ทำเนียบรัฐบาล--14 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการประชุมไตรภาคีระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 8 โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งจัดประชุมขึ้นเมื่อวันที่ 1 - 3 มีนาคม 2543 ณ จังหวัดสงขลา โดยฝ่ายไทยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รับทราบรายงานความก้าวหน้าและเร่งรัดให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติของโครงการต่าง ๆ ในสาขาการเกษตรและประมง สาขาการท่องเที่ยว สาขาการขนส่งทางบกและทางน้ำ สาขาการขนส่งทางอากาศ สาขาการสื่อสาร โทรคมนาคม สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเคลื่อนย้ายแรงงาน สาขาพลังงาน สาขาการค้าและศุลกากร สาขาการเงินและการลงทุน และสาขาอุตสาหกรรม
2. เห็นชอบตามข้อเสนอแนวทางใหม่การพัฒนาโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย -มาเลเซีย - ไทย หลังปี ค.ศ. 2000 ของฝ่ายไทย โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะสงขลา - ปีนัง - เบลาวัน สรุปได้ดังนี้
2.1 สาระสำคัญ
1) การดำเนินงานที่ผ่านมาได้เน้นความร่วมมือรายสาขามากเกินไป จนขาดความเชื่อมโยงของการพัฒนาระหว่างสาขา และขาดการให้ความสำคัญด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และขาดภาพที่ชัดเจนของความร่วมมือในอนุภูมิภาค
2) การพัฒนาในสหัสวรรษใหม่ ควรคำนึงถึงการกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจที่มีศักยภาพการพัฒนาที่ชัดเจนเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่และนักลงทุนจากประเทศที่สาม โดยใช้ศักยภาพที่เกิดจากการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่สงขลา และวางท่อก๊าซธรรมชาติเชื่อมต่อมายังปีนัง การพัฒนาท่าเรือและท่าอากาศยานมาตรฐานระดับโลกที่สงขลา ปีนัง เบลาวัน รวมทั้งการก่อสร้างทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างกัน การปรับลดกฎระเบียบการขนส่งข้ามแดน และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น ตลาดกลางร่วมขายส่ง นิคมอุตสาหกรรม พื้นที่คลังสินค้าทัณฑ์บน ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเชื่อมโยงระดับโลก
3) สำหรับเขตเศรษฐกิจเบลาวันที่อยู่บนเกาะสุมาตรา ซึ่งแยกจากพื้นที่ปีนัง - สงขลา มีศักยภาพสามารถพัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจได้ โดยพัฒนาระบบการเดินเรือเฟอร์รี่ขนสินค้าพร้อมบริการแบบ RORO ระบบการคมนาคมในช่องแคบมะละกา และระบบบริการการบินไปยังสุมาตรา
4) นอกจากนี้ควรขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทั้ง 3 ประเทศในกระบวนการพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานที่มีอยู่ ทั้งในลักษณะที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้วเป็นพิเศษ เช่น แร่ธาตุพลังงาน ฯลฯ โดยใช้จุดแข็งมาช่วยแก้ปัญหาจุดด้อยของแต่ละประเทศ เช่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของไทย อุตสาหกรรม อาหารฮาลาลที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตของไทย และใช้ความรู้ด้านมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพฮาลาลจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย ตลอดจนการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในการพัฒนาคนของทั้ง 3 ประเทศ เช่น โครงการศึกษาและฝึกอบรมร่วมกัน เป็นต้น
2.2 กลไกและแนวทางดำเนินงาน
1) จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมสามประเทศ (Task Force) เพื่อทำหน้าที่กำหนดกรอบแนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจปีนัง - สงขลา - เบลาวัน รวมทั้งการเชื่อมโยงสู่พื้นที่อื่น ๆ ให้สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
2) องค์ประกอบของคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ และภาคเอกชนประเทศละ 7 คน โดยให้หน่วยงานด้านการวางแผนเป็นผู้ประสานงานของคณะทำงาน
3) ให้คณะทำงานเฉพาะกิจจัดให้มีการประชุมหมุนเวียนกันในสามประเทศ โดยมอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรกภายในเวลา 2 เดือน
4) ก่อนการประชุมคณะทำงานครั้งแรกที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ให้แต่ละประเทศศึกษารายละเอียดข้อมูลพื้นฐาน ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจสงขลา - ปีนัง - เบลาวัน ในส่วนของพื้นที่แต่ละประเทศก่อน เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการประชุมไตรภาคีระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 8 โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งจัดประชุมขึ้นเมื่อวันที่ 1 - 3 มีนาคม 2543 ณ จังหวัดสงขลา โดยฝ่ายไทยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รับทราบรายงานความก้าวหน้าและเร่งรัดให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติของโครงการต่าง ๆ ในสาขาการเกษตรและประมง สาขาการท่องเที่ยว สาขาการขนส่งทางบกและทางน้ำ สาขาการขนส่งทางอากาศ สาขาการสื่อสาร โทรคมนาคม สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเคลื่อนย้ายแรงงาน สาขาพลังงาน สาขาการค้าและศุลกากร สาขาการเงินและการลงทุน และสาขาอุตสาหกรรม
2. เห็นชอบตามข้อเสนอแนวทางใหม่การพัฒนาโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย -มาเลเซีย - ไทย หลังปี ค.ศ. 2000 ของฝ่ายไทย โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะสงขลา - ปีนัง - เบลาวัน สรุปได้ดังนี้
2.1 สาระสำคัญ
1) การดำเนินงานที่ผ่านมาได้เน้นความร่วมมือรายสาขามากเกินไป จนขาดความเชื่อมโยงของการพัฒนาระหว่างสาขา และขาดการให้ความสำคัญด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และขาดภาพที่ชัดเจนของความร่วมมือในอนุภูมิภาค
2) การพัฒนาในสหัสวรรษใหม่ ควรคำนึงถึงการกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจที่มีศักยภาพการพัฒนาที่ชัดเจนเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่และนักลงทุนจากประเทศที่สาม โดยใช้ศักยภาพที่เกิดจากการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่สงขลา และวางท่อก๊าซธรรมชาติเชื่อมต่อมายังปีนัง การพัฒนาท่าเรือและท่าอากาศยานมาตรฐานระดับโลกที่สงขลา ปีนัง เบลาวัน รวมทั้งการก่อสร้างทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างกัน การปรับลดกฎระเบียบการขนส่งข้ามแดน และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น ตลาดกลางร่วมขายส่ง นิคมอุตสาหกรรม พื้นที่คลังสินค้าทัณฑ์บน ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเชื่อมโยงระดับโลก
3) สำหรับเขตเศรษฐกิจเบลาวันที่อยู่บนเกาะสุมาตรา ซึ่งแยกจากพื้นที่ปีนัง - สงขลา มีศักยภาพสามารถพัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจได้ โดยพัฒนาระบบการเดินเรือเฟอร์รี่ขนสินค้าพร้อมบริการแบบ RORO ระบบการคมนาคมในช่องแคบมะละกา และระบบบริการการบินไปยังสุมาตรา
4) นอกจากนี้ควรขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทั้ง 3 ประเทศในกระบวนการพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานที่มีอยู่ ทั้งในลักษณะที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้วเป็นพิเศษ เช่น แร่ธาตุพลังงาน ฯลฯ โดยใช้จุดแข็งมาช่วยแก้ปัญหาจุดด้อยของแต่ละประเทศ เช่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของไทย อุตสาหกรรม อาหารฮาลาลที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตของไทย และใช้ความรู้ด้านมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพฮาลาลจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย ตลอดจนการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในการพัฒนาคนของทั้ง 3 ประเทศ เช่น โครงการศึกษาและฝึกอบรมร่วมกัน เป็นต้น
2.2 กลไกและแนวทางดำเนินงาน
1) จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมสามประเทศ (Task Force) เพื่อทำหน้าที่กำหนดกรอบแนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจปีนัง - สงขลา - เบลาวัน รวมทั้งการเชื่อมโยงสู่พื้นที่อื่น ๆ ให้สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
2) องค์ประกอบของคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ และภาคเอกชนประเทศละ 7 คน โดยให้หน่วยงานด้านการวางแผนเป็นผู้ประสานงานของคณะทำงาน
3) ให้คณะทำงานเฉพาะกิจจัดให้มีการประชุมหมุนเวียนกันในสามประเทศ โดยมอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรกภายในเวลา 2 เดือน
4) ก่อนการประชุมคณะทำงานครั้งแรกที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ให้แต่ละประเทศศึกษารายละเอียดข้อมูลพื้นฐาน ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจสงขลา - ปีนัง - เบลาวัน ในส่วนของพื้นที่แต่ละประเทศก่อน เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--