ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานของ The Economic Intelligence Unit (EIU) 's e-Business-Readiness Rankings ตามที่คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช) เสนอในกรณีการสำรวจและจัดลำดับความพร้อมในการประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่าง ๆ ปัจจัยเสริมสร้างความพร้อมในการประกอบธุรกิจประเภทอิเลคทรอนิกส์ และผลการจัดลำดับความพร้อม ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมในการจัดลำดับความพร้อมเฉพาะในประเทศที่ EDU ระบุไว้ข้างต้น ดังนี้ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างปี 2000-2004 7.27 ศักยภาพด้านการต่อเชื่อมเครือข่าย 5 และความพร้อมสำหรับ e-Business 6.1 (ซึ่งการให้คะแนนของ EIU คะแนนมากว่า 8 = ดีมาก 6.5 - 8 = ดี 5.5 = ปานกลาง 5-5.4 = ไม่ดีและน้อยกว่า 5=ไม่ดีอย่างมาก)
สำหรับประเด็นที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญ ได้แก่
1. ระบบอินเตอร์เน็ตคือ เครือข่ายที่เชื่อมโยงให้โลกไร้พรมแดน แต่การเข้าสู่เครือข่ายดังกล่าวต้องเริ่มจากความพร้อมภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี หรือแม้แต่เรื่องวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมด้านภาษา ทั้งนี้ EIU มีข้อสังเกตว่า ประเทศที่ใช้ภาษาพูดมีแนวโน้มที่จะเป็นประเทศอันดับแรก ๆ ซึ่งสามารถก้าวเข้าสู่การประกอบธุรกิจประเภทอิเลกทรอนิกส์ก่อนประเทศอื่น ๆ เนื่องจากเนื้อหาภายในอินเตอร์เน็ตโดยส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น ประเทศออสเตรเลีย และนิวส์ซีแลนด์ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 ประเทศมีความล้ำหน้าเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ไปมาก แม้ว่าจะมีการใช้คลื่นกระจายเสียงภายในประเทศในอัตราต่ำกว่า และมีเครือข่ายการใช้โทรศัพท์มือถือที่ซับซ้อนน้อยกว่าฮ่องกงและสิงคโปร์
2. ประเทศที่มีขนาดใหญ่ไม่ใช่ประเทศที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์เสมอไป เช่น จีน อินโดนีเซีย อินเดีย หรือรัสเซีย ก็ยังจัดว่ามีความพร้อมในอันดับท้าย ๆ สำหรับการประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ประเทศขนาดใหญ่ข้างต้นมีโอกาสในการประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าว เนื่องจากประเทศเหล่านี้ถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ และมีปัจจัยสนับสนุนบางประการอยู่ ตัวอย่างเกี่ยวกับปัจจัยเรื่องขนาดของประเทศเช่น ประเทศอินเดียมีโรงงานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์รอบเมืองบังกาลอร์ แต่ทั้งนี้อินเดียมีความพร้อมสำหรับอิเล็กทรอนิกส์ในลำดับที่ 50 เนื่องจากอินเดียยังประสบกับปัญหาเรื่องความล้าหลัง การทำงานล่าช้าและโครงสร้างพื้นฐานต้านโทรคมนาคมด้อยคุณภาพ ในขณะที่ประเทศเดนมาร์ก และไอร์แลนด์ แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่าอินเดีย แต่ก็สามารถเป็นผู้นำทางด้าน e-business ได้ เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อนและทันสมัย
3. ระดับความพร้อมสำหรับการประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
3.1 กลุ่มที่มีความพร้อมมากที่สุด หมายถึงกลุ่มประเทศที่มีการผสมผสานที่เหมาะสมระหว่างศักยภาพด้านการต่อเชื่อมเครือข่ายกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่พึงปราถนา กลุ่มประเทศดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 20 ลำดับแรกของการจัดลำดับความพร้อม อย่างไรก็ตาม ภายในกลุ่มนี้ยังคงมีความแตกต่างเช่นกัน เช่น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความพร้อมสูงสุดในขณะที่ฝรั่งเศษและญี่ปุ่นแม้ว่าจะอยู่ลำดับที่ 14 และ 21 ตามลำดับ ก็ยังคงมีข้อบกพร่องบางประการ เช่น นโยบายการแข่งขัน เป็นต้น
3.2 กลุ่มที่มีความพร้อมในระดับกลาง เป็นกลุ่มประเทศทีมีศักยภาพพอที่จะสร้างความพร้อมไปสู่ลำดับต้น ๆ หากมีการใช้นโยบายที่เหมาะสม แต่ในความเห็นของ EIU นั้น กลุ่มดังกล่าวยังต้องดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ อีกมากเพื่อก้าวเข้าสู่ประเทศที่มีความพร้อมในลำดับต้นๆ
3.3 กลุ่มที่มีความพร้อมใน 20 ลำดับสุดท้าย นับว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะที่ล้าหลังและมีอุปสรรคอันยิ่งใหญ่สำหรับการขยายตัวไปสู่การประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์
4. ประเทศของผู้นำของการประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ ซึ่งจับกลุ่มอยู่ภายในลำดับที่ 13 จาก 15 ลำดับแรก ส่วนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและอเมริกาใต้ซี่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการปฎิรูปนั้นจับกลุ่มอยู่ในความพร้อมลำดับกลาง และกลุ่มในประเทศแอฟริกาตะวันออก กลาง และเอเซีย จับกลุ่มอยู่ในช่วงความพร้อมส่วนล่างของตาราง
5.ปัจจัยด้านศักยภาพการต่อเชื่อมเครือข่าย เป็นปัจจัยที่มิอิทธิพลต่อการจัดลำดับความพร้อมสำหรับ e-business อย่างยิ่ง สังเกตได้จากลำดับของกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ 3 ประเทศ ซึ่งได้แก่ สวีเดน ฟินแลนด์และนอร์เวย์ ทั้ง 3 ประเทศนี้มีคะแนนด้านศักยภาพการติดต่อเชื่อมโยงสูงถึง 9 จาก 10 คะแนน ส่วนไต้หวัน ไทยและฟิลิปปินส์มีคะแนนด้านศักยภาพดังกล่าวในระดับต่ำจึงมีผลต่อการจัดลำดับความพร้อม ทั้งนี้ เนื่องจากในกลุ่มประเทศดังกล่าวมีจุดด้อยเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และข้อสรุปดังกล่าวนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่า ควรมีการตัดทอนกฎระเบียบต่าง ๆ โดยเร่งด่วนเพื่อเป็นปัจจัยทีเอื้อต่อการลงทุนจากต่างประเทศต่อไป
6. ผลการจัดลำดับความพร้อมด้านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศในแถบเอเซียได้แก่ ญี่ปุ่น (21) ไต้หวัน (27) ไทย (28) อินเดีย (50) และจีน (51) โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน หากไม่รวมสิงคโปร์แล้วไทยอยู่ในลำดับที่ดีกว่าทุกประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานของ The Economic Intelligence Unit (EIU) 's e-Business-Readiness Rankings ตามที่คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช) เสนอในกรณีการสำรวจและจัดลำดับความพร้อมในการประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่าง ๆ ปัจจัยเสริมสร้างความพร้อมในการประกอบธุรกิจประเภทอิเลคทรอนิกส์ และผลการจัดลำดับความพร้อม ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมในการจัดลำดับความพร้อมเฉพาะในประเทศที่ EDU ระบุไว้ข้างต้น ดังนี้ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างปี 2000-2004 7.27 ศักยภาพด้านการต่อเชื่อมเครือข่าย 5 และความพร้อมสำหรับ e-Business 6.1 (ซึ่งการให้คะแนนของ EIU คะแนนมากว่า 8 = ดีมาก 6.5 - 8 = ดี 5.5 = ปานกลาง 5-5.4 = ไม่ดีและน้อยกว่า 5=ไม่ดีอย่างมาก)
สำหรับประเด็นที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญ ได้แก่
1. ระบบอินเตอร์เน็ตคือ เครือข่ายที่เชื่อมโยงให้โลกไร้พรมแดน แต่การเข้าสู่เครือข่ายดังกล่าวต้องเริ่มจากความพร้อมภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี หรือแม้แต่เรื่องวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมด้านภาษา ทั้งนี้ EIU มีข้อสังเกตว่า ประเทศที่ใช้ภาษาพูดมีแนวโน้มที่จะเป็นประเทศอันดับแรก ๆ ซึ่งสามารถก้าวเข้าสู่การประกอบธุรกิจประเภทอิเลกทรอนิกส์ก่อนประเทศอื่น ๆ เนื่องจากเนื้อหาภายในอินเตอร์เน็ตโดยส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น ประเทศออสเตรเลีย และนิวส์ซีแลนด์ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 ประเทศมีความล้ำหน้าเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ไปมาก แม้ว่าจะมีการใช้คลื่นกระจายเสียงภายในประเทศในอัตราต่ำกว่า และมีเครือข่ายการใช้โทรศัพท์มือถือที่ซับซ้อนน้อยกว่าฮ่องกงและสิงคโปร์
2. ประเทศที่มีขนาดใหญ่ไม่ใช่ประเทศที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์เสมอไป เช่น จีน อินโดนีเซีย อินเดีย หรือรัสเซีย ก็ยังจัดว่ามีความพร้อมในอันดับท้าย ๆ สำหรับการประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ประเทศขนาดใหญ่ข้างต้นมีโอกาสในการประกอบธุรกิจประเภทดังกล่าว เนื่องจากประเทศเหล่านี้ถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ และมีปัจจัยสนับสนุนบางประการอยู่ ตัวอย่างเกี่ยวกับปัจจัยเรื่องขนาดของประเทศเช่น ประเทศอินเดียมีโรงงานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์รอบเมืองบังกาลอร์ แต่ทั้งนี้อินเดียมีความพร้อมสำหรับอิเล็กทรอนิกส์ในลำดับที่ 50 เนื่องจากอินเดียยังประสบกับปัญหาเรื่องความล้าหลัง การทำงานล่าช้าและโครงสร้างพื้นฐานต้านโทรคมนาคมด้อยคุณภาพ ในขณะที่ประเทศเดนมาร์ก และไอร์แลนด์ แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่าอินเดีย แต่ก็สามารถเป็นผู้นำทางด้าน e-business ได้ เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อนและทันสมัย
3. ระดับความพร้อมสำหรับการประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
3.1 กลุ่มที่มีความพร้อมมากที่สุด หมายถึงกลุ่มประเทศที่มีการผสมผสานที่เหมาะสมระหว่างศักยภาพด้านการต่อเชื่อมเครือข่ายกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่พึงปราถนา กลุ่มประเทศดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 20 ลำดับแรกของการจัดลำดับความพร้อม อย่างไรก็ตาม ภายในกลุ่มนี้ยังคงมีความแตกต่างเช่นกัน เช่น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความพร้อมสูงสุดในขณะที่ฝรั่งเศษและญี่ปุ่นแม้ว่าจะอยู่ลำดับที่ 14 และ 21 ตามลำดับ ก็ยังคงมีข้อบกพร่องบางประการ เช่น นโยบายการแข่งขัน เป็นต้น
3.2 กลุ่มที่มีความพร้อมในระดับกลาง เป็นกลุ่มประเทศทีมีศักยภาพพอที่จะสร้างความพร้อมไปสู่ลำดับต้น ๆ หากมีการใช้นโยบายที่เหมาะสม แต่ในความเห็นของ EIU นั้น กลุ่มดังกล่าวยังต้องดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ อีกมากเพื่อก้าวเข้าสู่ประเทศที่มีความพร้อมในลำดับต้นๆ
3.3 กลุ่มที่มีความพร้อมใน 20 ลำดับสุดท้าย นับว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะที่ล้าหลังและมีอุปสรรคอันยิ่งใหญ่สำหรับการขยายตัวไปสู่การประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์
4. ประเทศของผู้นำของการประกอบธุรกิจประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ ซึ่งจับกลุ่มอยู่ภายในลำดับที่ 13 จาก 15 ลำดับแรก ส่วนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและอเมริกาใต้ซี่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการปฎิรูปนั้นจับกลุ่มอยู่ในความพร้อมลำดับกลาง และกลุ่มในประเทศแอฟริกาตะวันออก กลาง และเอเซีย จับกลุ่มอยู่ในช่วงความพร้อมส่วนล่างของตาราง
5.ปัจจัยด้านศักยภาพการต่อเชื่อมเครือข่าย เป็นปัจจัยที่มิอิทธิพลต่อการจัดลำดับความพร้อมสำหรับ e-business อย่างยิ่ง สังเกตได้จากลำดับของกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ 3 ประเทศ ซึ่งได้แก่ สวีเดน ฟินแลนด์และนอร์เวย์ ทั้ง 3 ประเทศนี้มีคะแนนด้านศักยภาพการติดต่อเชื่อมโยงสูงถึง 9 จาก 10 คะแนน ส่วนไต้หวัน ไทยและฟิลิปปินส์มีคะแนนด้านศักยภาพดังกล่าวในระดับต่ำจึงมีผลต่อการจัดลำดับความพร้อม ทั้งนี้ เนื่องจากในกลุ่มประเทศดังกล่าวมีจุดด้อยเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และข้อสรุปดังกล่าวนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่า ควรมีการตัดทอนกฎระเบียบต่าง ๆ โดยเร่งด่วนเพื่อเป็นปัจจัยทีเอื้อต่อการลงทุนจากต่างประเทศต่อไป
6. ผลการจัดลำดับความพร้อมด้านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศในแถบเอเซียได้แก่ ญี่ปุ่น (21) ไต้หวัน (27) ไทย (28) อินเดีย (50) และจีน (51) โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน หากไม่รวมสิงคโปร์แล้วไทยอยู่ในลำดับที่ดีกว่าทุกประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ต.ค. 2543--
-สส-