ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) นี้ เป็นไปตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน และได้ดำเนินการภายใต้กรอบการชดเชยลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ทางการเข้าแทรกแซง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 และแนวทางการจำหน่ายกิจการธนาคารศรีนคร จำกัด(มหาชน) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 แล้ว
2. การดำเนินการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่ชัดเจนคือมีการดำเนินการตามกรอบแนวทางซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีมาแล้ว รวมทั้งได้ติดต่อผู้ลงทุนที่มีศักยภาพทางการเงิน และมีความรู้ความชำนาญด้านการธนาคารจำนวนมากสามารถเข้ามายื่นคำเสนอซื้อ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนโดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและยุติธรรม รวมทั้งได้มีการพิจารณาในคณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ด้วยแล้ว
3. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารศรีนครฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นชอบตามเงื่อนไขการขายหุ้นธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ตามที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกฯ ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เนื่องจากเห็นว่าวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางการน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นในการดำเนินการแก้ไขปัญหาธนาคารศรีนครฯ
4. กระทรวงการคลังได้พิจารณาตามเหตุผลในข้อ 1 - 3 ข้างต้นแล้ว จึงได้ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารศรีนครฯ ตามที่คณะกรรมการเพื่อการพิจารณาคัดเลือกฯ เสนอ โดยทั้งนี้ได้มอบหมายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ดูแลให้การยกร่างสัญญาให้เป็นไปอย่างเหมาะสมรัดกุม และทางการไม่เสียเปรียบ เพื่อให้ทางการได้รับประโยชน์สูงสุดจากสัญญาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) นี้ เป็นไปตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน และได้ดำเนินการภายใต้กรอบการชดเชยลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ทางการเข้าแทรกแซง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 และแนวทางการจำหน่ายกิจการธนาคารศรีนคร จำกัด(มหาชน) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 แล้ว
2. การดำเนินการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่ชัดเจนคือมีการดำเนินการตามกรอบแนวทางซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีมาแล้ว รวมทั้งได้ติดต่อผู้ลงทุนที่มีศักยภาพทางการเงิน และมีความรู้ความชำนาญด้านการธนาคารจำนวนมากสามารถเข้ามายื่นคำเสนอซื้อ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนโดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและยุติธรรม รวมทั้งได้มีการพิจารณาในคณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ด้วยแล้ว
3. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารศรีนครฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นชอบตามเงื่อนไขการขายหุ้นธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ตามที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกฯ ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เนื่องจากเห็นว่าวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางการน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นในการดำเนินการแก้ไขปัญหาธนาคารศรีนครฯ
4. กระทรวงการคลังได้พิจารณาตามเหตุผลในข้อ 1 - 3 ข้างต้นแล้ว จึงได้ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในธนาคารศรีนครฯ ตามที่คณะกรรมการเพื่อการพิจารณาคัดเลือกฯ เสนอ โดยทั้งนี้ได้มอบหมายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ดูแลให้การยกร่างสัญญาให้เป็นไปอย่างเหมาะสมรัดกุม และทางการไม่เสียเปรียบ เพื่อให้ทางการได้รับประโยชน์สูงสุดจากสัญญาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-