คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 29 มีนาคม 2548 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ รวมตลอดถึงการพิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น จังหวัดชลบุรี ระยอง และบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด ได้รายงานสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2548 ดังนี้
1. ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำจังหวัดชลบุรี
หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ ความจุเต็มอ่าง ปริมาณน้ำ
ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2548
1. บางพระ 117.00 27.894
2. หนองค้อ 21.40 11.524
3.มาบประชัน 16.60 3.191
4. หนองกลางดง 7.65 1.755
5.บ้านบึง 2.00 2.154
6. ห้วยสะพาน 3.84 0.925
7. ห้วยขุนจิต 4.80 0.800
8. ชากนอก 7.03 0.757
2 .ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำจังหวัดระยอง
หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ ความจุเต็มอ่าง ปริมาณน้ำ
ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2548
1. หนองปลาไหล 165.000 53.005
2. ดอกกราย 71.400 31.560
3. ประแสร์ 248.000 160.700
4. คลองใหญ่ 40.100 19.700
ความคืบหน้าการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกของ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด มีดังนี้
1. การขุดลอกคลองชักน้ำอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลได้ดำเนินการแล้วเสร็จแล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2548
2. การวางท่อน้ำส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระ — โรงกรองน้ำประปาชลบุรี ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ตั้งแต่ วันที่ 31 กรกฎาคม 2548
3. การวางท่อส่งน้ำจากแม่น้ำระยอง — มาบข่า ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548
4. การวางท่อส่งน้ำจากบางปะกง — บางพระ ได้ดำเนินการแล้ว 64 % และขณะนี้มีอุปสรรคในเรื่องฝนตก และบางแห่งมีน้ำใต้ดินสูง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548
5. การวางท่อส่งน้ำประแสร์ — คลองใหญ่ ได้ดำเนินการแล้ว 7% และคาดว่าจะแล้วเสร็จในสิ้นเดือนมกราคม 2549
ทั้งนี้ กรมชลประทานรายงานว่าน้ำเหนือสูงสุดไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 1,828 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2548 ในสัปดาห์นี้น้ำทะเลจะสูงสุดในวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ระดับน้ำจะต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 1.32 เมตร กรมชลประทานยืนยันว่าจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 29 มีนาคม 2548 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ รวมตลอดถึงการพิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น จังหวัดชลบุรี ระยอง และบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด ได้รายงานสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2548 ดังนี้
1. ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำจังหวัดชลบุรี
หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ ความจุเต็มอ่าง ปริมาณน้ำ
ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2548
1. บางพระ 117.00 27.894
2. หนองค้อ 21.40 11.524
3.มาบประชัน 16.60 3.191
4. หนองกลางดง 7.65 1.755
5.บ้านบึง 2.00 2.154
6. ห้วยสะพาน 3.84 0.925
7. ห้วยขุนจิต 4.80 0.800
8. ชากนอก 7.03 0.757
2 .ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำจังหวัดระยอง
หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ ความจุเต็มอ่าง ปริมาณน้ำ
ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2548
1. หนองปลาไหล 165.000 53.005
2. ดอกกราย 71.400 31.560
3. ประแสร์ 248.000 160.700
4. คลองใหญ่ 40.100 19.700
ความคืบหน้าการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกของ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด มีดังนี้
1. การขุดลอกคลองชักน้ำอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลได้ดำเนินการแล้วเสร็จแล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2548
2. การวางท่อน้ำส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระ — โรงกรองน้ำประปาชลบุรี ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ตั้งแต่ วันที่ 31 กรกฎาคม 2548
3. การวางท่อส่งน้ำจากแม่น้ำระยอง — มาบข่า ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548
4. การวางท่อส่งน้ำจากบางปะกง — บางพระ ได้ดำเนินการแล้ว 64 % และขณะนี้มีอุปสรรคในเรื่องฝนตก และบางแห่งมีน้ำใต้ดินสูง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548
5. การวางท่อส่งน้ำประแสร์ — คลองใหญ่ ได้ดำเนินการแล้ว 7% และคาดว่าจะแล้วเสร็จในสิ้นเดือนมกราคม 2549
ทั้งนี้ กรมชลประทานรายงานว่าน้ำเหนือสูงสุดไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 1,828 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2548 ในสัปดาห์นี้น้ำทะเลจะสูงสุดในวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ระดับน้ำจะต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 1.32 เมตร กรมชลประทานยืนยันว่าจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ตุลาคม 2548--จบ--