คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ กรอบแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ที่ปรากฏในรายงาน "การพัฒนามนุษย์ ค.ศ. 1994" ของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (UNDP) โดยมีเป้าหมายเกี่ยวกับมนุษย์ 2 ประการ คือ 1) มนุษย์ทุกคนจะต้องปลอดจากความกลัว (Freedom from fear) 2) ปลอดจากความขาดแคลนหรือความต้องการ (Freedom from want) ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดความมั่นคงของชาติ อันประกอบด้วยรัฐและดินแดนมาเป็นความมั่นคงของประชาชนในฐานะองค์กรประกอบพื้นฐานของชาติ โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการผลักดันแนวคิดใหม่ เรื่อง ความมั่นคงของมนุษย์ในการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการจัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรม และความเสมอภาคในสังคมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ และความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัวและชุมชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ ตามแนวคิดทฤษฎีในประเทศและต่างประเทศร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ความหมาย ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) หมายถึง การที่ประชาชนได้รับหลักประกันด้านสิทธิ ความปลอดภัย การสนองตอบต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ตลอดจนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ประกอบด้วย ความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 10 มิติ ตามแนวทาง ดังนี้
1) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการมีงานทำและรายได้ ประกอบด้วย (1) การได้ทำงานที่มั่นคงและมีความสุขหรือพอใจในงาน (2) มีรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว (3) มีเงินออมที่พอเพียงสำหรับอนาคต (4) ปราศจากหนี้สินที่ไม่สร้างผลิตผล
2) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านครอบครัว ประกอบด้วย (1) ความรักใคร่ปรองดอง (2) ความรับผิดชอบและปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ (3) การเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน (4) การไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ
3) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสุขภาพอนามัย ประกอบด้วย (1) การมีสุขภาพกายที่ดี (2) การมีสุขภาพจิตที่ดี (3) การมีหลักประกันด้านสุขภาพอนามัยอย่างเท่าเทียมและพอเพียง (4) ประชากรไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางกายและจิต (5) การปฏิบัติตนที่มีส่วนส่งเสริมสุขภาพกายและจิต
4) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการศึกษา ประกอบด้วย (1) ประชากรได้รับโอกาสทางการศึกษา อย่างเท่าเทียม (2) การมีการศึกษาที่พอเพียงต่อการครองชีวิต (3) การได้รับการศึกษา และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
5) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ส่วนบุคคล) ประกอบด้วย (1) การปลอดจากการประทุษร้ายต่อร่างกาย (2) ความรู้สึกปลอดภัยจากการประทุษร้ายต่อร่างกาย (3) การปลอดจากการประทุษร้ายด้านทรัพย์สิน (4) ความรู้สึกปลอดจากการประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน
6) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) เพิ่มระดับการมี สิทธิครอบครองที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐาน (2) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานโดยเฉพาะน้ำสะอาดอย่างทั่วถึง(3) สิ่งแวดล้อมที่ปราศจากมลพิษทาง เสียง กลิ่น ฝุ่น ควัน
7) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิทธิและความเป็นธรรม ประกอบด้วย (1) การปลอดจากการถูกละเมิดและเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ (2) มีหลักประกันและการคุ้มครองด้านสิทธิ (3) กลไกที่แก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านสิทธิที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
8) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสังคม-วัฒนธรรม ประกอบด้วย (1) มีเวลาพักผ่อนที่ปลอดจากภารกิจที่พอเพียง (2) ใช้เวลาติดตามข่าวสารทางสังคม-วัฒนธรรม (3) มีเวลาในการทำจิตใจให้สงบ (4) มีส่วนในการปฏิศาสนกิจ (5) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มสังคมและชุมชน
9) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย (1) การมีบุคคลที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ (2) ระบบบริการสังคมที่ให้การคุ้มครองและเข้าถึงได้ในเวลาอันรวดเร็ว (3) ความรู้สึกในคุณค่าของชีวิต และความสุขในชีวิต
10) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการเมือง - ธรรมาภิบาล ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมการใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ในทุกระดับ (2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองและการรวมกลุ่มทางการเมือง (3) ส่งเสริมการติดตามข่าวสารทางการเมืองของประชากร (4) สร้างความโปร่งใส การตรวจสอบได้และความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงมิติต่าง ๆ กับความมั่นคงของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1) มิติที่สัมพันธ์กับความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมมากพอควร คือ มิติด้านครอบครัวและด้านสุขภาพอนามัย
2) มิติที่สัมพันธ์กับความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมรองลงมาคือ การมีงานทำและรายได้ การเมือง และธรรมาภิบาล ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการสนับสนุนทางสังคม
3) มิติที่สัมพันธ์กับความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมน้อย ได้แก่ ที่อยู่อาศัย การศึกษา สังคมและ วัฒนธรรม และสิทธิความเท่าเทียม
3. รายงานระดับความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งได้มาจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ด้วยเครื่องมือและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สร้างขึ้น โดยสรุปได้ดังนี้
1) กรุงเทพฯ - ปริมณฑล เป็นพื้นที่ที่มีจุดแข็งด้านการมีงานทำและรายได้ และการศึกษา
2) ประชากรวัยทำงานในภาคกลางขาดจุดแข็งในทุกมิติ ความมั่นคงส่วนใหญ่เป็นจุดอ่อนเมื่อ เปรียบเทียบกับภาคอื่น
3) ประชากรวัยทำงานในภาคอื่นมีข้อได้เปรียบในมิติต่าง ๆ โดยภาคเหนือมีข้อได้เปรียบในมิติต่าง ๆ มากกว่าภาคอื่น ๆ จะมีจุดอ่อนเพียงด้านการศึกษา จุดอ่อนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นด้านพื้นฐานการมีงานทำ รายได้และสภาพที่อยู่อาศัย ส่วนประชากรวัยทำงานในภาคใต้มีความรู้สึกว่ามิติสิทธิ ความเป็นธรรมยังคงมีปัญหา มิติที่ระดับความมั่นคงต่ำกว่าเกณฑ์ถือเป็นสิ่งที่แต่ละพื้นที่ต้องเร่งพัฒนาให้เท่าเทียมกับภูมิภาคอื่น โดยกระบวนการพัฒนาของภูมิภาคต่างต้องดำเนินไปพร้อมกัน
4. ได้พัฒนาวิธีการประมวลผลข้อมูลขึ้นเป็นดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ที่สามารถใช้ประเมินเปรียบเทียบได้ทั้งระดับบุคคลพื้นที่ในประเทศ และพื้นที่ระดับนานาชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ ตามแนวคิดทฤษฎีในประเทศและต่างประเทศร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ความหมาย ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) หมายถึง การที่ประชาชนได้รับหลักประกันด้านสิทธิ ความปลอดภัย การสนองตอบต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ตลอดจนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ประกอบด้วย ความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 10 มิติ ตามแนวทาง ดังนี้
1) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการมีงานทำและรายได้ ประกอบด้วย (1) การได้ทำงานที่มั่นคงและมีความสุขหรือพอใจในงาน (2) มีรายได้ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว (3) มีเงินออมที่พอเพียงสำหรับอนาคต (4) ปราศจากหนี้สินที่ไม่สร้างผลิตผล
2) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านครอบครัว ประกอบด้วย (1) ความรักใคร่ปรองดอง (2) ความรับผิดชอบและปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ (3) การเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน (4) การไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ
3) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสุขภาพอนามัย ประกอบด้วย (1) การมีสุขภาพกายที่ดี (2) การมีสุขภาพจิตที่ดี (3) การมีหลักประกันด้านสุขภาพอนามัยอย่างเท่าเทียมและพอเพียง (4) ประชากรไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางกายและจิต (5) การปฏิบัติตนที่มีส่วนส่งเสริมสุขภาพกายและจิต
4) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการศึกษา ประกอบด้วย (1) ประชากรได้รับโอกาสทางการศึกษา อย่างเท่าเทียม (2) การมีการศึกษาที่พอเพียงต่อการครองชีวิต (3) การได้รับการศึกษา และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
5) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ส่วนบุคคล) ประกอบด้วย (1) การปลอดจากการประทุษร้ายต่อร่างกาย (2) ความรู้สึกปลอดภัยจากการประทุษร้ายต่อร่างกาย (3) การปลอดจากการประทุษร้ายด้านทรัพย์สิน (4) ความรู้สึกปลอดจากการประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน
6) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) เพิ่มระดับการมี สิทธิครอบครองที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐาน (2) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานโดยเฉพาะน้ำสะอาดอย่างทั่วถึง(3) สิ่งแวดล้อมที่ปราศจากมลพิษทาง เสียง กลิ่น ฝุ่น ควัน
7) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิทธิและความเป็นธรรม ประกอบด้วย (1) การปลอดจากการถูกละเมิดและเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ (2) มีหลักประกันและการคุ้มครองด้านสิทธิ (3) กลไกที่แก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านสิทธิที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
8) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสังคม-วัฒนธรรม ประกอบด้วย (1) มีเวลาพักผ่อนที่ปลอดจากภารกิจที่พอเพียง (2) ใช้เวลาติดตามข่าวสารทางสังคม-วัฒนธรรม (3) มีเวลาในการทำจิตใจให้สงบ (4) มีส่วนในการปฏิศาสนกิจ (5) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มสังคมและชุมชน
9) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย (1) การมีบุคคลที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ (2) ระบบบริการสังคมที่ให้การคุ้มครองและเข้าถึงได้ในเวลาอันรวดเร็ว (3) ความรู้สึกในคุณค่าของชีวิต และความสุขในชีวิต
10) ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการเมือง - ธรรมาภิบาล ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมการใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ในทุกระดับ (2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองและการรวมกลุ่มทางการเมือง (3) ส่งเสริมการติดตามข่าวสารทางการเมืองของประชากร (4) สร้างความโปร่งใส การตรวจสอบได้และความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงมิติต่าง ๆ กับความมั่นคงของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1) มิติที่สัมพันธ์กับความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมมากพอควร คือ มิติด้านครอบครัวและด้านสุขภาพอนามัย
2) มิติที่สัมพันธ์กับความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมรองลงมาคือ การมีงานทำและรายได้ การเมือง และธรรมาภิบาล ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการสนับสนุนทางสังคม
3) มิติที่สัมพันธ์กับความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมน้อย ได้แก่ ที่อยู่อาศัย การศึกษา สังคมและ วัฒนธรรม และสิทธิความเท่าเทียม
3. รายงานระดับความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งได้มาจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ด้วยเครื่องมือและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สร้างขึ้น โดยสรุปได้ดังนี้
1) กรุงเทพฯ - ปริมณฑล เป็นพื้นที่ที่มีจุดแข็งด้านการมีงานทำและรายได้ และการศึกษา
2) ประชากรวัยทำงานในภาคกลางขาดจุดแข็งในทุกมิติ ความมั่นคงส่วนใหญ่เป็นจุดอ่อนเมื่อ เปรียบเทียบกับภาคอื่น
3) ประชากรวัยทำงานในภาคอื่นมีข้อได้เปรียบในมิติต่าง ๆ โดยภาคเหนือมีข้อได้เปรียบในมิติต่าง ๆ มากกว่าภาคอื่น ๆ จะมีจุดอ่อนเพียงด้านการศึกษา จุดอ่อนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นด้านพื้นฐานการมีงานทำ รายได้และสภาพที่อยู่อาศัย ส่วนประชากรวัยทำงานในภาคใต้มีความรู้สึกว่ามิติสิทธิ ความเป็นธรรมยังคงมีปัญหา มิติที่ระดับความมั่นคงต่ำกว่าเกณฑ์ถือเป็นสิ่งที่แต่ละพื้นที่ต้องเร่งพัฒนาให้เท่าเทียมกับภูมิภาคอื่น โดยกระบวนการพัฒนาของภูมิภาคต่างต้องดำเนินไปพร้อมกัน
4. ได้พัฒนาวิธีการประมวลผลข้อมูลขึ้นเป็นดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ที่สามารถใช้ประเมินเปรียบเทียบได้ทั้งระดับบุคคลพื้นที่ในประเทศ และพื้นที่ระดับนานาชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--