คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดให้ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ถ้าประสงค์จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ให้นำหลักฐานดังกล่าวไปยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดสองปี ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิและให้มีผลเป็นการยกเลิกหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินนั้น ที่ได้แก้ไขตามมติที่ประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการฯ ที่เห็นควรให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (คณะกรรมการแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐ หรือ กบร.) ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาการนำ ส.ค.1 ไปใช้โดยไม่สุจริต โดยการตรากฎกระทรวงหรือระเบียบเพื่อให้การออกหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินโดย ส.ค.1 เป็นไปด้วยความถูกต้องรัดกุมยิ่งขึ้น และให้พิจารณามาตรการทางบริหารโดยจูงใจให้มีการนำ ส.ค.1 มาดำเนินการตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียน รวมทั้งเร่งรัดตรวจสอบที่ดินที่ได้มีการออกเอกสารสิทธิไปแล้ว เพื่อให้ทราบสิทธิในที่ดินของประชาชนอย่างชัดเจน และจำนวนเนื้อที่ดินของรัฐที่เหลืออยู่เพื่อมิให้มีการบุกรุกที่ดินของรัฐต่อไปอีกโดยจัดทำเป็นแผนการดำเนินการให้มีความชัดเจนต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ) ได้ดำเนินการหารือตามประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 (ซึ่งได้ประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544) ร่วมกับกรมที่ดิน แล้วได้ข้อยุติในสาระสำคัญสรุปได้ว่า
1. เห็นด้วยกับความเห็นคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 ที่ว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจตามกฎหมายไว้ด้วย โดยเห็นควรระบุบทบัญญัติมาตรา 29 และมาตรา 48 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งให้อำนาจในการตรากฎหมายที่เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคล
2. ข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 ที่ว่า ส.ค.1 เป็นเพียงหลักฐานอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่จะใช้อ้างสิทธิครอบครอง แต่การขอออกโฉนดที่ดินยังมีวิธีการอื่นอีกที่จะทำได้ การจำหน่ายเอกสาร ส.ค.1 เป็นเพียงการจำหน่ายเอกสาร มิใช่จำหน่ายสิทธิครอบครอง ข้อสังเกตนี้เป็นประเด็นสำคัญที่หารือกัน ผู้แทนกรมที่ดินเห็นด้วยว่า การขอออกโฉนดมิใช่จะกระทำได้แต่เพียงอาศัยการแจ้ง ส.ค.1 แต่เพียงประการเดียว อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นอีกแม้จะไม่มี ส.ค.1และอีกประการหนึ่ง ส.ค.1 ที่มีผู้แจ้ง มีทั้ง ส.ค.1 ในที่ป่าที่ดินของรัฐอื่นรวมอยู่ด้วย มิใช่จะมีแต่เพียงที่ดินปกติที่ราษฎรครอบครองอยู่เท่านั้น การที่จะยกเลิก ส.ค.1 เสียทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงว่าที่ดินที่แจ้งเป็นที่ดินประเภทใดแล้ว จะทำให้ผู้ครอบครองสุจริตอื่นต้องได้รับผลกระทบไปด้วย ผู้แทนกรมที่ดินจึงเห็นควรให้ยกเลิก ส.ค.1 เฉพาะแต่ที่อยู่ในพื้นที่ป่าหรือที่สงวนหวงห้ามของรัฐเท่านั้น เนื่องจากหากยกเลิก ส.ค.1 ในทุกพื้นที่ จะทำให้ผู้มีสิทธิครอบครองอยู่โดยชอบต้องเสียสิทธิไป
3. ปัจจุบันการออกโฉนดโดยวิธีการที่ไม่สุจริตมีปรากฏอยู่เสมอ ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ส.ค.1 ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่สุจริต เพื่อขอออกโฉนด ฉะนั้น จึงได้เสนอให้ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมาเพื่อยกเลิกการ แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) หากมิได้นำ ส.ค.1 มาดำเนินการเสียภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ หากยกเลิก ส.ค.1 เสียแล้ว ก็จะเป็นการตัดช่องทางไม่สุจริตไปเสียได้ทางหนึ่ง สำหรับข้อที่ว่า เกรงว่าจะกระทบกับบุคคลผู้ครอบครองและแจ้งส.ค.1 ไว้โดยสุจริตนั้น เห็นว่าร่างกฎหมายนี้มิได้เป็นการตัดสิทธิเสียโดยทันทีอย่างฉับพลัน หากแต่ทอดเวลาให้มาดำเนินการได้ภายใน 1 ปี ก็จะไม่กระทบกระเทือนแต่อย่างใด สมควรขยายเวลาจาก 1 ปี เป็น 2 ปี เพื่อให้มีเวลาเตรียมการที่เหมาะสม จึงเห็นสมควรยืนตามร่างเดิม โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ ที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายที่เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลไว้ในร่างด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ) ได้ดำเนินการหารือตามประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 (ซึ่งได้ประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544) ร่วมกับกรมที่ดิน แล้วได้ข้อยุติในสาระสำคัญสรุปได้ว่า
1. เห็นด้วยกับความเห็นคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 ที่ว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจตามกฎหมายไว้ด้วย โดยเห็นควรระบุบทบัญญัติมาตรา 29 และมาตรา 48 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งให้อำนาจในการตรากฎหมายที่เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคล
2. ข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 ที่ว่า ส.ค.1 เป็นเพียงหลักฐานอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่จะใช้อ้างสิทธิครอบครอง แต่การขอออกโฉนดที่ดินยังมีวิธีการอื่นอีกที่จะทำได้ การจำหน่ายเอกสาร ส.ค.1 เป็นเพียงการจำหน่ายเอกสาร มิใช่จำหน่ายสิทธิครอบครอง ข้อสังเกตนี้เป็นประเด็นสำคัญที่หารือกัน ผู้แทนกรมที่ดินเห็นด้วยว่า การขอออกโฉนดมิใช่จะกระทำได้แต่เพียงอาศัยการแจ้ง ส.ค.1 แต่เพียงประการเดียว อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นอีกแม้จะไม่มี ส.ค.1และอีกประการหนึ่ง ส.ค.1 ที่มีผู้แจ้ง มีทั้ง ส.ค.1 ในที่ป่าที่ดินของรัฐอื่นรวมอยู่ด้วย มิใช่จะมีแต่เพียงที่ดินปกติที่ราษฎรครอบครองอยู่เท่านั้น การที่จะยกเลิก ส.ค.1 เสียทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงว่าที่ดินที่แจ้งเป็นที่ดินประเภทใดแล้ว จะทำให้ผู้ครอบครองสุจริตอื่นต้องได้รับผลกระทบไปด้วย ผู้แทนกรมที่ดินจึงเห็นควรให้ยกเลิก ส.ค.1 เฉพาะแต่ที่อยู่ในพื้นที่ป่าหรือที่สงวนหวงห้ามของรัฐเท่านั้น เนื่องจากหากยกเลิก ส.ค.1 ในทุกพื้นที่ จะทำให้ผู้มีสิทธิครอบครองอยู่โดยชอบต้องเสียสิทธิไป
3. ปัจจุบันการออกโฉนดโดยวิธีการที่ไม่สุจริตมีปรากฏอยู่เสมอ ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ส.ค.1 ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่สุจริต เพื่อขอออกโฉนด ฉะนั้น จึงได้เสนอให้ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมาเพื่อยกเลิกการ แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) หากมิได้นำ ส.ค.1 มาดำเนินการเสียภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ หากยกเลิก ส.ค.1 เสียแล้ว ก็จะเป็นการตัดช่องทางไม่สุจริตไปเสียได้ทางหนึ่ง สำหรับข้อที่ว่า เกรงว่าจะกระทบกับบุคคลผู้ครอบครองและแจ้งส.ค.1 ไว้โดยสุจริตนั้น เห็นว่าร่างกฎหมายนี้มิได้เป็นการตัดสิทธิเสียโดยทันทีอย่างฉับพลัน หากแต่ทอดเวลาให้มาดำเนินการได้ภายใน 1 ปี ก็จะไม่กระทบกระเทือนแต่อย่างใด สมควรขยายเวลาจาก 1 ปี เป็น 2 ปี เพื่อให้มีเวลาเตรียมการที่เหมาะสม จึงเห็นสมควรยืนตามร่างเดิม โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ ที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายที่เป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลไว้ในร่างด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-