คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แผนการดำเนินงานประกวดราคาเพื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2547 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ได้ส่งแบบของ MJTA ที่ บทม. . และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JBIC) ได้เคยให้ความเห็นชอบไว้แล้วในการประกวดราคาครั้งแรก ในการนี้เพียงแต่ได้ปรับปรุงรายละเอียดของวัสดุก่อสร้างตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศให้มากที่สุด และเอกสารประกวดราคาที่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกันนั้น ให้ JBIC เห็นชอบเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 เพื่อจะนำไปประกวดราคาอีกครั้งหนึ่ง และขอให้ JBIC ตอบมาในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งไม่ควรเกินวันที่ 7 กันยายน 2544
2. ทางฝ่าย JBIC ได้มีหนังสือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอประชุมหารือ ซึ่งได้มีการประชุมหารือระหว่าง บทม. ,MJTA และคณะของ JBIC รวมทั้ง PMC ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ บทม. ในวันที่ 5,6,7 และ 10 สิงหาคม 2544 ในการประชุมหารือ คณะของ JBIC ได้สอบถามรายละเอียดในประเด็นที่เกี่ยวกับการลดขนาดความหนาของเหล็กโครงสร้างมีความเหมาะสมหรือไม่ จะทำให้อาคารมีความแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ ให้ชี้แจงเหตุผล และเปรียบเทียบรายการต่อรายการของวัสดุและการก่อสร้างที่ทำให้ราคาลดลงได้มาก ตลอดจนรายละเอียดของขั้นตอนการประกวดราคาโดยเฉพาะพยายามกำหนดให้ บทม.ดำเนินการตามขั้นตอนในการประกวดราคา เพื่อนำไปสู่การพิจารณาแบบสำรอง Fall Back Design (ฺBid 2) ซึ่งไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544
3. ในช่วงที่ได้มีการเจรจาหารือกับคณะของ JBIC ดังกล่าว บทม.ได้ชะลอการตอกเสาเข็มไว้ แต่ผลการประชุมหารือกับ JBIC กลับมีแนวโน้มว่า JBIC มีความประสงค์ที่จะให้ บทม.ดำเนินการประกวดราคา เพื่อนำไปสู่การพิจารณา BID 2 อีก ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ บทม. ไม่สามารถดำเนินการตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ และจะเป็นผลให้ไม่สามารถเริ่มงานทั้งในส่วนของงานตอกเสาเข็มและงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินได้ ทำให้ประเทศต้องสูญเสียโอกาสที่จะมีสนามบินที่ทันสมัยบริการรองรับการเจริญเติบโตของกิจการบินพลเรือน และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของประเทศ ดังนั้น ในวันที่ 12 กันยายน 2544 บท. จึงได้เริ่มงานตอกเสาเข็มเพื่อรองรับอาคาร ผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินตามแบบของ MJTA โดยใช้เงินทุนของ บทม.ไปก่อน
4. ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 JBIC ได้มีหนังสือแจ้งตอบเห็นชอบแบบของ MJTA และเอกสารประกวดราคาที่ได้ปรับปรุงเพื่อให้ บทม.ดำเนินการประกวดราคาต่อไป โดยมีเงื่อนไข 4 ประการ คือ
4.1 การประกวดราคายังคงเป็นระบบ 2 Bid ผู้รับเหมาที่มีสิทธิในการยื่นประกวดราคาจึงเป็น 4 กลุ่มบริษัทเดิม
4.2 JBIC ไม่ยอมรับว่าหากผลการประกวดราคาตามแบบปรับปรุงของ MJTA เกินราคากลาง บทม.ก็จะยกเลิกและประกวดราคาใหม่ โดยเชิญผู้รับเหมา 9 กลุ่มบริษัท และจะเพิ่มกลุ่มผู้รับเหมาตามความเหมาะสม
4.3 ในการดำเนินการประกวดราคาใหม่นี้ บทม. จะต้องขยายเวลาให้แก่กลุ่มผู้รับเหมา เมื่อมีผู้รับเหมารายหนึ่งรายใดร้องขอ
4.4 บทม. จะต้องจัดทำเอกสารประกวดราคาให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามข้อ 4.1 และข้อ 4.3 เสนอ JBIC เพื่อให้การรับรองอีกครั้งหนึ่งก่อนโดยเร็ว
5. บทม. ได้พิจารณาแนวทางการดำเนินการต่อไปแล้ว เห็นควรดำเนินการในข้อเงื่อนไขของ JBIC ข้อ 4.1 เฉพาะเรื่องจำนวนผู้ยื่นข้อเสนอ โดยในวันที่ 19 กันยายน 2544 บทม.จะเชิญผู้ยื่นข้อเสนอเดิมทั้ง 4 กลุ่มบริษัท มาเพื่อรับเอกสารประกวดราคาาตามที่ MJTA ปรับปรุง แต่มิใช่เป็นการประกวดราคาในระบบ 2 Bid ตามเงื่อนไขที่ JBIC กำหนด และจะมีการประชุมชี้แจงร่วมกันระหว่างผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาและผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ในวันที่ 26 กันยายน 2544 โดยมีกำหนดเปิดซองประกวดราคาในวันที่ 9 ตุลาคม 2544 ส่วนเงื่อนไขในข้ออื่น ๆ บทม.ได้แจ้งให้ JBIC ทราบว่า ไม่อาจปฏิบัติได้ เนื่องจากจะทำให้ตารางเวลากำหนดการดำเนินงานเสียหายไม่เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี
6. แต่อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบเนื่องจากยังอาจมีประเด็นที่เป็นปัญหาได้อีก อาทิเช่น ผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 4 กลุ่มบริษัท เสนอราคาเกินกว่าราคากลาง หรือทางฝ่าย JBIC ใช้เวลาในการให้ความเห็นชอบในขั้นตอนอื่น ๆ เกินเวลาอันสมควร กระทรวงคมนาคมโดย บทม. จึงได้มีมาตรการและเตรียมการรองรับไว้ที่จะดำเนินการยกเลิกและประกวดราคาใหม่ หรือทำสัญญากับผู้ได้รับการคัดเลือกโดยใช้เงินทุนจากแหล่งอื่นไปก่อน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำสัญญาว่าจ้างการดำเนินงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 และทำพิธีวางศิลาฤกษ์ภายในต้นเดือนธันวาคม 2544 รวมทั้งก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2547 ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้
7. โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 ให้ดำเนินการประกวดราคา โดยเชิญผู้รับเหมาที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น จำนวน 9 กลุ่มบริษัท เข้าร่วมเสนอราคาใหม่ กระทรวงคมนาคม จึงใคร่ขอดำเนินการประกวดราคาในเบื้องต้นนี้ โดยเชิญผู้เข้าประกวดราคาเดิมจำนวน 4 กลุ่มบริษัท แต่มิใช่การประกวดราคาระบบ 2 Bid ทั้งนี้ หากผลการเปิดซองประกวดราคาในคราวนี้ไม่มีผู้รับเหมากลุ่มใดเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง ทาง บทม.จะดำเนินการยกเลิกการประกวดราคาและเชิญผู้รับเหมาที่ผ่านการ คัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น จำนวน 9 กลุ่มบริษัท หรือเพื่อกลุ่มบริษัทตามความเหมาะสม มาประกวดราคาใหม่ต่อไป ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวนี้ ยังคงอยู่ในกรอบตารางเวลาตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ได้ส่งแบบของ MJTA ที่ บทม. . และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JBIC) ได้เคยให้ความเห็นชอบไว้แล้วในการประกวดราคาครั้งแรก ในการนี้เพียงแต่ได้ปรับปรุงรายละเอียดของวัสดุก่อสร้างตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศให้มากที่สุด และเอกสารประกวดราคาที่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกันนั้น ให้ JBIC เห็นชอบเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 เพื่อจะนำไปประกวดราคาอีกครั้งหนึ่ง และขอให้ JBIC ตอบมาในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งไม่ควรเกินวันที่ 7 กันยายน 2544
2. ทางฝ่าย JBIC ได้มีหนังสือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอประชุมหารือ ซึ่งได้มีการประชุมหารือระหว่าง บทม. ,MJTA และคณะของ JBIC รวมทั้ง PMC ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ บทม. ในวันที่ 5,6,7 และ 10 สิงหาคม 2544 ในการประชุมหารือ คณะของ JBIC ได้สอบถามรายละเอียดในประเด็นที่เกี่ยวกับการลดขนาดความหนาของเหล็กโครงสร้างมีความเหมาะสมหรือไม่ จะทำให้อาคารมีความแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ ให้ชี้แจงเหตุผล และเปรียบเทียบรายการต่อรายการของวัสดุและการก่อสร้างที่ทำให้ราคาลดลงได้มาก ตลอดจนรายละเอียดของขั้นตอนการประกวดราคาโดยเฉพาะพยายามกำหนดให้ บทม.ดำเนินการตามขั้นตอนในการประกวดราคา เพื่อนำไปสู่การพิจารณาแบบสำรอง Fall Back Design (ฺBid 2) ซึ่งไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544
3. ในช่วงที่ได้มีการเจรจาหารือกับคณะของ JBIC ดังกล่าว บทม.ได้ชะลอการตอกเสาเข็มไว้ แต่ผลการประชุมหารือกับ JBIC กลับมีแนวโน้มว่า JBIC มีความประสงค์ที่จะให้ บทม.ดำเนินการประกวดราคา เพื่อนำไปสู่การพิจารณา BID 2 อีก ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ บทม. ไม่สามารถดำเนินการตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ และจะเป็นผลให้ไม่สามารถเริ่มงานทั้งในส่วนของงานตอกเสาเข็มและงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินได้ ทำให้ประเทศต้องสูญเสียโอกาสที่จะมีสนามบินที่ทันสมัยบริการรองรับการเจริญเติบโตของกิจการบินพลเรือน และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของประเทศ ดังนั้น ในวันที่ 12 กันยายน 2544 บท. จึงได้เริ่มงานตอกเสาเข็มเพื่อรองรับอาคาร ผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินตามแบบของ MJTA โดยใช้เงินทุนของ บทม.ไปก่อน
4. ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 JBIC ได้มีหนังสือแจ้งตอบเห็นชอบแบบของ MJTA และเอกสารประกวดราคาที่ได้ปรับปรุงเพื่อให้ บทม.ดำเนินการประกวดราคาต่อไป โดยมีเงื่อนไข 4 ประการ คือ
4.1 การประกวดราคายังคงเป็นระบบ 2 Bid ผู้รับเหมาที่มีสิทธิในการยื่นประกวดราคาจึงเป็น 4 กลุ่มบริษัทเดิม
4.2 JBIC ไม่ยอมรับว่าหากผลการประกวดราคาตามแบบปรับปรุงของ MJTA เกินราคากลาง บทม.ก็จะยกเลิกและประกวดราคาใหม่ โดยเชิญผู้รับเหมา 9 กลุ่มบริษัท และจะเพิ่มกลุ่มผู้รับเหมาตามความเหมาะสม
4.3 ในการดำเนินการประกวดราคาใหม่นี้ บทม. จะต้องขยายเวลาให้แก่กลุ่มผู้รับเหมา เมื่อมีผู้รับเหมารายหนึ่งรายใดร้องขอ
4.4 บทม. จะต้องจัดทำเอกสารประกวดราคาให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามข้อ 4.1 และข้อ 4.3 เสนอ JBIC เพื่อให้การรับรองอีกครั้งหนึ่งก่อนโดยเร็ว
5. บทม. ได้พิจารณาแนวทางการดำเนินการต่อไปแล้ว เห็นควรดำเนินการในข้อเงื่อนไขของ JBIC ข้อ 4.1 เฉพาะเรื่องจำนวนผู้ยื่นข้อเสนอ โดยในวันที่ 19 กันยายน 2544 บทม.จะเชิญผู้ยื่นข้อเสนอเดิมทั้ง 4 กลุ่มบริษัท มาเพื่อรับเอกสารประกวดราคาาตามที่ MJTA ปรับปรุง แต่มิใช่เป็นการประกวดราคาในระบบ 2 Bid ตามเงื่อนไขที่ JBIC กำหนด และจะมีการประชุมชี้แจงร่วมกันระหว่างผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาและผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ในวันที่ 26 กันยายน 2544 โดยมีกำหนดเปิดซองประกวดราคาในวันที่ 9 ตุลาคม 2544 ส่วนเงื่อนไขในข้ออื่น ๆ บทม.ได้แจ้งให้ JBIC ทราบว่า ไม่อาจปฏิบัติได้ เนื่องจากจะทำให้ตารางเวลากำหนดการดำเนินงานเสียหายไม่เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี
6. แต่อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบเนื่องจากยังอาจมีประเด็นที่เป็นปัญหาได้อีก อาทิเช่น ผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 4 กลุ่มบริษัท เสนอราคาเกินกว่าราคากลาง หรือทางฝ่าย JBIC ใช้เวลาในการให้ความเห็นชอบในขั้นตอนอื่น ๆ เกินเวลาอันสมควร กระทรวงคมนาคมโดย บทม. จึงได้มีมาตรการและเตรียมการรองรับไว้ที่จะดำเนินการยกเลิกและประกวดราคาใหม่ หรือทำสัญญากับผู้ได้รับการคัดเลือกโดยใช้เงินทุนจากแหล่งอื่นไปก่อน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำสัญญาว่าจ้างการดำเนินงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 และทำพิธีวางศิลาฤกษ์ภายในต้นเดือนธันวาคม 2544 รวมทั้งก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2547 ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้
7. โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 ให้ดำเนินการประกวดราคา โดยเชิญผู้รับเหมาที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น จำนวน 9 กลุ่มบริษัท เข้าร่วมเสนอราคาใหม่ กระทรวงคมนาคม จึงใคร่ขอดำเนินการประกวดราคาในเบื้องต้นนี้ โดยเชิญผู้เข้าประกวดราคาเดิมจำนวน 4 กลุ่มบริษัท แต่มิใช่การประกวดราคาระบบ 2 Bid ทั้งนี้ หากผลการเปิดซองประกวดราคาในคราวนี้ไม่มีผู้รับเหมากลุ่มใดเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง ทาง บทม.จะดำเนินการยกเลิกการประกวดราคาและเชิญผู้รับเหมาที่ผ่านการ คัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น จำนวน 9 กลุ่มบริษัท หรือเพื่อกลุ่มบริษัทตามความเหมาะสม มาประกวดราคาใหม่ต่อไป ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวนี้ ยังคงอยู่ในกรอบตารางเวลาตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-