ทำเนียบรัฐบาล--12 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารนโยบายสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งจะเป็นผลให้การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งบรรลุวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ให้ทุกกระทรวงออกคำสั่งให้ถือว่าการทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและโครงการลงทุนทางสังคม (SIF) โดยไม่กระทบต่องานหลักที่รับผิดชอบเป็นการปฏิบัติราชการ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแจ้งเวียนให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารนโยบายสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า กนส. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธาน รัฐมนตรีทุกกระทรวงและปลัดกระทรวงทุกกระทรวงเป็นกรรมการ มีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน และผู้นำชุมชนจากทุกอนุภาคจำนวน 9 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
2. ให้ กนส. มีอำนาจหน้าที่กำหนดและบริหารนโยบายการพัฒนาทางด้านสังคม โดยให้ความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือระหว่างบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน กำหนดให้ภาครัฐและเอกชนจัดทำแผนปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสังคม ติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
3. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า "สกนส." เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการของ กนส. โดยมีอำนาจหน้าที่ประสานนโยบายและประสานงานระหว่างหน่วยราชการต่างๆ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม เพื่อนำเสนอ กนส. พิจารณากำหนดให้เป็นนโยบายการพัฒนาสังคม รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์ปัญหาและให้ข้อเสนอแนะในการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมก่อนนำเสนอ กนส. เพื่อพิจารณาดำเนินกาารต่อไป
4. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติขออนุมัติงบบริหารจาก กนส. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของ กนส. และ สกนส.
5. ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมายเป็นผู้อำนวยการ สกนส.
6. ให้มีคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วย รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานอนุกรรมการ และผู้อำนวยการ สกนส. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ประสานกำกับ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนติดตามความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค พร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ไขในการดำเนินงาน
7. ให้กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาสังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารนโยบายสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งจะเป็นผลให้การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งบรรลุวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ให้ทุกกระทรวงออกคำสั่งให้ถือว่าการทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและโครงการลงทุนทางสังคม (SIF) โดยไม่กระทบต่องานหลักที่รับผิดชอบเป็นการปฏิบัติราชการ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแจ้งเวียนให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารนโยบายสังคมแห่งชาติ พ.ศ. …. มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า กนส. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธาน รัฐมนตรีทุกกระทรวงและปลัดกระทรวงทุกกระทรวงเป็นกรรมการ มีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน และผู้นำชุมชนจากทุกอนุภาคจำนวน 9 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
2. ให้ กนส. มีอำนาจหน้าที่กำหนดและบริหารนโยบายการพัฒนาทางด้านสังคม โดยให้ความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือระหว่างบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน กำหนดให้ภาครัฐและเอกชนจัดทำแผนปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสังคม ติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
3. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า "สกนส." เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการของ กนส. โดยมีอำนาจหน้าที่ประสานนโยบายและประสานงานระหว่างหน่วยราชการต่างๆ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม เพื่อนำเสนอ กนส. พิจารณากำหนดให้เป็นนโยบายการพัฒนาสังคม รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์ปัญหาและให้ข้อเสนอแนะในการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมก่อนนำเสนอ กนส. เพื่อพิจารณาดำเนินกาารต่อไป
4. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติขออนุมัติงบบริหารจาก กนส. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของ กนส. และ สกนส.
5. ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมายเป็นผู้อำนวยการ สกนส.
6. ให้มีคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วย รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานอนุกรรมการ และผู้อำนวยการ สกนส. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ประสานกำกับ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนติดตามความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค พร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ไขในการดำเนินงาน
7. ให้กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาสังคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ก.ย. 2543--
-สส-