แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
ยาเสพติด
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2545 - 2549)ที่ปรับปรุงใหม่ ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธานกรรมการฯ และให้รับข้อคิดเห็นในประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1ไปประกอบการดำเนินการ และให้ส่งแผนดังกล่าวใช้เป็นกรอบดำเนินการของส่วนราชการและการจัดสรรงบประมาณต่อไป
ร่างแผนแม่บทฯ ที่ปรับปรุงใหม่ ได้กำหนดประเด็นต่าง ๆ มีสาระสำคัญรวม 4 เรื่อง คือ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ยุทธศาสตร์ พร้อมกับเสนอแนวทางในการจัดทำแผนงาน โครงการ และมาตรการ โดยสรุปคือ
1. วิสัยทัศน์ มุ่งให้ "คน ครอบครัว และชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีคุณธรรม มีความเอื้ออาทรมีภูมิคุ้มกัน อยู่ในสังคมที่เข้มแข็ง ปลอดจากยาเสพติด และทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทุกขั้นตอน"
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่สำคัญ ๆ คือ
1) ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกชุมชน มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด รวมทั้งมีจิตสำนึกที่จะร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน
2) ดูแล ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชน ที่ไม่เคยใช้ยาเสพติดรวมทั้งกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก เยาวชน และกลุ่มแรงงานให้ห่างไกลยาเสพติด
3) ให้ผู้ใช้ และผู้เสพติดทุกคนมีโอกาสได้รับการบำบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบที่หลากหลาย และสามารถกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุข
4) สกัดกั้น ปราบปรามผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ผู้ค้า และผู้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เด็ดขาด รวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กระทำความผิดรายใหญ่ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง หยุดยั้งความรุนแรงและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในแต่ละพื้นที่
3. ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์รวม 9 ยุทธศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 119/2544 เพื่อที่จะให้แผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การปลุกพลังแผ่นดินและการป้องกัน 2) ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและสารเคมี3) ยุทธศาสตร์การปราบปราม 4) ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ 5) ยุทธศาสตร์การข่าว6) ยุทธศาสตร์การอำนวยการและประสานงาน 7) ยุทธศาสตร์การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม8) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ 9) ยุทธศาสตร์การวิจัย พัฒนา ติดตามประเมินผล
4. แนวคิดในการจัดทำแผนงาน โครงการ และมาตรการที่มีความสำคัญสูง เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมแผนแม่บทฯ ได้เสนอแนะแนวทางการจัดทำแผนงานโครงการและมาตรการที่มีความสำคัญรองรับยุทธศาสตร์แต่ละเรื่อง
สำหรับประเด็นการอภิปรายและมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 เมื่อวันที่25 ตุลาคม 2544 ที่ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปประกอบการดำเนินการสรุปได้ดังนี้
1. ร่างแผนฯ ที่ได้ปรับปรุงครอบคลุมแนวคิดตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 119/2544 เรื่อง แนวทางการใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติดตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย และสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานตามผลการประชุมการระดมความคิดกำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติด เมื่อวันที่ 10 - 11 มีนาคม 2544 ณ จังหวัดเชียงราย
2. แนวคิดหลักของร่างแผนฯ เป็นเรื่องที่ดีและสำคัญยิ่ง โดยมุ่งการดำเนินการอย่างครบวงจร ทั้งมาตรการป้องกันด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจ การปลุกจิตสำนึกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน และกลุ่มแรงงาน ควบคู่ไปกับการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยเน้นให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การจัดตั้งสถานบำบัดให้เพียงพอ และมีระบบติดตาม ช่วยเหลือผู้รับการบำบัดฟื้นฟูให้กลับสู่สังคม รวมถึงการสกัดกั้นควบคุมตัวยาและสารเคมีตั้งแต่ชายแดน และปราบปรามขบวนการผลิต/ค้ายาเสพติด อย่างจริงจัง เด็ดขาด และรวดเร็ว โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินการอย่างชัดเจน
3. ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ ที่สำคัญคือ ผู้บริหารสูงสุดของประเทศต้องเป็นผู้นำผลักดันการปฏิบัติตามแผนอย่างจริงจัง จัดให้มีแผนปฏิบัติการที่ดี มีการประสานแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการจัดสรรงบประมาณที่ดี ขจัดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่โดยมุ่งให้ชุมชนมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับพื้นที่บริเวณชายแดนและพื้นที่ที่มีแหล่งระบาดรุนแรง จัดให้มีชุดปฏิบัติงานที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวในพื้นที่ชุมชนเมืองและชายแดนเพื่อลดระดับความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างจิตสำนึกและขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ขจัดการทุจริต คอรัปชั่น ผนึกกำลังทุกภาคส่วนในสังคมในลักษณะเครือข่ายกว้างขวางเป็นพลังของแผ่นดินปราบปรามอย่างรวดเร็วเด็ดขาดและจริงจังกับผู้ค้า ผู้ผลิตรายใหญ่ ผู้มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง และจัดการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
4. ให้การดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ประสานอย่างใกล้ชิดกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน เพื่อให้เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงบริเวณพื้นที่ชายแดน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
ร่างแผนแม่บทฯ ที่ปรับปรุงใหม่ ได้กำหนดประเด็นต่าง ๆ มีสาระสำคัญรวม 4 เรื่อง คือ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ยุทธศาสตร์ พร้อมกับเสนอแนวทางในการจัดทำแผนงาน โครงการ และมาตรการ โดยสรุปคือ
1. วิสัยทัศน์ มุ่งให้ "คน ครอบครัว และชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีคุณธรรม มีความเอื้ออาทรมีภูมิคุ้มกัน อยู่ในสังคมที่เข้มแข็ง ปลอดจากยาเสพติด และทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทุกขั้นตอน"
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่สำคัญ ๆ คือ
1) ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกชุมชน มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด รวมทั้งมีจิตสำนึกที่จะร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน
2) ดูแล ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชน ที่ไม่เคยใช้ยาเสพติดรวมทั้งกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก เยาวชน และกลุ่มแรงงานให้ห่างไกลยาเสพติด
3) ให้ผู้ใช้ และผู้เสพติดทุกคนมีโอกาสได้รับการบำบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพในรูปแบบที่หลากหลาย และสามารถกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุข
4) สกัดกั้น ปราบปรามผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ผู้ค้า และผู้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เด็ดขาด รวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กระทำความผิดรายใหญ่ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง หยุดยั้งความรุนแรงและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในแต่ละพื้นที่
3. ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์รวม 9 ยุทธศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 119/2544 เพื่อที่จะให้แผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การปลุกพลังแผ่นดินและการป้องกัน 2) ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและสารเคมี3) ยุทธศาสตร์การปราบปราม 4) ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ 5) ยุทธศาสตร์การข่าว6) ยุทธศาสตร์การอำนวยการและประสานงาน 7) ยุทธศาสตร์การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม8) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ 9) ยุทธศาสตร์การวิจัย พัฒนา ติดตามประเมินผล
4. แนวคิดในการจัดทำแผนงาน โครงการ และมาตรการที่มีความสำคัญสูง เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมแผนแม่บทฯ ได้เสนอแนะแนวทางการจัดทำแผนงานโครงการและมาตรการที่มีความสำคัญรองรับยุทธศาสตร์แต่ละเรื่อง
สำหรับประเด็นการอภิปรายและมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 เมื่อวันที่25 ตุลาคม 2544 ที่ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปประกอบการดำเนินการสรุปได้ดังนี้
1. ร่างแผนฯ ที่ได้ปรับปรุงครอบคลุมแนวคิดตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 119/2544 เรื่อง แนวทางการใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติดตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย และสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานตามผลการประชุมการระดมความคิดกำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติด เมื่อวันที่ 10 - 11 มีนาคม 2544 ณ จังหวัดเชียงราย
2. แนวคิดหลักของร่างแผนฯ เป็นเรื่องที่ดีและสำคัญยิ่ง โดยมุ่งการดำเนินการอย่างครบวงจร ทั้งมาตรการป้องกันด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจ การปลุกจิตสำนึกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน และกลุ่มแรงงาน ควบคู่ไปกับการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยเน้นให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การจัดตั้งสถานบำบัดให้เพียงพอ และมีระบบติดตาม ช่วยเหลือผู้รับการบำบัดฟื้นฟูให้กลับสู่สังคม รวมถึงการสกัดกั้นควบคุมตัวยาและสารเคมีตั้งแต่ชายแดน และปราบปรามขบวนการผลิต/ค้ายาเสพติด อย่างจริงจัง เด็ดขาด และรวดเร็ว โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินการอย่างชัดเจน
3. ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ ที่สำคัญคือ ผู้บริหารสูงสุดของประเทศต้องเป็นผู้นำผลักดันการปฏิบัติตามแผนอย่างจริงจัง จัดให้มีแผนปฏิบัติการที่ดี มีการประสานแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการจัดสรรงบประมาณที่ดี ขจัดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่โดยมุ่งให้ชุมชนมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับพื้นที่บริเวณชายแดนและพื้นที่ที่มีแหล่งระบาดรุนแรง จัดให้มีชุดปฏิบัติงานที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวในพื้นที่ชุมชนเมืองและชายแดนเพื่อลดระดับความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างจิตสำนึกและขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ขจัดการทุจริต คอรัปชั่น ผนึกกำลังทุกภาคส่วนในสังคมในลักษณะเครือข่ายกว้างขวางเป็นพลังของแผ่นดินปราบปรามอย่างรวดเร็วเด็ดขาดและจริงจังกับผู้ค้า ผู้ผลิตรายใหญ่ ผู้มีอิทธิพล เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง และจัดการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
4. ให้การดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ประสานอย่างใกล้ชิดกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน เพื่อให้เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงบริเวณพื้นที่ชายแดน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-