ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์) เสนอ รายงานสรุปการทำประชาพิจารณ์ประจำปี 2542 ของส่วนราชการต่าง ๆ พร้อมข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ และเห็นชอบให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ข้อสังเกต
1.1 การจัดทำประชาพิจารณ์ตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ได้รับรายงานจากส่วนราชการต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมิได้ดำเนินการตามกระบวนการและหลักเกณฑ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำประชาพิจารณ์จึงยังไม่สอดคล้องและเป็นไปตามความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน
1.2 บทนิยามคำว่า "โครงการของรัฐ" ตามระเบียบฯ มีความหมายครอบคลุมถึงร่างพระราชบัญญัติหรือร่างกฎกระทรวงที่มีการจัดทำประชาพิจารณ์หรือไม่เพียงใด จึงควรกำหนดขอบเขตโครงการของรัฐให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1.3 การตัดสินใจสั่งให้ประชาพิจารณ์ตามระเบียบฯ ข้อ 7 ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากให้อำนาจพิจารณากับรัฐมนตรี สำหรับราชการส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับราชการของกรุงเทพมหานคร แต่กำหนดให้เฉพาะรัฐมนตรีสั่งให้ประชาพิจารณ์ตามระเบียบฯ เท่านั้น
1.4 การแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ตามที่ระเบียบฯ กำหนดว่า ต้องไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการของรัฐในเรื่องนั้น รวมทั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ ให้แต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์จากผู้ที่มีความเป็นกลางและเหมาะสมในปัญหาที่จะประชาพิจารณ์ และมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ตลอดจนมีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในทางปฏิบัติเมื่อมีการแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ จะมีการคัดค้านกรรมการประชาพิจารณ์ในเรื่องมีส่วนได้เสียและไม่เป็นที่ยอมรับ จึงควรมีแนวทางสำหรับพิจารณาแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
1.5 ความมุ่งหมายของการประชาพิจารณ์เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีโอกาสรับทราบข้อเท็จจริง ซักถามเหตุผลและร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงตัวเป็นผู้ที่สนับสนุนหรือคัดค้าน การจัดทำประชาพิจารณ์โดยกำหนดประเด็นให้ประชาชนลงทะเบียนในประเด็นสนับสนุนหรือคัดค้าน จึงเป็นการสร้างความขัดแย้งในบรรดาผู้มีส่วนได้เสียที่เข้าร่วมประชาพิจารณ์ตั้งแต่เริ่มต้น
1.6 การเตรียมข้อมูลเบื้องต้นของโครงการที่จัดทำประชาพิจารณ์ เป็นสาระสำคัญที่จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียที่ลงทะเบียนประชาพิจารณ์ได้รับทราบข้อมูล หน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการประชาพิจารณ์ จึงต้องให้ความสำคัญและดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์
1.7 การดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ มีขั้นตอนและระยะเวลากำหนดไว้เป็นการทั่วไป ทำให้การจัดทำประชาพิจารณ์โครงการที่แตกต่างกันไม่มีความคล่องตัว
1.8 การส่งรายงานของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ให้รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่สั่งให้มีการประชาพิจารณ์แล้วแต่กรณี และให้ส่งรายงานให้คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ด้วย ตามระเบียบฯ ข้อ 16 เพื่อให้คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์จัดทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรีปีละครั้ง ในทางปฏิบัติคณะกรรมการประชาพิจารณ์ไม่ส่งรายงานการประชาพิจารณ์ให้คณะที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์จึงต้องแจ้งให้ส่วนราชการต่าง ๆ แจ้งผลการประชาพิจารณ์ให้คณะที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ทราบ
1.9 ค่าใช้จ่ายในการจัดทำประชาพิจารณ์กำหนดให้เบิกจ่ายจากหน่วยงานของรัฐที่จัดทำประชาพิจารณ์เป็นปัญหาในกรณีจัดทำประชาพิจารณ์ในขอบเขตที่กว้างขวาง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบฯ กำหนด โดยเฉพาะส่วนราชการต่าง ๆ มิได้จัดตั้งงบประมาณสำหรับจัดทำประชาพิจารณ์ไว้ล่วงหน้า จึงควรจัดสรรงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่จำเป็นต้องจัดทำประชาพิจารณ์สามารถดำเนินการได้
2. ข้อเสนอแนะ
2.1 การทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบฯ มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างไปจากการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม และมิใช่การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการของรัฐที่ได้ตัดสินใจดำเนินการไปแล้ว ทั้งนี้ การทำประชาพิจารณ์ต้องดำเนินก่อนตัดสินใจทำโครงการหรือก่อนอนุญาตให้ดำเนินโครงการ
2.2 การทำประชาพิจารณ์มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ได้รับทราบข้อเท็จจริง เหตุผลในการจัดทำโครงการและสอบถามรายละเอียดของโครงการ โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการนั้น เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเพิ่มขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 59 ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติตราขึ้นใช้บังคับตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรานี้ การประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมีหลักเกณฑ์และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติในการทำประชาพิจารณ์ของส่วนราชการต่าง ๆ
2.3 การแต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์โครงการของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐและผู้มีอำนาจแต่งตั้งพิจารณาถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ และประกาศของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์เพื่อให้การประชาพิจารณ์เป็นที่ยอมรับและประชาชนเข้าร่วมประชาพิจารณ์แทนการประท้วงและคัดค้านการประชาพิจารณ์ตั้งแต่เริ่มต้น
2.4 การปฏิบัติงานของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการประชาพิจารณ์ตามประกาศของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ โดยเฉพาะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์แสดงความคิดเห็นและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการของรัฐ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ ทั้งนี้ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ควรซักถามหน่วยงานของรัฐที่แถลงข้อเท็จจริงเฉพาะในประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนเท่านั้น
2.5 หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการทำประชาพิจารณ์ต้องสนับสนุนการประชาพิจารณ์ ในเรื่องข้อมูลเบื้องต้นของโครงการและค่าใช้จ่ายการทำประชาพิจารณ์ตามความจำเป็น เพื่อให้กระบวนการประชาพิจารณ์มีความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
2.6 การทำประชาพิจารณ์มีความมุ่งหมายให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมประชาพิจารณ์เพื่อสร้างความเข้าใจมิใช่การสร้างความขัดแย้งในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะการแบ่งประชาชนที่เข้าร่วมประชาพิจารณ์ออกเป็นกลุ่มที่คัดค้าน และกลุ่มที่สนับสนุนไม่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
2.7 การรายงานผลการประชาพิจารณ์ คณะกรรมการประชาพิจารณ์โครงการของรัฐต้องส่งรายงานให้คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 16 ทุกราย
2.8 ข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น เห็นควรซักซ้อมความเข้าใจกับส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้การทำประชาพิจารณ์เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 59 นโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันที่ได้แถลงไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎร ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีความโปร่งใส สนองตอบปัญหาและความต้องการของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์) เสนอ รายงานสรุปการทำประชาพิจารณ์ประจำปี 2542 ของส่วนราชการต่าง ๆ พร้อมข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ และเห็นชอบให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ข้อสังเกต
1.1 การจัดทำประชาพิจารณ์ตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ได้รับรายงานจากส่วนราชการต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมิได้ดำเนินการตามกระบวนการและหลักเกณฑ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำประชาพิจารณ์จึงยังไม่สอดคล้องและเป็นไปตามความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน
1.2 บทนิยามคำว่า "โครงการของรัฐ" ตามระเบียบฯ มีความหมายครอบคลุมถึงร่างพระราชบัญญัติหรือร่างกฎกระทรวงที่มีการจัดทำประชาพิจารณ์หรือไม่เพียงใด จึงควรกำหนดขอบเขตโครงการของรัฐให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1.3 การตัดสินใจสั่งให้ประชาพิจารณ์ตามระเบียบฯ ข้อ 7 ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากให้อำนาจพิจารณากับรัฐมนตรี สำหรับราชการส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับราชการของกรุงเทพมหานคร แต่กำหนดให้เฉพาะรัฐมนตรีสั่งให้ประชาพิจารณ์ตามระเบียบฯ เท่านั้น
1.4 การแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ตามที่ระเบียบฯ กำหนดว่า ต้องไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการของรัฐในเรื่องนั้น รวมทั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ ให้แต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์จากผู้ที่มีความเป็นกลางและเหมาะสมในปัญหาที่จะประชาพิจารณ์ และมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ตลอดจนมีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในทางปฏิบัติเมื่อมีการแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ จะมีการคัดค้านกรรมการประชาพิจารณ์ในเรื่องมีส่วนได้เสียและไม่เป็นที่ยอมรับ จึงควรมีแนวทางสำหรับพิจารณาแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
1.5 ความมุ่งหมายของการประชาพิจารณ์เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีโอกาสรับทราบข้อเท็จจริง ซักถามเหตุผลและร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงตัวเป็นผู้ที่สนับสนุนหรือคัดค้าน การจัดทำประชาพิจารณ์โดยกำหนดประเด็นให้ประชาชนลงทะเบียนในประเด็นสนับสนุนหรือคัดค้าน จึงเป็นการสร้างความขัดแย้งในบรรดาผู้มีส่วนได้เสียที่เข้าร่วมประชาพิจารณ์ตั้งแต่เริ่มต้น
1.6 การเตรียมข้อมูลเบื้องต้นของโครงการที่จัดทำประชาพิจารณ์ เป็นสาระสำคัญที่จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียที่ลงทะเบียนประชาพิจารณ์ได้รับทราบข้อมูล หน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการประชาพิจารณ์ จึงต้องให้ความสำคัญและดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์
1.7 การดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ มีขั้นตอนและระยะเวลากำหนดไว้เป็นการทั่วไป ทำให้การจัดทำประชาพิจารณ์โครงการที่แตกต่างกันไม่มีความคล่องตัว
1.8 การส่งรายงานของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ให้รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่สั่งให้มีการประชาพิจารณ์แล้วแต่กรณี และให้ส่งรายงานให้คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ด้วย ตามระเบียบฯ ข้อ 16 เพื่อให้คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์จัดทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรีปีละครั้ง ในทางปฏิบัติคณะกรรมการประชาพิจารณ์ไม่ส่งรายงานการประชาพิจารณ์ให้คณะที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์จึงต้องแจ้งให้ส่วนราชการต่าง ๆ แจ้งผลการประชาพิจารณ์ให้คณะที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ทราบ
1.9 ค่าใช้จ่ายในการจัดทำประชาพิจารณ์กำหนดให้เบิกจ่ายจากหน่วยงานของรัฐที่จัดทำประชาพิจารณ์เป็นปัญหาในกรณีจัดทำประชาพิจารณ์ในขอบเขตที่กว้างขวาง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบฯ กำหนด โดยเฉพาะส่วนราชการต่าง ๆ มิได้จัดตั้งงบประมาณสำหรับจัดทำประชาพิจารณ์ไว้ล่วงหน้า จึงควรจัดสรรงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่จำเป็นต้องจัดทำประชาพิจารณ์สามารถดำเนินการได้
2. ข้อเสนอแนะ
2.1 การทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบฯ มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างไปจากการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม และมิใช่การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการของรัฐที่ได้ตัดสินใจดำเนินการไปแล้ว ทั้งนี้ การทำประชาพิจารณ์ต้องดำเนินก่อนตัดสินใจทำโครงการหรือก่อนอนุญาตให้ดำเนินโครงการ
2.2 การทำประชาพิจารณ์มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ได้รับทราบข้อเท็จจริง เหตุผลในการจัดทำโครงการและสอบถามรายละเอียดของโครงการ โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการนั้น เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเพิ่มขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 59 ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติตราขึ้นใช้บังคับตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรานี้ การประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมีหลักเกณฑ์และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติในการทำประชาพิจารณ์ของส่วนราชการต่าง ๆ
2.3 การแต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์โครงการของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐและผู้มีอำนาจแต่งตั้งพิจารณาถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ และประกาศของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์เพื่อให้การประชาพิจารณ์เป็นที่ยอมรับและประชาชนเข้าร่วมประชาพิจารณ์แทนการประท้วงและคัดค้านการประชาพิจารณ์ตั้งแต่เริ่มต้น
2.4 การปฏิบัติงานของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการประชาพิจารณ์ตามประกาศของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ โดยเฉพาะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์แสดงความคิดเห็นและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการของรัฐ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ ทั้งนี้ คณะกรรมการประชาพิจารณ์ควรซักถามหน่วยงานของรัฐที่แถลงข้อเท็จจริงเฉพาะในประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนเท่านั้น
2.5 หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการทำประชาพิจารณ์ต้องสนับสนุนการประชาพิจารณ์ ในเรื่องข้อมูลเบื้องต้นของโครงการและค่าใช้จ่ายการทำประชาพิจารณ์ตามความจำเป็น เพื่อให้กระบวนการประชาพิจารณ์มีความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
2.6 การทำประชาพิจารณ์มีความมุ่งหมายให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมประชาพิจารณ์เพื่อสร้างความเข้าใจมิใช่การสร้างความขัดแย้งในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะการแบ่งประชาชนที่เข้าร่วมประชาพิจารณ์ออกเป็นกลุ่มที่คัดค้าน และกลุ่มที่สนับสนุนไม่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
2.7 การรายงานผลการประชาพิจารณ์ คณะกรรมการประชาพิจารณ์โครงการของรัฐต้องส่งรายงานให้คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 16 ทุกราย
2.8 ข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น เห็นควรซักซ้อมความเข้าใจกับส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้การทำประชาพิจารณ์เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 59 นโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันที่ได้แถลงไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎร ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีความโปร่งใส สนองตอบปัญหาและความต้องการของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-