คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดเขตการบังคับใช้กฎกระทรวงให้ครอบคลุมทุกเขตรวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โดยองค์การบริหารส่วนตำบลมีบทเฉพาะกาล 1 ปี (เดิมครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาล)
2. เพิ่มนิยาม “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” “แผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ” “การกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค” “กรณีที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงฯ” และ “ตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนกฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ”
3. ให้มีหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตลาด และให้ยกเว้นเรื่องโครงสร้างอาคารและสถานที่สำหรับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนร่างกฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการตลาด โดยเพิ่มเติมเรื่องการรักษาความสะอาด การควบคุมเหตุรำคาญ และการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ
4. กำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ขายสินค้าและผู้ช่วยขายสินค้าในตลาด
5. กำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ขายสินค้าและผู้ช่วยขายสินค้าในตลาด โดยเพิ่มเติมเรื่องการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร การจัดวางสินค้าให้สูงเกินกว่า 150 เซนติเมตร และสุขลักษณะส่วนบุคคล
6. ให้มีการปรับปรุงตลาดของราชการส่วนท้องถิ่นภายใน 2 ปี โดยเสนอแผนการปรับปรุงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมกิจการตลาดเอกชนให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีปัญหาโรคติดต่อใหม่เกิดขึ้น เช่น โรคระบบทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS) หรือ โรคไข้หวัดนก จึงจำเป็นต้องเพิ่มเติมบทบัญญัติด้านสุขลักษณะที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับผู้ประกอบกิจการตลาด รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลเรื่อง “อาหารปลอดภัย” ที่ต้องการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยใช้มาตรการด้านกฎหมายการสาธารณสุขไปสนับสนุนนโยบายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ด้วยเหตุนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการในการควบคุมหรือกำกับดูแลสำหรับกิจการตลาด ตลอดจนกำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนและวิธีการดำเนินการเพื่อตรวจสอบควบคุมหรือกำกับดูแล แก้ไขสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน จึงต้องยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) และปรับปรุงแก้ไขใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดเขตการบังคับใช้กฎกระทรวงให้ครอบคลุมทุกเขตรวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล โดยองค์การบริหารส่วนตำบลมีบทเฉพาะกาล 1 ปี (เดิมครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาล)
2. เพิ่มนิยาม “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” “แผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ” “การกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค” “กรณีที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงฯ” และ “ตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนกฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ”
3. ให้มีหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตลาด และให้ยกเว้นเรื่องโครงสร้างอาคารและสถานที่สำหรับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนร่างกฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการตลาด โดยเพิ่มเติมเรื่องการรักษาความสะอาด การควบคุมเหตุรำคาญ และการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ
4. กำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ขายสินค้าและผู้ช่วยขายสินค้าในตลาด
5. กำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ขายสินค้าและผู้ช่วยขายสินค้าในตลาด โดยเพิ่มเติมเรื่องการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร การจัดวางสินค้าให้สูงเกินกว่า 150 เซนติเมตร และสุขลักษณะส่วนบุคคล
6. ให้มีการปรับปรุงตลาดของราชการส่วนท้องถิ่นภายใน 2 ปี โดยเสนอแผนการปรับปรุงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมกิจการตลาดเอกชนให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีปัญหาโรคติดต่อใหม่เกิดขึ้น เช่น โรคระบบทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS) หรือ โรคไข้หวัดนก จึงจำเป็นต้องเพิ่มเติมบทบัญญัติด้านสุขลักษณะที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับผู้ประกอบกิจการตลาด รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลเรื่อง “อาหารปลอดภัย” ที่ต้องการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยใช้มาตรการด้านกฎหมายการสาธารณสุขไปสนับสนุนนโยบายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ด้วยเหตุนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการในการควบคุมหรือกำกับดูแลสำหรับกิจการตลาด ตลอดจนกำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนและวิธีการดำเนินการเพื่อตรวจสอบควบคุมหรือกำกับดูแล แก้ไขสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน จึงต้องยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) และปรับปรุงแก้ไขใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--