ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจอนุมัติหลักการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรได้พิจารณาอนุมัติแล้ว 2 โครงการ คือ 1) โครงการแม่ลาว จ.เชียงราย วงเงิน 680 ล้านบาท 2) โครงการกระเสียว จ.สุพรรณบุรี วงเงิน 237.94 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้กรมชลประทานรับข้อสังเกตและข้อคิดเห็นของคณะกรรมการไปดำเนินการโดยให้สำนักงบประมาณพิจารณารายละเอียดของค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. โครงการปรับปรุงชลประทานขนาดใหญ่ (เพิ่มเติม) โครงการย่อย : โครงการชลประทานแม่ลาว จ.เชียงราย มีพื้นที่ชลประทาน 148,343 ไร่ แต่ปัจจุบันสามารถส่งน้ำได้เพียง 71% ของพื้นที่ (105,600 ไร่) จึงต้องปรับปรุงโครงการชลประทานที่ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2493 อายุการใช้งาน 50 ปี ให้เป็นระบบชลประทานเหมืองฝายกั้นลำน้ำแม่ลาว เพื่อทดน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขา ประกอบด้วยคลองส่งน้ำความยาว 180 กม. โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานเดิมที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ให้กลับมามีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจักส่งน้ำได้ตามปริมาณและตามเวลาที่ต้องการ
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำชลประทาน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรและองค์กรชุมชน
3) เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด
4) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมกรรมบูรณะการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกระบวนการพัฒนา
เป้าหมาย
1) เพิ่มประสิทธิภาพการชลประทาน จากเดิม 31% เป็น 47% (เพิ่ม 16%)
2) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จากเดิมที่มี Cropping Intensity 79.10% เป็น 125.00% (เพิ่มขึ้น 45.90%)
2. โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่ (เพิ่มเติม) โครงการย่อย : โครงการชลประทานกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่ชลประทาน 110,844 ไร่ แต่ปัจจุบันสามารถส่งน้ำได้ประมาณ 94% ของพื้นที่ (105,000 ไร่) มีแหล่งน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำกระเสียว และมีระบบคลองส่งน้ำ 7 สาย ซึ่งได้ปรับปรุงประสิทธิภาพคลองชลประทานไปแล้ว 3 สาย พื้นที่ส่งน้ำ 56,708 ไร่ ส่วนที่เหลืออีก 4 สาย พื้นที่ส่งน้ำ 54,136 ไร่ ยังคงมีสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงการชลประทานที่มีการก่อสร้างมานาน มีแหล่งน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำกระเสียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2509 อายุใช้งาน 34 ปี มีคลองส่งน้ำ 7 สาย และได้ทำการปรับปรุงคลองส่งน้ำไปแล้ว 3 สาย (พื้นที่ 56,708 ไร่) ยังคงเหลือคลองส่งน้ำที่มีสภาพทรุดโทรมอีก 4 สาย (54,136 ไร่) โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานเดิมที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ให้กลับมามีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดส่งน้ำได้ตามปริมาณและตามเวลาที่ต้องการ
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำชลประทาน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรและองค์กรชุมชน
3) เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด
4) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกระบวนการพัฒนา
เป้าหมาย
1) เพื่อประสิทธิภาพการชลประทาน จากเดิม 32% เป็น 50% (เพิ่ม 18%)
2) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จากเดิมที่มี Cropping Intensity 175.9% เป็น 180.8% (เพิ่มขึ้น 10.9%)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-รก/สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจอนุมัติหลักการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรได้พิจารณาอนุมัติแล้ว 2 โครงการ คือ 1) โครงการแม่ลาว จ.เชียงราย วงเงิน 680 ล้านบาท 2) โครงการกระเสียว จ.สุพรรณบุรี วงเงิน 237.94 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้กรมชลประทานรับข้อสังเกตและข้อคิดเห็นของคณะกรรมการไปดำเนินการโดยให้สำนักงบประมาณพิจารณารายละเอียดของค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. โครงการปรับปรุงชลประทานขนาดใหญ่ (เพิ่มเติม) โครงการย่อย : โครงการชลประทานแม่ลาว จ.เชียงราย มีพื้นที่ชลประทาน 148,343 ไร่ แต่ปัจจุบันสามารถส่งน้ำได้เพียง 71% ของพื้นที่ (105,600 ไร่) จึงต้องปรับปรุงโครงการชลประทานที่ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2493 อายุการใช้งาน 50 ปี ให้เป็นระบบชลประทานเหมืองฝายกั้นลำน้ำแม่ลาว เพื่อทดน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขา ประกอบด้วยคลองส่งน้ำความยาว 180 กม. โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานเดิมที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ให้กลับมามีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจักส่งน้ำได้ตามปริมาณและตามเวลาที่ต้องการ
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำชลประทาน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรและองค์กรชุมชน
3) เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด
4) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมกรรมบูรณะการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกระบวนการพัฒนา
เป้าหมาย
1) เพิ่มประสิทธิภาพการชลประทาน จากเดิม 31% เป็น 47% (เพิ่ม 16%)
2) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จากเดิมที่มี Cropping Intensity 79.10% เป็น 125.00% (เพิ่มขึ้น 45.90%)
2. โครงการปรับปรุงระบบชลประทานขนาดใหญ่ (เพิ่มเติม) โครงการย่อย : โครงการชลประทานกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่ชลประทาน 110,844 ไร่ แต่ปัจจุบันสามารถส่งน้ำได้ประมาณ 94% ของพื้นที่ (105,000 ไร่) มีแหล่งน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำกระเสียว และมีระบบคลองส่งน้ำ 7 สาย ซึ่งได้ปรับปรุงประสิทธิภาพคลองชลประทานไปแล้ว 3 สาย พื้นที่ส่งน้ำ 56,708 ไร่ ส่วนที่เหลืออีก 4 สาย พื้นที่ส่งน้ำ 54,136 ไร่ ยังคงมีสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงการชลประทานที่มีการก่อสร้างมานาน มีแหล่งน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำกระเสียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2509 อายุใช้งาน 34 ปี มีคลองส่งน้ำ 7 สาย และได้ทำการปรับปรุงคลองส่งน้ำไปแล้ว 3 สาย (พื้นที่ 56,708 ไร่) ยังคงเหลือคลองส่งน้ำที่มีสภาพทรุดโทรมอีก 4 สาย (54,136 ไร่) โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานเดิมที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ให้กลับมามีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดส่งน้ำได้ตามปริมาณและตามเวลาที่ต้องการ
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำชลประทาน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรและองค์กรชุมชน
3) เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด
4) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกระบวนการพัฒนา
เป้าหมาย
1) เพื่อประสิทธิภาพการชลประทาน จากเดิม 32% เป็น 50% (เพิ่ม 18%)
2) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกร จากเดิมที่มี Cropping Intensity 175.9% เป็น 180.8% (เพิ่มขึ้น 10.9%)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-รก/สส-