้กันผู้ต้องหาคนหนึ่งคนใดไว้เป็นพยานได้
6. กำหนดให้พยานได้รับความคุ้มครอง โดย
(ก) กรณีที่พยานสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นและจำเป็นต้องมีล่าม ให้มีการจัดหาล่ามให้ และให้ล่ามนั้นได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พัก
(ข) พยานซึ่งอาจได้รับอันตรายหรือเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย มีสิทธิคัดค้านหรือโต้แย้งการปล่อยชั่วคราวนั้น
(ค) กำหนดมาตรการที่จะมิให้มีการเผชิญหน้าระหว่างพยานหรือผู้เสียหาย กับผู้ต้องหรือจำเลย ได้แก่การสอบปากคำพยานในชั้นสอบสวน หรือการสืบพยานในชั้นศาล โดยใช้โทรศัพท์วงจรปิดหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการยืนยันตัวผู้กระทำผิดในชั้นจับกุม หรือการชี้ตัวผู้ต้องหาในสถานที่ที่เหมาะสม และสามารถป้องกันมิให้ผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยาน
(ง) ให้พยานอยู่ในความคุ้มครองของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
(จ) ให้พยานอยู่ในความคุ้มครองตามมาตรการพิเศษ เช่น การจัดหาที่พักอันเหมาะสมแก่สถานะและสภาพของพยาน การจ่ายค่าเลี้ยงชีพที่สมควร หรือการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล และหลักฐานทางทะเบียนต่าง ๆ เป็นต้น โดยกำหนดให้คุ้มครองถึงสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลที่พยานร้องขอด้วย
(ฉ) กำหนดโทษแก่ผู้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับพยานและกำหนดโทษหนักขึ้นแก่ผู้ที่กระทำผิดอาญาแก่พยาน เพราะเหตุที่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดานน่าจะมา มา หรือได้มาเป็นพยาน
7. กำหนดให้พยานได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม
(ก) การให้เกียรติแก่พยานในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การตรงต่อเวลา และการถามพยาน เป็นต้น (ข) การตรวจตัวหรือการสอบคำให้การพยานซึ่งเป็นหญิงในชั้นสอบสวน ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศต้องกระทำโดยพนักงานหรือผู้สอบสวนซึ่งเป็นหญิง
8. กำหนดให้พยานได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควร
(ก) กรณีที่เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือทรัพย์สิน เนื่องจากการจะมา มา หรือได้มาเป็นพยาน
(ข) กรณีที่พยานได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนหรือเบิกความต่อศาล
9. กำหนดโทษแก่ผู้ที่กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางการดำเนินกระบวนการยุติธรรม
10. กำหนดให้กระทรวงยุติธรรมมีอำนาจกำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยาน ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
11. กำหนดให้กระทรวงยุติธรรมมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้มีอำนาจดำเนินคดีตามที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด
12. กำหนดให้การอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าพนักงานสอบสวน สำนักงานคุ้มครองพยาน หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือคดีที่บุคคลนั้นต้องมาเป็นพยาน
13. ให้จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยานขึ้นในกระทรวงยุติธรรมภายใน 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยาน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการ โดยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความปลอดภัย การปฏิบัติที่เหมาะสม การคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ รวมทั้งประสานการปฏิบัติงานและข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
14. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-