คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) เป็นประธานกรรมการฯ ที่ให้นำอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้นำอนุสัญญาฯ ฉบับภาษาไทยเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบ และให้ส่งฉบับภาษาอังกฤษเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา และเมื่อรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบอนุสัญญาฯ แล้ว ให้กระทรวงการต่างประเทศให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำคำแถลงการณ์แนบท้ายสัตยาบันสาร (end note) ตามความจำเป็นต่อไป ทั้งนี้ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการให้แล้วเสร็จในการประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้ เพื่อให้ทันการประชุมสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (COP) ครั้งที่ 6ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในเดือนเมษายน 2545
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
2. รัฐมีสิทธิอธิปไตยที่จะใช้ทรัพยากรของตนตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของตน โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่น หรือของพื้นที่นอกเขตอำนาจแห่งรัฐ ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎบัตรสหประชาชาติและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
3. ขอบเขตอำนาจของอนุสัญญาฯ ในกรณีองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพ ให้อนุสัญญาฯใช้บังคับภายในพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจของรัฐภาคี และในกรณีกรรมวิธีและกิจกรรมซึ่งดำเนินการภายใต้อำนาจหรือการควบคุมของรัฐภาคี ไม่ว่าจะมีผลกระทบเกิดขึ้น ณ ที่ใด ให้อนุสัญญาฯ ใช้บังคับทั้งภายในและนอกเขตอำนาจดังกล่าว และให้แต่ละรัฐภาคีต้องดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักการดังกล่าว
4. ภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะพยายามสร้างสภาพการณ์เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม โดยภาคีคู่สัญญาอื่น ๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ไม่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะพยายามไม่กำหนดข้อจำกัด ซึ่งขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ นี้
5. อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ในเก้าสิบวันหลังจากวันที่ภาคีนั้นส่งมอบสัตยาบันสาร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
2. รัฐมีสิทธิอธิปไตยที่จะใช้ทรัพยากรของตนตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของตน โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่น หรือของพื้นที่นอกเขตอำนาจแห่งรัฐ ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎบัตรสหประชาชาติและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
3. ขอบเขตอำนาจของอนุสัญญาฯ ในกรณีองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพ ให้อนุสัญญาฯใช้บังคับภายในพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจของรัฐภาคี และในกรณีกรรมวิธีและกิจกรรมซึ่งดำเนินการภายใต้อำนาจหรือการควบคุมของรัฐภาคี ไม่ว่าจะมีผลกระทบเกิดขึ้น ณ ที่ใด ให้อนุสัญญาฯ ใช้บังคับทั้งภายในและนอกเขตอำนาจดังกล่าว และให้แต่ละรัฐภาคีต้องดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักการดังกล่าว
4. ภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะพยายามสร้างสภาพการณ์เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม โดยภาคีคู่สัญญาอื่น ๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ไม่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะพยายามไม่กำหนดข้อจำกัด ซึ่งขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ นี้
5. อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ในเก้าสิบวันหลังจากวันที่ภาคีนั้นส่งมอบสัตยาบันสาร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-