ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐซิมบับเว และให้กระทรวงการต่างประเทศไปดำเนินการทางการทูตและตามแบบวิธีของกฎหมายภายในเพื่อให้ความตกลงฯมีผลใข้บังคับต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของความตกลงฯ สรุปได้ดังนี้
1. ขอบข่ายของความตกลงฯ ใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือประเทศซิมบับเว หรือทั้งสองประเทศและจะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากฐานเงินได้ และผลได้จากทุน
2. วิธีขจัดภาษีซ้อน
2.1 ประเทศคู่สัญญาจะยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ของตนนำภาษีที่เสียไว้แล้วในอีกประเทศหนึ่งมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศตนเท่าที่จำนวนภาษีที่ได้ชำระไว้จริง แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ในประเทศตน
2.2 ความตกลงฯ ได้กำหนดให้มีมาตรการ Tax Sparing Credit ในทั้งสองประเทศด้วย กล่าวคือ กรณีได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีตามกฎหมายภายในประเทศหนึ่ง (ประเทศแหล่งเงินได้) อีกประเทศหนึ่ง (ประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้รับเงินได้) จะยอมให้นำจำนวนภาษีที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าวไปถือเป็นเครดิตภาษีได้อีก
3. การเก็บภาษีจากกำไรธุรกิจ ประเทศที่มีการจ่ายเงินได้จะเก็บภาษีจากผู้รับเงินได้ ซึ่งเป็นวิสาหกิจของอีกประเทศหนึ่งได้ ต่อเมื่อวิสาหกิจนั้นดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
4. การเก็บภาษีจากการขนส่งระหว่างประเทศ ประเทศแหล่งเงินได้ยกเว้นภาษีให้เฉพาะการบิน ส่วนการเดินเรือจะลดภาษีให้กึ่งหนึ่ง
5. การเก็บภาษีจากทรัพย์สินประเภททุน กรณีเงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิจะมีการจำกัดอัตราภาษีในประเทศผู้จ่ายเงินได้โดยไม่ให้เก็บเกินกว่าเพดานภาษีตามที่ความตกลงฯ กำหนดไว้
6. การเก็บภาษีจากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการจ้างแรงงาน การให้บริการส่วนบุคคล หากมีการให้บริการในประเทศใดให้ประเทศนั้นมีสิทธิเก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่ความตกลงฯ กำหนดไว้
7. บทบัญญัติพิเศษอื่น ๆ เช่น คำนิยามทั่วไป การไม่เลือกประติบัติ วิธีการเพื่อความตกลงร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ มีการบัญญัติขึ้นเพื่อให้การใช้บังคับความตกลงฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติ และได้มีการประสานงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐซิมบับเว และให้กระทรวงการต่างประเทศไปดำเนินการทางการทูตและตามแบบวิธีของกฎหมายภายในเพื่อให้ความตกลงฯมีผลใข้บังคับต่อไป ซึ่งสาระสำคัญของความตกลงฯ สรุปได้ดังนี้
1. ขอบข่ายของความตกลงฯ ใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือประเทศซิมบับเว หรือทั้งสองประเทศและจะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากฐานเงินได้ และผลได้จากทุน
2. วิธีขจัดภาษีซ้อน
2.1 ประเทศคู่สัญญาจะยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ของตนนำภาษีที่เสียไว้แล้วในอีกประเทศหนึ่งมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศตนเท่าที่จำนวนภาษีที่ได้ชำระไว้จริง แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ในประเทศตน
2.2 ความตกลงฯ ได้กำหนดให้มีมาตรการ Tax Sparing Credit ในทั้งสองประเทศด้วย กล่าวคือ กรณีได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีตามกฎหมายภายในประเทศหนึ่ง (ประเทศแหล่งเงินได้) อีกประเทศหนึ่ง (ประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้รับเงินได้) จะยอมให้นำจำนวนภาษีที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าวไปถือเป็นเครดิตภาษีได้อีก
3. การเก็บภาษีจากกำไรธุรกิจ ประเทศที่มีการจ่ายเงินได้จะเก็บภาษีจากผู้รับเงินได้ ซึ่งเป็นวิสาหกิจของอีกประเทศหนึ่งได้ ต่อเมื่อวิสาหกิจนั้นดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
4. การเก็บภาษีจากการขนส่งระหว่างประเทศ ประเทศแหล่งเงินได้ยกเว้นภาษีให้เฉพาะการบิน ส่วนการเดินเรือจะลดภาษีให้กึ่งหนึ่ง
5. การเก็บภาษีจากทรัพย์สินประเภททุน กรณีเงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิจะมีการจำกัดอัตราภาษีในประเทศผู้จ่ายเงินได้โดยไม่ให้เก็บเกินกว่าเพดานภาษีตามที่ความตกลงฯ กำหนดไว้
6. การเก็บภาษีจากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการจ้างแรงงาน การให้บริการส่วนบุคคล หากมีการให้บริการในประเทศใดให้ประเทศนั้นมีสิทธิเก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่ความตกลงฯ กำหนดไว้
7. บทบัญญัติพิเศษอื่น ๆ เช่น คำนิยามทั่วไป การไม่เลือกประติบัติ วิธีการเพื่อความตกลงร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ มีการบัญญัติขึ้นเพื่อให้การใช้บังคับความตกลงฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติ และได้มีการประสานงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-