คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติจากคลื่นใต้น้ำ (Tsunami) จังหวัดระนอง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) เสนอดังนี้
ข้อมูลคืบหน้าความเสียหาย และการช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
1. ความเสียหาย
1.1 พื้นที่ประสบภัย
พื้นที่ประสบภัย จำนวนผู้ประสบภัย
ครัวเรือน ประชาชน
1. อำเภอเมือง 300 1,500
2. อำเภอกะเปอร์ 150 620
3. กิ่งอำเภอสุขสำราญ 676 1,650
1.2 ด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ผู้เสียชีวิตจำนวน 174 คน (คนไทย 172 คน ชาวพม่า 2 คน)
- ผู้ได้รับบาดเจ็บเข้ารักษาโรงพยาบาล 271 คน (คนไทย 243 คน ชาวพม่า 28 คน)
- สูญหาย 18 คน (เป็นคนไทยทั้งหมด)
- บ้านเรือนเสียหาย (เสียหายทั้งหลัง 194 หลัง เสียหายบางส่วน 109 หลัง)
รวมมูลค่าความเสียหาย ประมาณ 44.75 ล้านบาท
1.3 ด้านการประมง
- ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประสบภัย 843 ราย คิดเป็นพื้นที่ 63.48 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 40.69 ล้านบาท
- เรือประมงเสียหาย 455 ลำ มูลค่าความเสียหาย 3.33 ล้านบาท
รวมมูลค่าความเสียหายด้านประมงประมาณ 44.02 ล้านบาท
1.4 ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์
(1) ถนน 47 สาย (2) สะพาน 10 แห่ง (3) คอสะพาน 10 แห่ง (4) ท่าเรือ 8 แห่ง (5) สถานที่ราชการ 8 แห่งคือ โรงเรียน 4 แห่ง ศูนย์วิจัยประมงชายฝั่ง 2 แห่ง สถานีอนามัย 2 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง
รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 112 ล้านบาท
1.5 ด้านการเกษตร
- เกษตรกรผู้ได้รับความเสียหาย 241 ราย
- พื้นที่ประสบภัยจำนวน 2,313 ไร่ แยกเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น พื้นที่เสียหาย 767 ไร่
รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 485,549 บาท
1.6 ด้านปศุสัตว์
- เกษตรกรได้รับความเสียหาย 1,762 ราย สัตว์เลี้ยงได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ สัตว์ปีก และสุกร
รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 14,703,195 บาท
2. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของจังหวัด
ในเบื้องต้น จังหวัดได้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือเป็นค่าจัดการศพผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บแล้ว ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบอำนาจการใช้เงินทดรองราชการดังกล่าวให้นายอำเภอ โดยไม่จำกัดวงเงิน และให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เร่งให้การช่วยเหลือในทุก ๆ ด้านในทันทีที่มีหลักฐานข้อมูลถูกต้องชัดเจน หากการช่วยเหลือในด้านใดจำเป็นต้องยกเว้นผ่อนผันการปฏิบัติตามระเบียบฯ ให้พิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของภัยที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยในระหว่างที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ในส่วนของค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ ครอบครัวละไม่เกิน 10,000 บาท ไปก่อนเพื่อให้ผู้ประสบภัยใช้ในการดำรงชีวิตในชั้นต้น
สำหรับการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย กองทัพอากาศได้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการสร้าง และซ่อมแซมบ้านให้กับราษฎรผู้ประสบภัย
ทั้งนี้ การดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านอื่น ๆ ของจังหวัดระนองยังคงดำเนินอยู่ต่อไป โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ จนปัจจุบันสถานการณ์เกือบเข้าสู่ภาวะปกติแต่คงต้องได้รับความช่วยเหลือในเรื่อง สิ่งปลูกสร้างที่เสียหาย ได้แก่ ที่อยู่อาศัย โรงเรียน และสถานที่ราชการ และราษฎรต้องได้รับความช่วยเหลือทางด้านการประกอบอาชีพ ซึ่งผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง
อนึ่ง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดระนอง มีคนต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ประสบภัยในครั้งนี้จากจังหวัดต่าง ๆ เช่น พังงา ภูเก็ต กระบี่ เป็นต้น ได้อพยพเข้ามาในพื้นที่จังหวัดระนอง รวม 562 คน จังหวัดจึงได้จัดตั้งศูนย์อพยพขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนดำเนินการส่งกลับ หรือผลักดันตามแต่กรณีต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้ส่งกลับไปยังจังหวัดเกาะสอง 177 คน คงเหลือ 385 คน
นอกจากนี้ ตามที่คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้นำเงินกองทุนฯ ไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือ ดังนี้ (1) ผู้เสียชีวิต รายละ 20,000 บาท (2) ผู้บาดเจ็บรักษาตัวที่โรงพยาบาล รายละ 5,000 บาท (3) ผู้บาดเจ็บที่ไม่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาล รายละ 2,000 บาท (4) ผู้ว่างงาน รายละ 2,000 บาท
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 15 (นางวันเพ็ญ แกล้วทนงค์) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ได้นำเงินกองทุนฯ ไปมอบให้ผู้ประสบภัยพิบัติ ณ จังหวัดระนอง ระหว่าง วันที่ 1-2 มกราคม 2548 ดังนี้
ประเภทของผู้ประสบภัย มอบเงิน/คน จำนวน (คน) จำนวนเงิน (บาท)
ครอบครัวผู้เสียชีวิต 20,000 บาท 127 2,540,000.00
ผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล 5,000 บาท 26 130,000.00
ผู้บาดเจ็บ 2,000 บาท 95 190,000.00
รวม 248 2,860,000.00
สำหรับครอบครัวผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ที่ยังไม่สามารถมารับเงินช่วยเหลือของกองทุนฯ ในวัน
ดังกล่าวได้ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 15 ได้ให้จังหวัดติดตาม เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือครบตามจำนวนผู้ประสบภัยโดยเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
ข้อมูลคืบหน้าความเสียหาย และการช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
1. ความเสียหาย
1.1 พื้นที่ประสบภัย
พื้นที่ประสบภัย จำนวนผู้ประสบภัย
ครัวเรือน ประชาชน
1. อำเภอเมือง 300 1,500
2. อำเภอกะเปอร์ 150 620
3. กิ่งอำเภอสุขสำราญ 676 1,650
1.2 ด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ผู้เสียชีวิตจำนวน 174 คน (คนไทย 172 คน ชาวพม่า 2 คน)
- ผู้ได้รับบาดเจ็บเข้ารักษาโรงพยาบาล 271 คน (คนไทย 243 คน ชาวพม่า 28 คน)
- สูญหาย 18 คน (เป็นคนไทยทั้งหมด)
- บ้านเรือนเสียหาย (เสียหายทั้งหลัง 194 หลัง เสียหายบางส่วน 109 หลัง)
รวมมูลค่าความเสียหาย ประมาณ 44.75 ล้านบาท
1.3 ด้านการประมง
- ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประสบภัย 843 ราย คิดเป็นพื้นที่ 63.48 ไร่ มูลค่าความเสียหาย 40.69 ล้านบาท
- เรือประมงเสียหาย 455 ลำ มูลค่าความเสียหาย 3.33 ล้านบาท
รวมมูลค่าความเสียหายด้านประมงประมาณ 44.02 ล้านบาท
1.4 ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์
(1) ถนน 47 สาย (2) สะพาน 10 แห่ง (3) คอสะพาน 10 แห่ง (4) ท่าเรือ 8 แห่ง (5) สถานที่ราชการ 8 แห่งคือ โรงเรียน 4 แห่ง ศูนย์วิจัยประมงชายฝั่ง 2 แห่ง สถานีอนามัย 2 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง
รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 112 ล้านบาท
1.5 ด้านการเกษตร
- เกษตรกรผู้ได้รับความเสียหาย 241 ราย
- พื้นที่ประสบภัยจำนวน 2,313 ไร่ แยกเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น พื้นที่เสียหาย 767 ไร่
รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 485,549 บาท
1.6 ด้านปศุสัตว์
- เกษตรกรได้รับความเสียหาย 1,762 ราย สัตว์เลี้ยงได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ สัตว์ปีก และสุกร
รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 14,703,195 บาท
2. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของจังหวัด
ในเบื้องต้น จังหวัดได้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือเป็นค่าจัดการศพผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บแล้ว ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบอำนาจการใช้เงินทดรองราชการดังกล่าวให้นายอำเภอ โดยไม่จำกัดวงเงิน และให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เร่งให้การช่วยเหลือในทุก ๆ ด้านในทันทีที่มีหลักฐานข้อมูลถูกต้องชัดเจน หากการช่วยเหลือในด้านใดจำเป็นต้องยกเว้นผ่อนผันการปฏิบัติตามระเบียบฯ ให้พิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของภัยที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยในระหว่างที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ในส่วนของค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ ครอบครัวละไม่เกิน 10,000 บาท ไปก่อนเพื่อให้ผู้ประสบภัยใช้ในการดำรงชีวิตในชั้นต้น
สำหรับการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย กองทัพอากาศได้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการสร้าง และซ่อมแซมบ้านให้กับราษฎรผู้ประสบภัย
ทั้งนี้ การดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านอื่น ๆ ของจังหวัดระนองยังคงดำเนินอยู่ต่อไป โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ จนปัจจุบันสถานการณ์เกือบเข้าสู่ภาวะปกติแต่คงต้องได้รับความช่วยเหลือในเรื่อง สิ่งปลูกสร้างที่เสียหาย ได้แก่ ที่อยู่อาศัย โรงเรียน และสถานที่ราชการ และราษฎรต้องได้รับความช่วยเหลือทางด้านการประกอบอาชีพ ซึ่งผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง
อนึ่ง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดระนอง มีคนต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ประสบภัยในครั้งนี้จากจังหวัดต่าง ๆ เช่น พังงา ภูเก็ต กระบี่ เป็นต้น ได้อพยพเข้ามาในพื้นที่จังหวัดระนอง รวม 562 คน จังหวัดจึงได้จัดตั้งศูนย์อพยพขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนดำเนินการส่งกลับ หรือผลักดันตามแต่กรณีต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้ส่งกลับไปยังจังหวัดเกาะสอง 177 คน คงเหลือ 385 คน
นอกจากนี้ ตามที่คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้นำเงินกองทุนฯ ไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือ ดังนี้ (1) ผู้เสียชีวิต รายละ 20,000 บาท (2) ผู้บาดเจ็บรักษาตัวที่โรงพยาบาล รายละ 5,000 บาท (3) ผู้บาดเจ็บที่ไม่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาล รายละ 2,000 บาท (4) ผู้ว่างงาน รายละ 2,000 บาท
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 15 (นางวันเพ็ญ แกล้วทนงค์) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ได้นำเงินกองทุนฯ ไปมอบให้ผู้ประสบภัยพิบัติ ณ จังหวัดระนอง ระหว่าง วันที่ 1-2 มกราคม 2548 ดังนี้
ประเภทของผู้ประสบภัย มอบเงิน/คน จำนวน (คน) จำนวนเงิน (บาท)
ครอบครัวผู้เสียชีวิต 20,000 บาท 127 2,540,000.00
ผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล 5,000 บาท 26 130,000.00
ผู้บาดเจ็บ 2,000 บาท 95 190,000.00
รวม 248 2,860,000.00
สำหรับครอบครัวผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ที่ยังไม่สามารถมารับเงินช่วยเหลือของกองทุนฯ ในวัน
ดังกล่าวได้ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 15 ได้ให้จังหวัดติดตาม เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือครบตามจำนวนผู้ประสบภัยโดยเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--