คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรายงานการตรวจราชการเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2548 สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์และการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดจันทบุรี
1.1 ปัจจุบันสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่เบาบางลง โดยเดิมมีพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง 565,217 ไร่ ในพื้นที่ 9 อำเภอ (อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ อำเภอมะขาม อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอสอยดาว) 1 กิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ) ซึ่งประกอบไปด้วย 40 ตำบล 243 หมู่บ้าน เหลือเพียงพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง 53,451 ไร่ ในพื้นที่ 3 อำเภอ (อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอสอยดาว) 1 กิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ) ซึ่งประกอบไปด้วย 29 ตำบล 308 หมู่บ้าน
1.2 ในพื้นที่ที่ยังเกิดภัยแล้ง 3 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นสวนผลไม้ และจังหวัดได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนในพื้นที่ โดยตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2548 จังหวัดได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค 53,046,903 ลิตร แจกจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร 1,875,000 ลิตร ก่อสร้างฝายชั่วคราว (ฝายกระสอบดิน) 1,983 แห่ง ขุดลอกบ่อ 348 แห่ง ขุดบ่อน้ำตื้น 105 บ่อ เป่าล้างบ่อบาดาล 222 บ่อ
1.3 ในการประชุมเพื่อรับฟังสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข ได้มีการเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว จาก สส.ในพื้นที่ และโครงการของจังหวัดหลายโครงการ ดังนี้
1) โครงการวางท่อกระจายน้ำจากโรงสูบน้ำขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตั้งอยู่ในเขตตำบลแสลง อำเภอเมืองจันทบุรี เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนมีน้ำอุปโภค บริโภคได้อย่างทั่วถึง
2) โครงการปรับปรุงและเปลี่ยนฝายยางกั้นแม่น้ำจันทบุรี เนื่องจากเมื่อระดับน้ำหน้าฝายยางลดต่ำกว่า 65 เซนติเมตร จะไม่สามารถสูบน้ำเข้าตัวฝายให้พองตัวเพื่อกันน้ำเค็มได้ ประกอบกับฝายยางเก่าชำรุดและรั่ว ซึ่งหากฝายยางยุบตัวน้ำเค็มข้ามฝายยางได้จะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง จะไม่มีน้ำผลิตน้ำประปา และส่งผลกระทบต่อพื้นที่สวนผลไม้ตลอดสองฝั่งแม่น้ำจันทบุรีไม่น้อยกว่า 13 กิโลเมตร
3) โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองประแกด ตำบลพบวา อำเภอแก่งหางแมว
4) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
5) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง บ้านแถวคลอง ตำบลเกวียนหัก ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบ
6) โครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำสู่พื้นที่ทางการเกษตร ในพื้นที่ระบบชลประทานฝั่งตะวันออก
7) โครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นบ้านน้ำขุ่น ตำบลคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ ซึ่งจะมีรูปแบบรายการพร้อมก่อสร้างได้ทันทีหากได้รับงบประมาณ
8) โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำทุ่งเบญจา ตำบลวังโตนด อำเภอนายายอาม
9) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำแพร่งกะผา ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว ซึ่งสามารถสำรวจและออกแบบดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีหากได้รับสนับสนุนงบประมาณ
10) โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองตารอง กิ่งอำเภอเขาคิชกูฏ
1.4 ในส่วนของการลงพื้นที่ ได้ออกตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ 2 จุด คือ ตรวจเยี่ยมประชาชนที่โครงการชลประทานจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของฝายยาง ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และตรวจเยี่ยม โครงการวางท่อกระจายน้ำจากโรงสูบน้ำ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตำบลแสลง อำเภอเมืองจันทบุรี ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เพียงพอต่อการเกษตรในช่วงที่มีปริมาณฝนตกน้อย
2. สถานการณ์และการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดตราด
2.1 ปัจจุบันสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่เบาบางลง โดยเดิมมีพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง 166,068 ไร่ ในพื้นที่ 5 อำเภอ (อำเภอเมืองตราด อำเภอบ่อไร่ อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ และอำเภอคลองใหญ่) 2 กิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง) ซึ่งประกอบไปด้วย 37 ตำบล 239 หมู่บ้าน เหลือเพียงพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง 20,527 ไร่ ในพื้นที่ 4 อำเภอ (อำเภอเมืองตราด อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ และอำเภอบ่อไร่) 1 กิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอเกาะช้าง) ซึ่งประกอบไปด้วย 26 ตำบล 129 หมู่บ้าน เนื่องจากได้มีการทำฝนหลวงในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 ทำให้เกิดฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีฝนตกเฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2548 ประมาณ 65.9 มิลลิเมตร และในเดือนเมษายน ณ วันที่ 21 เมษายน 2548 ประมาณ 148.4 มิลลิเมตร
2.2 ในพื้นที่ที่ยังเกิดภัยแล้งใน 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นสวนผลไม้ซึ่งอยู่บริเวณที่เนินอยู่ห่างจากลำห้วย ลำคลอง และจังหวัดได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนในพื้นที่ โดยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2548 จังหวัดได้ดำเนินการการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 3,462,000 ลิตร แจกจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 23,334,000 ลิตร สูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร (นาข้าว) จำนวน 7,700 ไร่ รวมทั้งสูบผันน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร (สวนผลไม้) จำนวน 52,800 ไร่
2.3 ในการประชุมเพื่อรับฟังสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข ได้มีการเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว จังหวัดได้เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ดังนี้
1) ก่อสร้างเขื่อนดินปิดกั้นลำคลองสะพานหิน ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ตลอดแนวชายฝั่งทะเล โดยกรมชลประทานได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว คือ กรมป่าไม้ (พื้นที่ก่อสร้างอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ) และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (และบางส่วนเป็นพื้นที่ของทางทหารและมีกับระเบิดอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเก็บกู้วัตถุระเบิดและสำรวจทางธรณีวิทยา
2) ก่อสร้างเขื่อนสะตอ และก่อสร้างฝายตามลำน้ำคลองสะตอ ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด จำนวน 5 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาการขาดแคลนน้ำของเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้ในฤดูแล้ง และป้องกันภาวะน้ำท่วมฉับพลันในฤดูฝน ปัจจุบันกรมชลประทานได้ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ และสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีหากได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
2.4 ในส่วนของการลงพื้นที่ ได้ออกตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและเยี่ยมเยียนประชาชน ในบริเวณที่ตั้งของเครื่องสูบน้ำ ซึ่งสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยแร้งสู่แม่น้ำเขาสมิง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรสวนผลไม้
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบนโยบายและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาภัยแล้งกับทั้ง 2 จังหวัด ดังนี้
1) บูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งร่วมกัน ระหว่างจังหวัด กองทัพบก กองทัพอากาศ เพื่อสนธิกำลังในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ที่ยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอยู่อย่างเร่งด่วน
2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ให้จังหวัดจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยใช้ฐานข้อมูลพื้นที่ภัยแล้งปัจจุบัน ในการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่มีความเร่งด่วนเฉพาะหน้า ที่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การขุดลอกแหล่งน้ำ ซ่อมสร้างทำนบฝาย ประตูระบายน้ำ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนต่อไป ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับนโยบายและแผนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมของประเทศ ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3) ให้จังหวัดประเมินสถานการณ์ และประชุมติดตามเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอยู่อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเฝ้าระวังในพื้นที่ที่อาจจะเกิดภัยแล้งได้
4) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะช่วยประสานงานและติดตามเร่งรัดการช่วยเหลือภัยแล้งของจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราดกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. สถานการณ์และการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดจันทบุรี
1.1 ปัจจุบันสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่เบาบางลง โดยเดิมมีพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง 565,217 ไร่ ในพื้นที่ 9 อำเภอ (อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ อำเภอมะขาม อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอสอยดาว) 1 กิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ) ซึ่งประกอบไปด้วย 40 ตำบล 243 หมู่บ้าน เหลือเพียงพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง 53,451 ไร่ ในพื้นที่ 3 อำเภอ (อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอสอยดาว) 1 กิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ) ซึ่งประกอบไปด้วย 29 ตำบล 308 หมู่บ้าน
1.2 ในพื้นที่ที่ยังเกิดภัยแล้ง 3 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นสวนผลไม้ และจังหวัดได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนในพื้นที่ โดยตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2548 จังหวัดได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค 53,046,903 ลิตร แจกจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร 1,875,000 ลิตร ก่อสร้างฝายชั่วคราว (ฝายกระสอบดิน) 1,983 แห่ง ขุดลอกบ่อ 348 แห่ง ขุดบ่อน้ำตื้น 105 บ่อ เป่าล้างบ่อบาดาล 222 บ่อ
1.3 ในการประชุมเพื่อรับฟังสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข ได้มีการเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว จาก สส.ในพื้นที่ และโครงการของจังหวัดหลายโครงการ ดังนี้
1) โครงการวางท่อกระจายน้ำจากโรงสูบน้ำขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตั้งอยู่ในเขตตำบลแสลง อำเภอเมืองจันทบุรี เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนมีน้ำอุปโภค บริโภคได้อย่างทั่วถึง
2) โครงการปรับปรุงและเปลี่ยนฝายยางกั้นแม่น้ำจันทบุรี เนื่องจากเมื่อระดับน้ำหน้าฝายยางลดต่ำกว่า 65 เซนติเมตร จะไม่สามารถสูบน้ำเข้าตัวฝายให้พองตัวเพื่อกันน้ำเค็มได้ ประกอบกับฝายยางเก่าชำรุดและรั่ว ซึ่งหากฝายยางยุบตัวน้ำเค็มข้ามฝายยางได้จะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง จะไม่มีน้ำผลิตน้ำประปา และส่งผลกระทบต่อพื้นที่สวนผลไม้ตลอดสองฝั่งแม่น้ำจันทบุรีไม่น้อยกว่า 13 กิโลเมตร
3) โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองประแกด ตำบลพบวา อำเภอแก่งหางแมว
4) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
5) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง บ้านแถวคลอง ตำบลเกวียนหัก ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบ
6) โครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำสู่พื้นที่ทางการเกษตร ในพื้นที่ระบบชลประทานฝั่งตะวันออก
7) โครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นบ้านน้ำขุ่น ตำบลคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ ซึ่งจะมีรูปแบบรายการพร้อมก่อสร้างได้ทันทีหากได้รับงบประมาณ
8) โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำทุ่งเบญจา ตำบลวังโตนด อำเภอนายายอาม
9) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำแพร่งกะผา ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว ซึ่งสามารถสำรวจและออกแบบดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีหากได้รับสนับสนุนงบประมาณ
10) โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองตารอง กิ่งอำเภอเขาคิชกูฏ
1.4 ในส่วนของการลงพื้นที่ ได้ออกตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ต่าง ๆ 2 จุด คือ ตรวจเยี่ยมประชาชนที่โครงการชลประทานจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของฝายยาง ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และตรวจเยี่ยม โครงการวางท่อกระจายน้ำจากโรงสูบน้ำ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตำบลแสลง อำเภอเมืองจันทบุรี ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เพียงพอต่อการเกษตรในช่วงที่มีปริมาณฝนตกน้อย
2. สถานการณ์และการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดตราด
2.1 ปัจจุบันสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่เบาบางลง โดยเดิมมีพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง 166,068 ไร่ ในพื้นที่ 5 อำเภอ (อำเภอเมืองตราด อำเภอบ่อไร่ อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ และอำเภอคลองใหญ่) 2 กิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง) ซึ่งประกอบไปด้วย 37 ตำบล 239 หมู่บ้าน เหลือเพียงพื้นที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง 20,527 ไร่ ในพื้นที่ 4 อำเภอ (อำเภอเมืองตราด อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ และอำเภอบ่อไร่) 1 กิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอเกาะช้าง) ซึ่งประกอบไปด้วย 26 ตำบล 129 หมู่บ้าน เนื่องจากได้มีการทำฝนหลวงในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 ทำให้เกิดฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีฝนตกเฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2548 ประมาณ 65.9 มิลลิเมตร และในเดือนเมษายน ณ วันที่ 21 เมษายน 2548 ประมาณ 148.4 มิลลิเมตร
2.2 ในพื้นที่ที่ยังเกิดภัยแล้งใน 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นสวนผลไม้ซึ่งอยู่บริเวณที่เนินอยู่ห่างจากลำห้วย ลำคลอง และจังหวัดได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนในพื้นที่ โดยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2548 จังหวัดได้ดำเนินการการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 3,462,000 ลิตร แจกจ่ายน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 23,334,000 ลิตร สูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร (นาข้าว) จำนวน 7,700 ไร่ รวมทั้งสูบผันน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร (สวนผลไม้) จำนวน 52,800 ไร่
2.3 ในการประชุมเพื่อรับฟังสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข ได้มีการเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว จังหวัดได้เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ดังนี้
1) ก่อสร้างเขื่อนดินปิดกั้นลำคลองสะพานหิน ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ตลอดแนวชายฝั่งทะเล โดยกรมชลประทานได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว คือ กรมป่าไม้ (พื้นที่ก่อสร้างอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ) และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (และบางส่วนเป็นพื้นที่ของทางทหารและมีกับระเบิดอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเก็บกู้วัตถุระเบิดและสำรวจทางธรณีวิทยา
2) ก่อสร้างเขื่อนสะตอ และก่อสร้างฝายตามลำน้ำคลองสะตอ ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด จำนวน 5 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาการขาดแคลนน้ำของเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้ในฤดูแล้ง และป้องกันภาวะน้ำท่วมฉับพลันในฤดูฝน ปัจจุบันกรมชลประทานได้ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ และสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีหากได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
2.4 ในส่วนของการลงพื้นที่ ได้ออกตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและเยี่ยมเยียนประชาชน ในบริเวณที่ตั้งของเครื่องสูบน้ำ ซึ่งสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยแร้งสู่แม่น้ำเขาสมิง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรสวนผลไม้
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบนโยบายและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาภัยแล้งกับทั้ง 2 จังหวัด ดังนี้
1) บูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งร่วมกัน ระหว่างจังหวัด กองทัพบก กองทัพอากาศ เพื่อสนธิกำลังในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ที่ยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอยู่อย่างเร่งด่วน
2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ให้จังหวัดจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยใช้ฐานข้อมูลพื้นที่ภัยแล้งปัจจุบัน ในการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่มีความเร่งด่วนเฉพาะหน้า ที่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การขุดลอกแหล่งน้ำ ซ่อมสร้างทำนบฝาย ประตูระบายน้ำ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนต่อไป ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับนโยบายและแผนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมของประเทศ ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3) ให้จังหวัดประเมินสถานการณ์ และประชุมติดตามเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอยู่อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเฝ้าระวังในพื้นที่ที่อาจจะเกิดภัยแล้งได้
4) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะช่วยประสานงานและติดตามเร่งรัดการช่วยเหลือภัยแล้งของจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราดกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--