ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
(กำหนดเพิ่มเติมให้หมูป่าหรือซากหมูป่าเป็นสัตว์หรือซากสัตว์ควบคุมในการนำหรือเคลื่อนย้ายไปยังท้องที่ต่างจังหวัด)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (กำหนดเพิ่มเติมให้หมูป่าหรือซากหมูป่าเป็นสัตว์หรือซากสัตว์ควบคุมในการนำหรือเคลื่อนย้ายไปยังท้องที่ต่างจังหวัด) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคระบาดจากหมูป่าหรือซากหมูป่ามิให้มีการแพร่กระจาย และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า เนื่องจากได้มีการนำหรือเคลื่อนย้ายหมูป่าหรือซากหมูป่าไปยังท้องที่ต่างจังหวัด โดยมิได้มีการควบคุมหรือตรวจสอบโรคระบาดก่อนการเคลื่อนย้ายจากกรมปศุสัตว์ จึงอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคระบาดจากหมูป่าหรือซากหมูป่าดังกล่าวไปยังสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภคเนื้อหมูป่าที่เป็นพาหะของโรคระบาด ซึ่งโรคระบาดที่พบในหมูป่าและซากหมูป่านั้นมีทั้งชนิดที่ติดต่อระหว่างสัตว์ด้วยกันเอง เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease) โรคอหิวาต์สุกร (Swine Fever) และชนิดที่ติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน (Zoonosis) เช่น โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) โรคสมองอักเสบนิปาห์ (Nipah Encephalitis) โรคสมองอักเสบเจแปนิส (Japanese Encephalitis) โดยเฉพาะโรคทริคิโนซีสนั้น พบว่าในระหว่างปี 2505 -2542 ที่ผ่านมาได้มีประชาชนที่บริโภคเนื้อหมูป่าแสดงอาการป่วย 1,340 ราย และเสียชีวิต 23 ราย
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ แก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดวิธีปฏิบัติในการนำสัตว์ไปยังต่างจังหวัด โดยให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เพื่อกำหนดเพิ่มเติมให้หมูป่าหรือซากหมูป่าเป็นสัตว์หรือซากสัตว์ควบคุมในการนำหรือเคลื่อนย้ายไปยังท้องที่ต่างจังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
(กำหนดเพิ่มเติมให้หมูป่าหรือซากหมูป่าเป็นสัตว์หรือซากสัตว์ควบคุมในการนำหรือเคลื่อนย้ายไปยังท้องที่ต่างจังหวัด)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (กำหนดเพิ่มเติมให้หมูป่าหรือซากหมูป่าเป็นสัตว์หรือซากสัตว์ควบคุมในการนำหรือเคลื่อนย้ายไปยังท้องที่ต่างจังหวัด) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคระบาดจากหมูป่าหรือซากหมูป่ามิให้มีการแพร่กระจาย และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า เนื่องจากได้มีการนำหรือเคลื่อนย้ายหมูป่าหรือซากหมูป่าไปยังท้องที่ต่างจังหวัด โดยมิได้มีการควบคุมหรือตรวจสอบโรคระบาดก่อนการเคลื่อนย้ายจากกรมปศุสัตว์ จึงอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคระบาดจากหมูป่าหรือซากหมูป่าดังกล่าวไปยังสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภคเนื้อหมูป่าที่เป็นพาหะของโรคระบาด ซึ่งโรคระบาดที่พบในหมูป่าและซากหมูป่านั้นมีทั้งชนิดที่ติดต่อระหว่างสัตว์ด้วยกันเอง เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease) โรคอหิวาต์สุกร (Swine Fever) และชนิดที่ติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน (Zoonosis) เช่น โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) โรคสมองอักเสบนิปาห์ (Nipah Encephalitis) โรคสมองอักเสบเจแปนิส (Japanese Encephalitis) โดยเฉพาะโรคทริคิโนซีสนั้น พบว่าในระหว่างปี 2505 -2542 ที่ผ่านมาได้มีประชาชนที่บริโภคเนื้อหมูป่าแสดงอาการป่วย 1,340 ราย และเสียชีวิต 23 ราย
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ แก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดวิธีปฏิบัติในการนำสัตว์ไปยังต่างจังหวัด โดยให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เพื่อกำหนดเพิ่มเติมให้หมูป่าหรือซากหมูป่าเป็นสัตว์หรือซากสัตว์ควบคุมในการนำหรือเคลื่อนย้ายไปยังท้องที่ต่างจังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-