ทำเนียบรัฐบาล--23 ม.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534 เรื่อง โรงพิมพ์ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลางขออนุมัติรับจ้างพิมพ์งานภายนอก เพื่อให้โรงพิมพ์ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง กรมประชาสงเคราะห์ ขยายวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพิ่มเติม โดยสามารถรับจ้างพิมพ์งานจากเอกชนทั่วไปได้ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบด้วยแล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอว่า
1. กรมประชาสงเคราะห์รายงานว่า เดิมโรงพิมพ์ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การฝึกอบรมอาชีพการพิมพ์แก่ผู้รับการสงเคราะห์ที่อยู่ในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ และบุตรของสมาชิกนิคมสร้างตนเองต่าง ๆ เพื่อจะได้นำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
2. ต่อมากรมประชาสงเคราะห์ได้เสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีขยายวัตถุประสงค์ออกไปเป็นดำเนินการเพื่อธุรกิจด้วย โดยจะดำเนินการรับจ้างพิมพ์ให้กับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์ได้ฝึกหัดทักษะความชำนาญงาน และสามารถช่วยเหลือผู้รับการสงเคราะห์ที่รอหางาน ได้มีอาชีพโดยรับเข้าปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ฯ เพื่อให้เกิดความชำนาญและความมั่นใจในการประกอบอาชีพ และมีรายได้ระหว่างรอการจัดหางาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การขอขยายวัตถุประสงค์ของโรงพิมพ์ฯ ด้วยเหตุผลดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ แต่การรับจ้างพิมพ์ให้เอกชนน่าจะไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐไปประกอบธุรกิจแข่งกับภาคเอกชน โดยเฉพาะการที่โรงพิมพ์ได้สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ว่าจ้างหรือจัดซื้อโดยไม่ต้องประกวดราคา หรือสืบราคา ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ธุรกิจการพิมพ์ของภาคเอกชน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติตามข้อ 2 ดังกล่าว
3. กรมประชาสงเคราะห์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า วิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้โรงพิมพ์ไม่สามารถรับจ้างพิมพ์งานได้ตามศักยภาพ เนื่องจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีข้อจำกัดในการจ้างพิมพ์งาน ทำให้ปริมาณการจ้างพิมพ์งานของโรงพิมพ์ฯ ลดลงมาก สถานการณ์ดังกล่าวเป็นอุปสรรต่อการฝึกอาชีพเยาวชนสตรีด้อยโอกาส และประชาชนที่ประสบปัญหาการถูกเลิกจ้าง ว่างงาน ซึ่งประสงค์จะเข้ารับการฝึกอาชีพจากกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อจะได้มีรายได้ระหว่างรอการจัดหางาน และเป็นอุปสรรคต่อการบริหารของโรงพิมพ์ฯ เนื่องจากโรงพิมพ์ฯ อาศัยเงินนอกงบประมาณใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปริมาณการจ้างงานที่ลดต่ำลงโดยลำดับ จะทำให้โรงพิมพ์ฯ ไม่มีผลกำไร และจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของทางราชการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 ม.ค. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534 เรื่อง โรงพิมพ์ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลางขออนุมัติรับจ้างพิมพ์งานภายนอก เพื่อให้โรงพิมพ์ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง กรมประชาสงเคราะห์ ขยายวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพิ่มเติม โดยสามารถรับจ้างพิมพ์งานจากเอกชนทั่วไปได้ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบด้วยแล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอว่า
1. กรมประชาสงเคราะห์รายงานว่า เดิมโรงพิมพ์ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การฝึกอบรมอาชีพการพิมพ์แก่ผู้รับการสงเคราะห์ที่อยู่ในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ และบุตรของสมาชิกนิคมสร้างตนเองต่าง ๆ เพื่อจะได้นำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
2. ต่อมากรมประชาสงเคราะห์ได้เสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีขยายวัตถุประสงค์ออกไปเป็นดำเนินการเพื่อธุรกิจด้วย โดยจะดำเนินการรับจ้างพิมพ์ให้กับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับการสงเคราะห์ได้ฝึกหัดทักษะความชำนาญงาน และสามารถช่วยเหลือผู้รับการสงเคราะห์ที่รอหางาน ได้มีอาชีพโดยรับเข้าปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ฯ เพื่อให้เกิดความชำนาญและความมั่นใจในการประกอบอาชีพ และมีรายได้ระหว่างรอการจัดหางาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การขอขยายวัตถุประสงค์ของโรงพิมพ์ฯ ด้วยเหตุผลดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ แต่การรับจ้างพิมพ์ให้เอกชนน่าจะไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐไปประกอบธุรกิจแข่งกับภาคเอกชน โดยเฉพาะการที่โรงพิมพ์ได้สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ว่าจ้างหรือจัดซื้อโดยไม่ต้องประกวดราคา หรือสืบราคา ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ธุรกิจการพิมพ์ของภาคเอกชน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติตามข้อ 2 ดังกล่าว
3. กรมประชาสงเคราะห์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า วิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้โรงพิมพ์ไม่สามารถรับจ้างพิมพ์งานได้ตามศักยภาพ เนื่องจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีข้อจำกัดในการจ้างพิมพ์งาน ทำให้ปริมาณการจ้างพิมพ์งานของโรงพิมพ์ฯ ลดลงมาก สถานการณ์ดังกล่าวเป็นอุปสรรต่อการฝึกอาชีพเยาวชนสตรีด้อยโอกาส และประชาชนที่ประสบปัญหาการถูกเลิกจ้าง ว่างงาน ซึ่งประสงค์จะเข้ารับการฝึกอาชีพจากกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อจะได้มีรายได้ระหว่างรอการจัดหางาน และเป็นอุปสรรคต่อการบริหารของโรงพิมพ์ฯ เนื่องจากโรงพิมพ์ฯ อาศัยเงินนอกงบประมาณใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปริมาณการจ้างงานที่ลดต่ำลงโดยลำดับ จะทำให้โรงพิมพ์ฯ ไม่มีผลกำไร และจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของทางราชการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 ม.ค. 2544--
-สส-