ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
รายงานสถานภาพการจัดการทรัพยากรน้ำโครงการเขื่อนทดน้ำบางประกง (และแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ (บางปะกง : เขื่อนทดน้ำบางปะกง)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานภาพ และปัญหาของเขื่อนทดน้ำบางปะกง และให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางปะกง เขื่อนทดน้ำบางปะกง ในส่วนการปรับขยายแผนงานโครงการจากเดิม 9 ปี (พ.ศ. 2536 - 2544) เป็น 14 ปี (พ.ศ. 2536 - 2549) ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับ เพื่อดำเนินการตามแผนการแก้ไขผลกระทบด้านชลศาสตร์ และการกัดเซาะตลิ่ง เพื่อให้การดำเนินการของโครงการบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้
สำหรับแผนปฏิบัติการโครงการนี้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นชอบ โดยที่กระทรวงวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมีความเห็นเพิ่มเติม ส่วนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณก็เห็นชอบด้วยในหลักการ โดยให้นำแผนการดังกล่าวไปพิจารณาทบทวนในรายละเอียด แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. สภาพปัญหาที่เกิดหลังจากการเปิดใช้งานเขื่อนทดน้ำบางปะกง ช่วงน้ำลงกับปัญหาน้ำจืด ในขณะที่น้ำทะเลลดต่ำลงน้ำในแม่น้ำบางปะกงจะไหลลงสู่ทะเล ทำให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนลดลงต่ำจากปกติธรรมชาติของแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเมื่อระดับน้ำลดลงต่ำจากปกติมากก็จะทำให้เกิดการพังทลายของตลิ่ง 2 ฝั่งแม่น้ำบางปะกง โดยที่สาเหตุอาจจะเกิดมาจาการที่ปิดบานระบายเขื่อนแล้วเป็นการกระตุ้น ทำให้เกิดการพังทลายเร็วขึ้นจากปกติซึ่งเกิดเป็นประจำอยู่แล้วก็ได้ จะต้องระบายน้ำจืดด้านเหนือเขื่อนเป็นปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาน้ำจืดที่เก็บสำรองไว้ด้านเหนือเขื่อนไม่เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในขณะที่น้ำทะเลขึ้นอิทธิพลของน้ำทะลจะผลักดันให้น้ำไหลย้อนกลับเข้ามาในลำน้ำแม่น้ำบางปะกง และเมื่อมีการปิดบานระบายเขื่อนทำให้น้ำในแม่น้ำบางปะกงไม่สามารถไหลย้อนผ่านตัวเขื่อนขึ้นไปได้จึงทำให้ระดับน้ำในบางปะกงด้านท้ายเขื่อนยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำปกติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหากับราษฎรที่อยู่ติดริมแม่น้ำบางปะกงบางรายที่มีพื้นที่ดินต่ำกว่าระดับปกติ น้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกงจะไหลเข้าท่วมพื้นที่สวนของราษฎร
2. สถานภาพปัจจุบัน เขื่อนทดน้ำบางปะกงเกิดผลกระทบอันสืบเนื่องมาจากการเปิด - ปิดประตูเขื่อนทดน้ำบางปะกง ก่อให้เกิดผลกระทบคือ ช่วงน้ำลงเกิดการพังทลายของตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำบางปะกง และช่วงน้ำขึ้นเกิดปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกด้านท้ายเขื่อน หากไม่ทำการเปิดบานระบายเพื่อยอมให้น้ำเค็มไหลย้อนขึ้นสู่พื้นที่เหนือเขื่อน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงให้กรมชลประทานปรับปรุงแก้ไขโครงการเพื่อบรรเทาภัยธรรมชาติ อันเนื่องจากพฤติกรรมโดยธรรมชาติของแม่น้ำในพื้นที่ราบต่ำ และที่อยู่ติดกับทะเล โดยกรมชลประทานศึกษาและจัดทำแผนแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำบางปะกง และอาคารประกอบ เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยธรรมชาติของแม่น้ำบางปะกง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางปะกง โครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมได้รับอนุมัติระยะเวลาก่อสร้างโครงการ 9 ปี (พ.ศ. 2536 - 2544)วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 4,332 ล้านบาท โดยจำแนกรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามแผนงานโครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง ดังนี้
2.1 ระยะที่ 1 เป็นช่วงระยะเวลาก่อสร้างตัวเขื่อนทดน้ำบางปะกง ปีงบประมาณ 2536 - 2543กิจกรรมหลัก ก่อสร้างเขื่อนทดน้ำบางปะกง ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม สถานีสูบน้ำ ระบบควบคุมและระบบไฟฟ้า
2.2 ระยะที่ 2 เป็นช่วงระยะเวลาก่อสร้างระบบส่งน้ำ ปีงบประมาณ 2541 - 2543 กิจกรรมหลัก คลองส่งน้ำสายใหญ่ ช่วงที่ 1 ยาว 3.50 กิโลเมตร คลองซอยสาย 1 ซ้าย ความยาวประมาณ 4.430 กิโลเมตร ปีงบประมาณ 2542 - 2545 กิจกรรมหลักคลองส่งน้ำสายใหญ่ ช่วงที่ 2 ยาว 25.345 กิโลเมตร
2.3 ระยะที่ 3 แผนงานในอนาคต : การปรับขยายแผนงานโครงการภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับปีงบประมาณ 2544 - 2549 แผนการแก้ไขผลกระทบด้านชลศาสตร์ การกัดเซาะตลิ่ง ติดตั้งระบบโทรมาตรด้านเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเพิ่มเติม เสริมคันกั้นน้ำป้องกันตลิ่งบริเวณที่เกิดปัญหา ปรับปรุงตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำบางปะกงบริเวณที่เกิดความเสียหาย ขุดลอกปรับปรุงคลองธรรมชาติเพื่อเพิ่มการกักเก็บน้ำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-
รายงานสถานภาพการจัดการทรัพยากรน้ำโครงการเขื่อนทดน้ำบางประกง (และแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ (บางปะกง : เขื่อนทดน้ำบางปะกง)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานภาพ และปัญหาของเขื่อนทดน้ำบางปะกง และให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางปะกง เขื่อนทดน้ำบางปะกง ในส่วนการปรับขยายแผนงานโครงการจากเดิม 9 ปี (พ.ศ. 2536 - 2544) เป็น 14 ปี (พ.ศ. 2536 - 2549) ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับ เพื่อดำเนินการตามแผนการแก้ไขผลกระทบด้านชลศาสตร์ และการกัดเซาะตลิ่ง เพื่อให้การดำเนินการของโครงการบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้
สำหรับแผนปฏิบัติการโครงการนี้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นชอบ โดยที่กระทรวงวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมีความเห็นเพิ่มเติม ส่วนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณก็เห็นชอบด้วยในหลักการ โดยให้นำแผนการดังกล่าวไปพิจารณาทบทวนในรายละเอียด แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. สภาพปัญหาที่เกิดหลังจากการเปิดใช้งานเขื่อนทดน้ำบางปะกง ช่วงน้ำลงกับปัญหาน้ำจืด ในขณะที่น้ำทะเลลดต่ำลงน้ำในแม่น้ำบางปะกงจะไหลลงสู่ทะเล ทำให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนลดลงต่ำจากปกติธรรมชาติของแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเมื่อระดับน้ำลดลงต่ำจากปกติมากก็จะทำให้เกิดการพังทลายของตลิ่ง 2 ฝั่งแม่น้ำบางปะกง โดยที่สาเหตุอาจจะเกิดมาจาการที่ปิดบานระบายเขื่อนแล้วเป็นการกระตุ้น ทำให้เกิดการพังทลายเร็วขึ้นจากปกติซึ่งเกิดเป็นประจำอยู่แล้วก็ได้ จะต้องระบายน้ำจืดด้านเหนือเขื่อนเป็นปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาน้ำจืดที่เก็บสำรองไว้ด้านเหนือเขื่อนไม่เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในขณะที่น้ำทะเลขึ้นอิทธิพลของน้ำทะลจะผลักดันให้น้ำไหลย้อนกลับเข้ามาในลำน้ำแม่น้ำบางปะกง และเมื่อมีการปิดบานระบายเขื่อนทำให้น้ำในแม่น้ำบางปะกงไม่สามารถไหลย้อนผ่านตัวเขื่อนขึ้นไปได้จึงทำให้ระดับน้ำในบางปะกงด้านท้ายเขื่อนยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำปกติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหากับราษฎรที่อยู่ติดริมแม่น้ำบางปะกงบางรายที่มีพื้นที่ดินต่ำกว่าระดับปกติ น้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกงจะไหลเข้าท่วมพื้นที่สวนของราษฎร
2. สถานภาพปัจจุบัน เขื่อนทดน้ำบางปะกงเกิดผลกระทบอันสืบเนื่องมาจากการเปิด - ปิดประตูเขื่อนทดน้ำบางปะกง ก่อให้เกิดผลกระทบคือ ช่วงน้ำลงเกิดการพังทลายของตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำบางปะกง และช่วงน้ำขึ้นเกิดปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกด้านท้ายเขื่อน หากไม่ทำการเปิดบานระบายเพื่อยอมให้น้ำเค็มไหลย้อนขึ้นสู่พื้นที่เหนือเขื่อน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงให้กรมชลประทานปรับปรุงแก้ไขโครงการเพื่อบรรเทาภัยธรรมชาติ อันเนื่องจากพฤติกรรมโดยธรรมชาติของแม่น้ำในพื้นที่ราบต่ำ และที่อยู่ติดกับทะเล โดยกรมชลประทานศึกษาและจัดทำแผนแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำบางปะกง และอาคารประกอบ เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยธรรมชาติของแม่น้ำบางปะกง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางปะกง โครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมได้รับอนุมัติระยะเวลาก่อสร้างโครงการ 9 ปี (พ.ศ. 2536 - 2544)วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 4,332 ล้านบาท โดยจำแนกรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามแผนงานโครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง ดังนี้
2.1 ระยะที่ 1 เป็นช่วงระยะเวลาก่อสร้างตัวเขื่อนทดน้ำบางปะกง ปีงบประมาณ 2536 - 2543กิจกรรมหลัก ก่อสร้างเขื่อนทดน้ำบางปะกง ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม สถานีสูบน้ำ ระบบควบคุมและระบบไฟฟ้า
2.2 ระยะที่ 2 เป็นช่วงระยะเวลาก่อสร้างระบบส่งน้ำ ปีงบประมาณ 2541 - 2543 กิจกรรมหลัก คลองส่งน้ำสายใหญ่ ช่วงที่ 1 ยาว 3.50 กิโลเมตร คลองซอยสาย 1 ซ้าย ความยาวประมาณ 4.430 กิโลเมตร ปีงบประมาณ 2542 - 2545 กิจกรรมหลักคลองส่งน้ำสายใหญ่ ช่วงที่ 2 ยาว 25.345 กิโลเมตร
2.3 ระยะที่ 3 แผนงานในอนาคต : การปรับขยายแผนงานโครงการภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับปีงบประมาณ 2544 - 2549 แผนการแก้ไขผลกระทบด้านชลศาสตร์ การกัดเซาะตลิ่ง ติดตั้งระบบโทรมาตรด้านเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเพิ่มเติม เสริมคันกั้นน้ำป้องกันตลิ่งบริเวณที่เกิดปัญหา ปรับปรุงตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำบางปะกงบริเวณที่เกิดความเสียหาย ขุดลอกปรับปรุงคลองธรรมชาติเพื่อเพิ่มการกักเก็บน้ำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-