คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการของกระทรวงคมนาคมเกี่ยวกับความล่าช้าและความเสียหายของโครงการจัดหาเรือขุดหัวสว่าน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อส่งดิน 28 นิ้ว จำนวน 3 ลำ ที่แม้ว่าคณะรัฐมนตรีชุดที่ผ่านมาจะมีการขยายระยะเวลาส่งมอบของบริษัท Ellicott Machine Corporation International จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 แต่กรมเจ้าท่ายังไม่ได้รับแต่อย่างใด คณะกรรมการตรวจสอบและเร่งรัดการปฏิบัติตามสัญญาฯ ได้รายงานผลให้ทราบ ดังนี้
1. ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบ พบว่ากรมเจ้าท่าได้จ่ายเงินให้บริษัทฯ ไปแล้ว เป็นเงิน 42,720,812.15เหรียญสหรัฐฯ จากจำนวนเงิน 49,400,000 เหรียญสหรัฐฯ คงเหลือเงินที่ยังไม่ได้จ่ายตามสัญญาจ้างอีก 6,666,687.85 เหรียญสหรัฐฯ แต่กรมเจ้าท่าได้รับเรือพี่เลี้ยง 3 ลำ อุปกรณ์ที่เป็นท่อทุ่นและอะไหล่เรือขุด คิดเป็นเงินเพียง 6,678,187.85 เหรียญสหรัฐฯ โดยอุปกรณ์ที่เป็นท่อทุ่นและอะไหล่เรือขุดยังใช้งานไม่ได้เพราะไม่ได้รับเรือขุด ซึ่งเท่ากับว่ามีเรือพี่เลี้ยง 3 ลำเท่านั้นที่พอจะนำมาใช้ประโยชน์ได้แต่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ เพราะเรือพี่เลี้ยงต่อขึ้นเพื่อใช้กับเรือขุด ส่วนอุปกรณ์ที่เป็นท่อทุ่นและค่าอะไหล่ (ที่ใช้กับเรือขุด) รับไว้โดยไม่ได้ประโยชน์กับทางราชการ เนื่องจากยังไม่ได้รับเรือขุด ดังนั้น ความเสียหายของกรมเจ้าท่าจึงเท่ากับส่วนต่างของเงินที่จ่ายไปแล้ว หักกับผลประโยชน์ที่กรมเจ้าท่าจะได้รับจริงเป็นเงิน 42,720,812.00 เหรียญสหรัฐฯ หักด้วย 2,671,675.00 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 40,049,137.00 เหรียญสหรัฐฯ
2. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น กรมเจ้าท่าได้รับความเสียหายทั้งตัวเงินและระยะเวลาที่จะได้รับเรือขุด 3 ลำมาใช้ตามภารกิจที่กำหนดไว้ จึงควรดำเนินการให้บริษัทฯ ส่งมอบเรือขุด 3 ลำ ในสภาพที่เสร็จสมบูรณ์ โดยกรมเจ้าท่าอาจนำเสนอคณะรัฐมนตรี ขยายระยะเวลาให้บริษัทฯ ดำเนินการต่อเรือให้แล้วเสร็จจึงจะจ่ายเงินที่ยังเหลืออยู่ให้ โดยไม่ควรปรับลดวงเงินค้ำประกันต่าง ๆ หรือต่อรองเรื่องเงินที่ค้างจ่าย หรือเรื่องการนำเรือมาต่อที่ประเทศไทย ตามที่บริษัทฯ ได้เสนอต่อคณะที่ปรึกษาพิเศษฯ ในการเจรจาภายหลังจากขยายสัญญาไปจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 แล้ว เพราะสถานการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป บริษัทฯ ไม่ได้มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อเรือขุด 3 ลำ ให้แล้วเสร็จที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในประเทศไทย
3. ความเสียหายจากการกระทำของคณะกรรมการตรวจการจ้างฯ และอธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะผู้แทนกรมเจ้าท่าที่รับผิดชอบในแต่ละช่วงแต่ละตอน โดยไม่ได้คำนึงถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบที่มีต่อองค์กรและรัฐ ล้วนเป็นต้นเหตุทำให้กรมเจ้าท่าเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ได้รับเรื่องร้องเรียนไว้ไต่สวนแล้ว ควรให้กรมเจ้าท่าส่งข้อมูลนี้ไปยังคณะกรรมการ ปปช. เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
4. นอกจากนี้ คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงอีกชุดหนึ่ง โดยมี นายมนูญ เรืองกฤษ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ได้สรุปว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากปัญหาภายในของบริษัทฯ ที่ไม่พร้อมจะดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาฯ หากกรมเจ้าท่าจะใช้ดุลยพินิจพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ก็ไม่ควรจะให้บริษัทฯ เป็นผู้รับงานประกวดราคาและเป็นคู่สัญญากับกรมเจ้าท่า และการดำเนินการจัดหาและการทำสัญญาฯ ของกรมเจ้าท่าค่อนข้างจะเสียเปรียบและไม่ค่อยจะเป็นประโยชน์กับทางราชการมากนัก
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ ดังนี้
1. จัดส่งรายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ให้คณะกรรมการ ปปช. ดำเนินการตามกฎหมาย และขอความร่วมมือให้คณะกรรมการ ปปช. เร่งรัดดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากปรากฏผลเสียหายแก่ทางราชการเป็นอย่างมาก
2. ดำเนินการตามระเบียบและขั้นตอนทางราชการกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงการจัดหาเรือขุดฯ ครั้งนี้
3. ตั้งคณะกรรมการระดับกระทรวงเพื่อดำเนินการ
3.1 เร่งรัดบริษัทฯ ให้ดำเนินการส่งมอบเรือขุดทั้ง 3 ลำโดยเร็ว หากบริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการบังคับตามสัญญาฯ และกฎหมาย
3.2 ประสานงานและเจรจากับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาฯ เพื่อประสานงานกับธนาคารเอ็กซิมแบงค์ และธนาคารเฟิร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ของสหรัฐอเมริกา ให้บริษัทฯ เร่งปฏิบัติตามสัญญาฯ โดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
1. ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบ พบว่ากรมเจ้าท่าได้จ่ายเงินให้บริษัทฯ ไปแล้ว เป็นเงิน 42,720,812.15เหรียญสหรัฐฯ จากจำนวนเงิน 49,400,000 เหรียญสหรัฐฯ คงเหลือเงินที่ยังไม่ได้จ่ายตามสัญญาจ้างอีก 6,666,687.85 เหรียญสหรัฐฯ แต่กรมเจ้าท่าได้รับเรือพี่เลี้ยง 3 ลำ อุปกรณ์ที่เป็นท่อทุ่นและอะไหล่เรือขุด คิดเป็นเงินเพียง 6,678,187.85 เหรียญสหรัฐฯ โดยอุปกรณ์ที่เป็นท่อทุ่นและอะไหล่เรือขุดยังใช้งานไม่ได้เพราะไม่ได้รับเรือขุด ซึ่งเท่ากับว่ามีเรือพี่เลี้ยง 3 ลำเท่านั้นที่พอจะนำมาใช้ประโยชน์ได้แต่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ เพราะเรือพี่เลี้ยงต่อขึ้นเพื่อใช้กับเรือขุด ส่วนอุปกรณ์ที่เป็นท่อทุ่นและค่าอะไหล่ (ที่ใช้กับเรือขุด) รับไว้โดยไม่ได้ประโยชน์กับทางราชการ เนื่องจากยังไม่ได้รับเรือขุด ดังนั้น ความเสียหายของกรมเจ้าท่าจึงเท่ากับส่วนต่างของเงินที่จ่ายไปแล้ว หักกับผลประโยชน์ที่กรมเจ้าท่าจะได้รับจริงเป็นเงิน 42,720,812.00 เหรียญสหรัฐฯ หักด้วย 2,671,675.00 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 40,049,137.00 เหรียญสหรัฐฯ
2. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น กรมเจ้าท่าได้รับความเสียหายทั้งตัวเงินและระยะเวลาที่จะได้รับเรือขุด 3 ลำมาใช้ตามภารกิจที่กำหนดไว้ จึงควรดำเนินการให้บริษัทฯ ส่งมอบเรือขุด 3 ลำ ในสภาพที่เสร็จสมบูรณ์ โดยกรมเจ้าท่าอาจนำเสนอคณะรัฐมนตรี ขยายระยะเวลาให้บริษัทฯ ดำเนินการต่อเรือให้แล้วเสร็จจึงจะจ่ายเงินที่ยังเหลืออยู่ให้ โดยไม่ควรปรับลดวงเงินค้ำประกันต่าง ๆ หรือต่อรองเรื่องเงินที่ค้างจ่าย หรือเรื่องการนำเรือมาต่อที่ประเทศไทย ตามที่บริษัทฯ ได้เสนอต่อคณะที่ปรึกษาพิเศษฯ ในการเจรจาภายหลังจากขยายสัญญาไปจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 แล้ว เพราะสถานการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป บริษัทฯ ไม่ได้มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อเรือขุด 3 ลำ ให้แล้วเสร็จที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในประเทศไทย
3. ความเสียหายจากการกระทำของคณะกรรมการตรวจการจ้างฯ และอธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะผู้แทนกรมเจ้าท่าที่รับผิดชอบในแต่ละช่วงแต่ละตอน โดยไม่ได้คำนึงถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบที่มีต่อองค์กรและรัฐ ล้วนเป็นต้นเหตุทำให้กรมเจ้าท่าเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ได้รับเรื่องร้องเรียนไว้ไต่สวนแล้ว ควรให้กรมเจ้าท่าส่งข้อมูลนี้ไปยังคณะกรรมการ ปปช. เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
4. นอกจากนี้ คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงอีกชุดหนึ่ง โดยมี นายมนูญ เรืองกฤษ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ได้สรุปว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากปัญหาภายในของบริษัทฯ ที่ไม่พร้อมจะดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาฯ หากกรมเจ้าท่าจะใช้ดุลยพินิจพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ก็ไม่ควรจะให้บริษัทฯ เป็นผู้รับงานประกวดราคาและเป็นคู่สัญญากับกรมเจ้าท่า และการดำเนินการจัดหาและการทำสัญญาฯ ของกรมเจ้าท่าค่อนข้างจะเสียเปรียบและไม่ค่อยจะเป็นประโยชน์กับทางราชการมากนัก
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ ดังนี้
1. จัดส่งรายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ให้คณะกรรมการ ปปช. ดำเนินการตามกฎหมาย และขอความร่วมมือให้คณะกรรมการ ปปช. เร่งรัดดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากปรากฏผลเสียหายแก่ทางราชการเป็นอย่างมาก
2. ดำเนินการตามระเบียบและขั้นตอนทางราชการกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงการจัดหาเรือขุดฯ ครั้งนี้
3. ตั้งคณะกรรมการระดับกระทรวงเพื่อดำเนินการ
3.1 เร่งรัดบริษัทฯ ให้ดำเนินการส่งมอบเรือขุดทั้ง 3 ลำโดยเร็ว หากบริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการบังคับตามสัญญาฯ และกฎหมาย
3.2 ประสานงานและเจรจากับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาฯ เพื่อประสานงานกับธนาคารเอ็กซิมแบงค์ และธนาคารเฟิร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ของสหรัฐอเมริกา ให้บริษัทฯ เร่งปฏิบัติตามสัญญาฯ โดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-