คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามความเห็นของคณะทำงานพิจารณาเรื่องวันหยุดชดเชยของทางราชการเสนอ เกี่ยวกับวันหยุดชดเชยของทางราชการ ซึ่งได้พิจารณาศึกษาผลกระทบด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และการพาณิชย์ ดังนี้
1. โดยที่ประเทศไทยยังไม่พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐทุกคนควรจะทุ่มเทการทำงานให้เต็มที่และเสียสละเพื่อประเทศชาติ เพราะวันหยุดราชการหลายวันจะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีผลกระทบทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และการพาณิชย์ เพราะปัจจุบันจะมีวันหยุดราชการประจำปีมากอยู่แล้ว และวันหยุดดังกล่าวเป็นวันสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งควรต้องคงความสำคัญไว้
2. สำหรับวันหยุดราชการประจำปีวันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ สมควรให้คงหลักการให้มีวันหยุดชดเชยไว้ โดยให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันนั้นไปหยุดในวันทำการถัดไป แต่ทั้งนี้ไม่ให้หยุดชดเชยเกิน 1 วันทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใข้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
3. เนื่องจากเรื่องนี้มีปัญหาที่เกี่ยวข้องสำคัญประการหนึ่ง กล่าวคือ มีข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ จำนวนหนึ่งใช้สิทธิการลาก่อน - หลังวันหยุดราชการประจำปี เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ด้วย ทำให้ไม่ต้องปฏิบัติราชการติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวัน ดังนั้น จึงสมควรกำหนดเป็นมาตรการเพิ่มเติมให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐถือเป็นนโยบายที่เข้มงวดกับการลาก่อน - หลังวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ วันหยุดชดเชย และวันหยุดราชการประจำปี หากไม่มีเหตุผลอันสมควรไม่ให้มีการอนุญาตการลา และให้ถือว่าข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ประสงค์จะใช้สิทธิการลาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นผู้ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
อนึ่ง สำหรับรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ หากต้องดำเนินการตามนโยบายในเรื่องนี้ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรที่กำกับดูแลรับไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปด้วย
ทั้งนี้ คณะทำงานพิจารณาเรื่องวันหยุดชดเชยของทางราชการ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ศึกษาเปรียบเทียบวันทำงาน วันหยุดของลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 พนักงานสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2522 กำหนดเวลาทำงาน วันหยุดราชการประจำสัปดาห์ และวันหยุดราชการประจำปีของข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งความเป็นมาเกี่ยวกับวันหยุดชดเชยของทางราชการ และได้ศึกษาเปรียบเทียบวันหยุดของประเทศต่าง ๆ แล้ว ปรากฏว่า ในหลายประเทศมีวันหยุดประจำปีน้อยกว่าประเทศไทย และบางประเทศจะไม่มีวันหยุดชดเชย ในประเทศที่มีวันหยุดชดเชยโดยทั่วไปจะกำหนดให้มีวันหยุดรวมทั้งหมดไม่เกิน 3 วัน ในขณะที่ประเทศไทยมีวันหยุดราชการประจำปี จำนวน 16 วันต่อปี สำหรับกรณีที่มีวันหยุดราชการประจำปีหรือในช่วงเทศกาลตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ในแต่ละปี เมื่อมีการชดเชยแล้ว ส่วนใหญ่จะหยุดต่อเนื่องกันไม่เกิน 4 วัน เว้นแต่ช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ที่มีวันหยุดราชการประจำปีรวม 3 วัน เมื่อรวมกับวันหยุดชดเชยแล้วส่วนใหญ่จะมีวันหยุดราชการติดต่อกันรวมเป็นเวลา 5 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
1. โดยที่ประเทศไทยยังไม่พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐทุกคนควรจะทุ่มเทการทำงานให้เต็มที่และเสียสละเพื่อประเทศชาติ เพราะวันหยุดราชการหลายวันจะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีผลกระทบทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และการพาณิชย์ เพราะปัจจุบันจะมีวันหยุดราชการประจำปีมากอยู่แล้ว และวันหยุดดังกล่าวเป็นวันสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งควรต้องคงความสำคัญไว้
2. สำหรับวันหยุดราชการประจำปีวันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ สมควรให้คงหลักการให้มีวันหยุดชดเชยไว้ โดยให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันนั้นไปหยุดในวันทำการถัดไป แต่ทั้งนี้ไม่ให้หยุดชดเชยเกิน 1 วันทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใข้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
3. เนื่องจากเรื่องนี้มีปัญหาที่เกี่ยวข้องสำคัญประการหนึ่ง กล่าวคือ มีข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ จำนวนหนึ่งใช้สิทธิการลาก่อน - หลังวันหยุดราชการประจำปี เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ด้วย ทำให้ไม่ต้องปฏิบัติราชการติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวัน ดังนั้น จึงสมควรกำหนดเป็นมาตรการเพิ่มเติมให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐถือเป็นนโยบายที่เข้มงวดกับการลาก่อน - หลังวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ วันหยุดชดเชย และวันหยุดราชการประจำปี หากไม่มีเหตุผลอันสมควรไม่ให้มีการอนุญาตการลา และให้ถือว่าข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ประสงค์จะใช้สิทธิการลาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นผู้ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
อนึ่ง สำหรับรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ หากต้องดำเนินการตามนโยบายในเรื่องนี้ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรที่กำกับดูแลรับไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปด้วย
ทั้งนี้ คณะทำงานพิจารณาเรื่องวันหยุดชดเชยของทางราชการ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ศึกษาเปรียบเทียบวันทำงาน วันหยุดของลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 พนักงานสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2522 กำหนดเวลาทำงาน วันหยุดราชการประจำสัปดาห์ และวันหยุดราชการประจำปีของข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งความเป็นมาเกี่ยวกับวันหยุดชดเชยของทางราชการ และได้ศึกษาเปรียบเทียบวันหยุดของประเทศต่าง ๆ แล้ว ปรากฏว่า ในหลายประเทศมีวันหยุดประจำปีน้อยกว่าประเทศไทย และบางประเทศจะไม่มีวันหยุดชดเชย ในประเทศที่มีวันหยุดชดเชยโดยทั่วไปจะกำหนดให้มีวันหยุดรวมทั้งหมดไม่เกิน 3 วัน ในขณะที่ประเทศไทยมีวันหยุดราชการประจำปี จำนวน 16 วันต่อปี สำหรับกรณีที่มีวันหยุดราชการประจำปีหรือในช่วงเทศกาลตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ในแต่ละปี เมื่อมีการชดเชยแล้ว ส่วนใหญ่จะหยุดต่อเนื่องกันไม่เกิน 4 วัน เว้นแต่ช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ที่มีวันหยุดราชการประจำปีรวม 3 วัน เมื่อรวมกับวันหยุดชดเชยแล้วส่วนใหญ่จะมีวันหยุดราชการติดต่อกันรวมเป็นเวลา 5 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-