ทำเนียบรัฐบาล--2 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. รับทราบภาพรวมของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานในช่วงปี พ.ศ.2543-2549 ประมาณ 1,086,090 ล้านบาท ประกอบด้วยการลงทุนภาครัฐ จำนวน 890,334 ล้านบาท ภาคเอกชน จำนวน 195,756 ล้านบาท ซึ่งสามารถจัดกลุ่มโครงการ จำนวน 95 โครงการ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กลุ่มโครงการที่ควรเร่งรัดผลักดันให้แล้วเสร็จ จำนวน 34 โครงการ วงเงิน 389,640 ล้านบาท
2) กลุ่มโครงการที่ควรสนับสนุนให้เริ่มดำเนินการ จำนวน 44 โครงการ วงเงิน 383,380 ล้านบาท
3) กลุ่มโครงการที่มีประเด็นเพื่อสร้างความชัดเจนหรือพิจารณาทบทวน จำนวน 17 โครงการ วงเงิน 313,070 ล้านบาท
2. เห็นชอบให้มอบหมายหน่วยงานเจ้าของโครงการกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 1 ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตร อุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภค และการเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมเมือง โดยให้สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังสนับสนุนด้านการเงินให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
3. เห็นชอบการสนับสนุนให้เริ่มดำเนินการตามกลุ่มโครงการฯ ที่ 2 ตามข้อ 1 เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำในอนาคต การกระจายโครงสร้างพื้นฐานด้านโครงข่ายถนนและรถไฟ ระบบโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้าไปยังพื้นที่ภูมิภาคและชนบท ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนร่วมและการรักษาสิ่งแวดล้อมของเมืองกรุงเทพมหานครให้น่าอยู่ โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
3.1 โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือก่อสร้าง ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งรัดดำเนินการตามแผนงาน
3.2 โครงการที่อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนเร่งรัดการพิจารณาโครงการเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
3.3 โครงการที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสม ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอน ระเบียบ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ก่อนนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการ
4. สำหรับกลุ่มโครงการฯ ที่ 3 ตามข้อ 1 เห็นชอบให้ดำเนินการดังนี้
4.1 โครงการที่มีความล่าช้าในการดำเนินงานและเบิกจ่าย จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเปลี่ยนรางสายประธาน ระยะที่ 1 (สายเหนือ, สายใต้ ระยะทาง 289 กม.) ระยะที่ 2 (สายเหนือ, สายใต้ ระยะทาง 258 กม.) และระยะที่ 3 (สายใต้ ระยะทาง 244 กม.) ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาปรับแผนงานและแผนการเบิกจ่าย รวมทั้งกำหนดแนวทางการบริหารโครงการที่ชัดเจน เพื่อให้โครงการทั้งสามแล้วเสร็จตามเป้าหมาย ส่วนโครงการจัดหาเรือขุดและเรือลากจูง รวม 9 ลำ ให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่จะระบุในสัญญาก่อสร้างเรือ จำนวน 4 ลำที่เหลือ ให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
4.2 โครงการที่มีข้อผูกพันด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย และ โครงการรถไฟสายบัวใหญ่ - มุกดาหาร - นครพนม ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาความเหมาะสมของช่วงเวลาดำเนินการ โดยคำนึงถึงความพร้อมของประเทศเพื่อนบ้าน และจะต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ส่วนโครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างสตูล - เปอร์ลิส ช่วงอ่าวตำมะลัง ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาความเหมาะสมของแนวสายทาง เนื่องจากผ่านพื้นที่ป่าชายเลน และจะต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
4.3 โครงการที่มีประเด็นปัญหาในการดำเนินการ จำนวน 10 โครงการ ได้แก่
1) โครงการทางด่วนสายดาวคะนอง - บางขุนเทียน - สมุทรสาคร ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาความจำเป็นและความซ้ำซ้อนของแนวสายทางกับโครงการของกรมทางหลวงที่กำลังดำเนินการ
2) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาความชัดเจนของแนวสายทางและรูปแบบการก่อสร้าง ตอน N-1 ช่วงถนนงามวงศ์วาน - สามแยกเกษตรฯ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อกับระบบทางด่วนปัจจุบัน
3) โครงการทางด่วนสายพญาไท - พุทธมณฑล - นครปฐม ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาความจำเป็นและความซ้ำซ้อนของโครงการ
4) โครงการทางด่วนสายรามอินทรา - วงแหวนรอบนอก ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาขีดความสามารถในการลงทุนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน S1 ช่วงอาจณรงค์ - บางนา ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาลดขนาดโครงการให้เหมาะสมกับฐานะการเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
6) โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาทบทวนวงเงินลงทุนโครงการใหม่
7) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ - พระนั่งเกล้า, หัวลำโพง - บางแค) ให้สำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาดำเนินโครงการ
8) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชลบุรี - พัทยา และ
9) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายมาบตาพุด - พัทยา ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาความเหมาะสมของแนวสายทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายชุลบรี - พัทยา
10) โครงการกก - อิง - น่าน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการให้มีความสมบูรณ์ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งการทำความเข้าใจกับประชาชนและการจัดทำประชาพิจารณ์
5. ให้กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รายงานผลการดำเนินการในกลุ่มโครงการฯ ที่ 1 และกลุ่มโครงการฯ ที่ 2 ให้คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ ทราบทุก 1 เดือน สำหรับกลุ่มโครงการฯ ที่ 3 ให้นำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณา ภายใน 3 เดือน
6. อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ควรให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและการดำเนินโครงการในอนาคตด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 พฤษภาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. รับทราบภาพรวมของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานในช่วงปี พ.ศ.2543-2549 ประมาณ 1,086,090 ล้านบาท ประกอบด้วยการลงทุนภาครัฐ จำนวน 890,334 ล้านบาท ภาคเอกชน จำนวน 195,756 ล้านบาท ซึ่งสามารถจัดกลุ่มโครงการ จำนวน 95 โครงการ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กลุ่มโครงการที่ควรเร่งรัดผลักดันให้แล้วเสร็จ จำนวน 34 โครงการ วงเงิน 389,640 ล้านบาท
2) กลุ่มโครงการที่ควรสนับสนุนให้เริ่มดำเนินการ จำนวน 44 โครงการ วงเงิน 383,380 ล้านบาท
3) กลุ่มโครงการที่มีประเด็นเพื่อสร้างความชัดเจนหรือพิจารณาทบทวน จำนวน 17 โครงการ วงเงิน 313,070 ล้านบาท
2. เห็นชอบให้มอบหมายหน่วยงานเจ้าของโครงการกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 1 ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตร อุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภค และการเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมเมือง โดยให้สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังสนับสนุนด้านการเงินให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
3. เห็นชอบการสนับสนุนให้เริ่มดำเนินการตามกลุ่มโครงการฯ ที่ 2 ตามข้อ 1 เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำในอนาคต การกระจายโครงสร้างพื้นฐานด้านโครงข่ายถนนและรถไฟ ระบบโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้าไปยังพื้นที่ภูมิภาคและชนบท ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนร่วมและการรักษาสิ่งแวดล้อมของเมืองกรุงเทพมหานครให้น่าอยู่ โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
3.1 โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือก่อสร้าง ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งรัดดำเนินการตามแผนงาน
3.2 โครงการที่อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนเร่งรัดการพิจารณาโครงการเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
3.3 โครงการที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสม ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอน ระเบียบ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ก่อนนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการ
4. สำหรับกลุ่มโครงการฯ ที่ 3 ตามข้อ 1 เห็นชอบให้ดำเนินการดังนี้
4.1 โครงการที่มีความล่าช้าในการดำเนินงานและเบิกจ่าย จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเปลี่ยนรางสายประธาน ระยะที่ 1 (สายเหนือ, สายใต้ ระยะทาง 289 กม.) ระยะที่ 2 (สายเหนือ, สายใต้ ระยะทาง 258 กม.) และระยะที่ 3 (สายใต้ ระยะทาง 244 กม.) ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาปรับแผนงานและแผนการเบิกจ่าย รวมทั้งกำหนดแนวทางการบริหารโครงการที่ชัดเจน เพื่อให้โครงการทั้งสามแล้วเสร็จตามเป้าหมาย ส่วนโครงการจัดหาเรือขุดและเรือลากจูง รวม 9 ลำ ให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่จะระบุในสัญญาก่อสร้างเรือ จำนวน 4 ลำที่เหลือ ให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
4.2 โครงการที่มีข้อผูกพันด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย และ โครงการรถไฟสายบัวใหญ่ - มุกดาหาร - นครพนม ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาความเหมาะสมของช่วงเวลาดำเนินการ โดยคำนึงถึงความพร้อมของประเทศเพื่อนบ้าน และจะต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ส่วนโครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างสตูล - เปอร์ลิส ช่วงอ่าวตำมะลัง ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาความเหมาะสมของแนวสายทาง เนื่องจากผ่านพื้นที่ป่าชายเลน และจะต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
4.3 โครงการที่มีประเด็นปัญหาในการดำเนินการ จำนวน 10 โครงการ ได้แก่
1) โครงการทางด่วนสายดาวคะนอง - บางขุนเทียน - สมุทรสาคร ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาความจำเป็นและความซ้ำซ้อนของแนวสายทางกับโครงการของกรมทางหลวงที่กำลังดำเนินการ
2) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาความชัดเจนของแนวสายทางและรูปแบบการก่อสร้าง ตอน N-1 ช่วงถนนงามวงศ์วาน - สามแยกเกษตรฯ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อกับระบบทางด่วนปัจจุบัน
3) โครงการทางด่วนสายพญาไท - พุทธมณฑล - นครปฐม ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาความจำเป็นและความซ้ำซ้อนของโครงการ
4) โครงการทางด่วนสายรามอินทรา - วงแหวนรอบนอก ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาขีดความสามารถในการลงทุนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน S1 ช่วงอาจณรงค์ - บางนา ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาลดขนาดโครงการให้เหมาะสมกับฐานะการเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
6) โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาทบทวนวงเงินลงทุนโครงการใหม่
7) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ - พระนั่งเกล้า, หัวลำโพง - บางแค) ให้สำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาดำเนินโครงการ
8) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชลบุรี - พัทยา และ
9) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายมาบตาพุด - พัทยา ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาความเหมาะสมของแนวสายทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายชุลบรี - พัทยา
10) โครงการกก - อิง - น่าน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการให้มีความสมบูรณ์ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งการทำความเข้าใจกับประชาชนและการจัดทำประชาพิจารณ์
5. ให้กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รายงานผลการดำเนินการในกลุ่มโครงการฯ ที่ 1 และกลุ่มโครงการฯ ที่ 2 ให้คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ ทราบทุก 1 เดือน สำหรับกลุ่มโครงการฯ ที่ 3 ให้นำเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณา ภายใน 3 เดือน
6. อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ควรให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและการดำเนินโครงการในอนาคตด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 พฤษภาคม 2543--