ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.พ.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการปรับปรุงการจัดสรรและการใช้จ่ายเงินภาครัฐให้แก่กองทุนต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
การจัดสรรและการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นจากเงินกู้ต่างประเทศ พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พระราชบัญญัติงบประมาณ และพระราชบัญญัติเฉพาะ มีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองและมีขอบเขตการใช้จ่ายเงินที่ชัดเจนภายใต้วัตถุประสงค์และเงื่อนไขของการกู้เงินนั้น ๆ และยังต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าของแหล่งเงินกู้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ แล้วแต่กรณี แม้แต่การใช้จ่ายเงินจากกองทุนหรือกองทุนหมุนเวียนก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับทุนหมุนเวียนที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังเว้นแต่เป็นนโยบายของรัฐบาลและสั่งการในเรื่องดังกล่าวไว้ดังเช่นกรณีการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2534 ซึ่งให้คณะกรรมการมีอำนาจในการบริหารจัดการและอนุมัติการใช้จ่ายทุนหมุนเวียนได้ โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง และกฎหมายจัดตั้งยังมีข้อกำหนดให้สามารถนำเงินกู้เข้าสมทบใช้จ่ายได้ เช่น กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กองทุนสิ่งแวดล้อม และกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ดังนั้น การกู้เงินจากต่างประเทศรวมตลอดถึงการใช้จ่ายเงินกู้ที่ได้รับมานั้น จึงต้องกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการใช้จ่ายเงินไว้อย่างชัดเจน และเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (11 พฤษภาคม 2542) เห็นชอบแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐเพื่อมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐไปสู่ "รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการงบประมาณจากเดิมที่มุ่งเน้นการควบคุมการใช้ทรัพยากรเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลผลิตและผลลัพธ์ของงาน และได้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงพระราชบัญญัติงบประมาณ ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรและการใช้จ่ายเงินภาครัฐให้แก่กองทุนต่าง ๆ มีความเหมาะสมและชัดเจน กระทรวงการคลังจึงได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการปรับปรุงพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติดังกล่าวให้ชัดเจนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการปรับปรุงการจัดสรรและการใช้จ่ายเงินภาครัฐให้แก่กองทุนต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
การจัดสรรและการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นจากเงินกู้ต่างประเทศ พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พระราชบัญญัติงบประมาณ และพระราชบัญญัติเฉพาะ มีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองและมีขอบเขตการใช้จ่ายเงินที่ชัดเจนภายใต้วัตถุประสงค์และเงื่อนไขของการกู้เงินนั้น ๆ และยังต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าของแหล่งเงินกู้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ แล้วแต่กรณี แม้แต่การใช้จ่ายเงินจากกองทุนหรือกองทุนหมุนเวียนก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับทุนหมุนเวียนที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังเว้นแต่เป็นนโยบายของรัฐบาลและสั่งการในเรื่องดังกล่าวไว้ดังเช่นกรณีการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2534 ซึ่งให้คณะกรรมการมีอำนาจในการบริหารจัดการและอนุมัติการใช้จ่ายทุนหมุนเวียนได้ โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง และกฎหมายจัดตั้งยังมีข้อกำหนดให้สามารถนำเงินกู้เข้าสมทบใช้จ่ายได้ เช่น กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กองทุนสิ่งแวดล้อม และกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น ดังนั้น การกู้เงินจากต่างประเทศรวมตลอดถึงการใช้จ่ายเงินกู้ที่ได้รับมานั้น จึงต้องกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการใช้จ่ายเงินไว้อย่างชัดเจน และเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (11 พฤษภาคม 2542) เห็นชอบแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐเพื่อมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐไปสู่ "รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการงบประมาณจากเดิมที่มุ่งเน้นการควบคุมการใช้ทรัพยากรเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลผลิตและผลลัพธ์ของงาน และได้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงพระราชบัญญัติงบประมาณ ดังนั้น เพื่อให้การจัดสรรและการใช้จ่ายเงินภาครัฐให้แก่กองทุนต่าง ๆ มีความเหมาะสมและชัดเจน กระทรวงการคลังจึงได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการปรับปรุงพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติดังกล่าวให้ชัดเจนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-