คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดเตรียมคำชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการสำหรับค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จำนวน 58,000 ล้านบาท สรุปได้ดังนี้
1. รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ประกอบกับขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเร่งรัดมาตรการสร้างรายได้ เพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกร ควบคู่ไปกับมาตรการสร้างความรู้ความสามารถให้ประชาชนในระยะยาว ดังนั้น ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จำนวน 58,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลได้เตรียมไว้แล้ว จึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ สำหรับการใช้จ่ายตามแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ คือ
1.1 สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้เกิดการจ้างงานในประเทศ
1.2 สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
1.3 เสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความรู้ ทักษะ และฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น
1.4 ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของการผลิตต่อเนื่องภายในประเทศ
1.5 สนับสนุนภาคการผลิตและบริการที่จะก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศ
2. เนื่องจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ รัฐบาลจึงได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ซึ่งในการจัดเตรียมโครงการเพื่อขอใช้เงินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง โดยจะประมวล/รวบรวมโครงการต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนงาน หรือ National Program ที่มีจุดเน้น (Focus) ชัดเจน ครบวงจร และสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง (Mass) ทุกพื้นที่ ทั้งนี้ ในเบื้องต้นรัฐบาลได้กำหนดกรอบแผนงานและการพัฒนาโครงการในสาขาที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อเนื่องถึงประชาชนโดยตรง ได้แก่
2.1 แผนงานด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในภาคการเกษตรให้มีรายได้และกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และรองรับแรงงานจากเมืองสู่ชนบท
2.2 แผนงานด้านการท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้ สร้างเงินตราต่างประเทศ สามารถส่งผลถึงประชาชนทั่วประเทศได้เร็ว
2.3 แผนงานด้านอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยการส่งออก และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศระยะยาว
2.4 แผนงานด้านชุมชน เพื่อให้คนและชุมชนทั่วประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้ง ช่วยเสริมนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.5 แผนงานด้านการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความรู้ ทักษะ ฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างโอกาสการมีงานทำ
3. ในการจัดทำแผนงานดังกล่าว รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปพิจารณาจัดเตรียมและพัฒนาโครงการให้มีความสมบูรณ์ สอดคล้องและสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์หลักของค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อมีการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าวแล้ว รัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพของคน/ชุมชนที่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาระยะยาวในระดับรากหญ้าต่อไป
อนึ่ง โครงการแห่งชาติ หรือ National Program มีเป้าหมายดังนี้1. เน้นสินค้าและพื้นที่เป้าหมาย2. ปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการหรือกิจกรรมที่ทำอยู่แล้วให้ได้คุณภาพมาตรฐาน3. สร้างเสริมอำนวยความสะดวกทางกายภาพที่ยังขาดแคลน ตลอดจนโครงข่ายเชื่อมโยงที่ยังขาดตอนอยู่4. เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านความรู้วิชาการและบริหารจัดการ5. ส่งเสริมออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับตลาด6. ดูแลบริการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น จัดระบบกำจัดขยะ และบำบัดน้ำเสียโครงการแห่งชาติดังกล่าวจะต้องครอบคลุมอยู่ในแผนงานด้านท่องเที่ยว ด้านเกษตร ด้านอุตสาหกรรมและด้านชุมชนด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-
1. รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ประกอบกับขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเร่งรัดมาตรการสร้างรายได้ เพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกร ควบคู่ไปกับมาตรการสร้างความรู้ความสามารถให้ประชาชนในระยะยาว ดังนั้น ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จำนวน 58,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลได้เตรียมไว้แล้ว จึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ สำหรับการใช้จ่ายตามแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ คือ
1.1 สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้เกิดการจ้างงานในประเทศ
1.2 สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
1.3 เสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความรู้ ทักษะ และฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น
1.4 ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของการผลิตต่อเนื่องภายในประเทศ
1.5 สนับสนุนภาคการผลิตและบริการที่จะก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศ
2. เนื่องจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ รัฐบาลจึงได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ซึ่งในการจัดเตรียมโครงการเพื่อขอใช้เงินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง โดยจะประมวล/รวบรวมโครงการต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนงาน หรือ National Program ที่มีจุดเน้น (Focus) ชัดเจน ครบวงจร และสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ในวงกว้าง (Mass) ทุกพื้นที่ ทั้งนี้ ในเบื้องต้นรัฐบาลได้กำหนดกรอบแผนงานและการพัฒนาโครงการในสาขาที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อเนื่องถึงประชาชนโดยตรง ได้แก่
2.1 แผนงานด้านการเกษตร เพื่อช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในภาคการเกษตรให้มีรายได้และกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และรองรับแรงงานจากเมืองสู่ชนบท
2.2 แผนงานด้านการท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้ สร้างเงินตราต่างประเทศ สามารถส่งผลถึงประชาชนทั่วประเทศได้เร็ว
2.3 แผนงานด้านอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยการส่งออก และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศระยะยาว
2.4 แผนงานด้านชุมชน เพื่อให้คนและชุมชนทั่วประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้ง ช่วยเสริมนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.5 แผนงานด้านการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความรู้ ทักษะ ฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างโอกาสการมีงานทำ
3. ในการจัดทำแผนงานดังกล่าว รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปพิจารณาจัดเตรียมและพัฒนาโครงการให้มีความสมบูรณ์ สอดคล้องและสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์หลักของค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อมีการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าวแล้ว รัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพของคน/ชุมชนที่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาระยะยาวในระดับรากหญ้าต่อไป
อนึ่ง โครงการแห่งชาติ หรือ National Program มีเป้าหมายดังนี้1. เน้นสินค้าและพื้นที่เป้าหมาย2. ปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการหรือกิจกรรมที่ทำอยู่แล้วให้ได้คุณภาพมาตรฐาน3. สร้างเสริมอำนวยความสะดวกทางกายภาพที่ยังขาดแคลน ตลอดจนโครงข่ายเชื่อมโยงที่ยังขาดตอนอยู่4. เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านความรู้วิชาการและบริหารจัดการ5. ส่งเสริมออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับตลาด6. ดูแลบริการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น จัดระบบกำจัดขยะ และบำบัดน้ำเสียโครงการแห่งชาติดังกล่าวจะต้องครอบคลุมอยู่ในแผนงานด้านท่องเที่ยว ด้านเกษตร ด้านอุตสาหกรรมและด้านชุมชนด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-