คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการกู้เงินของการเคหะแห่งชาติเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่จะครบกำหนด ในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
กระทรวงการคลังเสนอว่า การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ เพื่อจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และหารายได้เพื่อให้องค์กรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ประกอบกับการดำเนินงานของ กคช. เป็นการลงทุนระยะยาว โดยมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการภายใน 15-20 ปี ซึ่งในหลักการ กคช. จำเป็นต้องกู้เงินที่มีอายุค่อนข้างยาวเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาคืนทุน แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนเงินกู้ และสภาวะตลาดการเงินในขณะที่ทำการกู้ จึงทำให้ กคช. ต้องกู้เงินระยะปานกลางไปก่อน เพื่อให้ได้เงินกู้ที่มีต้นทุนและเงื่อนไขการกู้เงินที่ดีที่สุดแล้วจึงทำการกู้เงินเพื่อชำระคืนหนี้เดิม (Refinance) ในภายหลัง
สำหรับในเดือนสิงหาคม 2544 กคช. มีภาระหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 คือ พันธบัตรการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2536 ครั้งที่ 1 จำนวน 1,500 ล้านบาท แต่ กคช.มีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายชำระคืนหนี้ดังกล่าว ซึ่งจากการพิจารณาประมาณการเงินสดรับ - จ่าย ในเดือนสิงหาคม 2544 ของ กคช. แล้วพบว่า กคช. จะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงานอันเนื่องมาจากการจ่ายชำระคืนเงินกู้ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 ดังนั้น เพื่อให้ กคช. มีสภาพคล่องเพียงพอเพื่อใช้ในการดำเนินงาน จึงเห็นควรให้ กคช. กู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่จะครบกำหนดชำระดังกล่าว จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน
ทั้งนี้ การกู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรของการเคหะแห่งชาติดังกล่าวข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณางบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีและมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เห็นชอบงบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในส่วนของ กคช. ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการและเบิกจ่ายลงทุนได้จำนวน 6,272.54 ล้านบาท และในข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้อนุมัติให้ กคช.กู้เงินในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 9,233.95 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายสมทบการลงทุนก่อสร้างโครงการต่าง ๆ การจัดซื้อที่ดิน การชำระหนี้ และสำรองเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกรณีที่รายรับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และมอบให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการ เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ในส่วนของเงินกู้จำนวน 9,233.95 ล้านบาท ได้รวมเงินกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดชำระในปี 2544 จำนวน 5,000 ล้านบาท และ กคช. ได้กู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรไปแล้วจำนวน 3,500 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน จึงยังคงเหลือวงเงินกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรอีกจำนวน 1,500 ล้านบาท ซึ่ง กคช.ขอกู้เงินมาในครั้งนี้ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การกู้เงินของ กคช. ได้รับเงื่อนไขและต้นทุนการกู้เงินที่ดีที่สุด23. เรื่อง การกู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรของการเคหะแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการกู้เงินของการเคหะแห่งชาติเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่จะครบกำหนด ในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
กระทรวงการคลังเสนอว่า การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ เพื่อจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และหารายได้เพื่อให้องค์กรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ประกอบกับการดำเนินงานของ กคช. เป็นการลงทุนระยะยาว โดยมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการภายใน 15-20 ปี ซึ่งในหลักการ กคช. จำเป็นต้องกู้เงินที่มีอายุค่อนข้างยาวเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาคืนทุน แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนเงินกู้ และสภาวะตลาดการเงินในขณะที่ทำการกู้ จึงทำให้ กคช. ต้องกู้เงินระยะปานกลางไปก่อน เพื่อให้ได้เงินกู้ที่มีต้นทุนและเงื่อนไขการกู้เงินที่ดีที่สุดแล้วจึงทำการกู้เงินเพื่อชำระคืนหนี้เดิม (Refinance) ในภายหลัง
สำหรับในเดือนสิงหาคม 2544 กคช. มีภาระหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 คือ พันธบัตรการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2536 ครั้งที่ 1 จำนวน 1,500 ล้านบาท แต่ กคช.มีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายชำระคืนหนี้ดังกล่าว ซึ่งจากการพิจารณาประมาณการเงินสดรับ - จ่าย ในเดือนสิงหาคม 2544 ของ กคช. แล้วพบว่า กคช. จะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงานอันเนื่องมาจากการจ่ายชำระคืนเงินกู้ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 ดังนั้น เพื่อให้ กคช. มีสภาพคล่องเพียงพอเพื่อใช้ในการดำเนินงาน จึงเห็นควรให้ กคช. กู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่จะครบกำหนดชำระดังกล่าว จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน
ทั้งนี้ การกู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรของการเคหะแห่งชาติดังกล่าวข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณางบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีและมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เห็นชอบงบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในส่วนของ กคช. ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการและเบิกจ่ายลงทุนได้จำนวน 6,272.54 ล้านบาท และในข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้อนุมัติให้ กคช.กู้เงินในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 9,233.95 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายสมทบการลงทุนก่อสร้างโครงการต่าง ๆ การจัดซื้อที่ดิน การชำระหนี้ และสำรองเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกรณีที่รายรับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และมอบให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการ เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ในส่วนของเงินกู้จำนวน 9,233.95 ล้านบาท ได้รวมเงินกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดชำระในปี 2544 จำนวน 5,000 ล้านบาท และ กคช. ได้กู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรไปแล้วจำนวน 3,500 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน จึงยังคงเหลือวงเงินกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรอีกจำนวน 1,500 ล้านบาท ซึ่ง กคช.ขอกู้เงินมาในครั้งนี้ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การกู้เงินของ กคช. ได้รับเงื่อนไขและต้นทุนการกู้เงินที่ดีที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
กระทรวงการคลังเสนอว่า การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ เพื่อจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และหารายได้เพื่อให้องค์กรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ประกอบกับการดำเนินงานของ กคช. เป็นการลงทุนระยะยาว โดยมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการภายใน 15-20 ปี ซึ่งในหลักการ กคช. จำเป็นต้องกู้เงินที่มีอายุค่อนข้างยาวเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาคืนทุน แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนเงินกู้ และสภาวะตลาดการเงินในขณะที่ทำการกู้ จึงทำให้ กคช. ต้องกู้เงินระยะปานกลางไปก่อน เพื่อให้ได้เงินกู้ที่มีต้นทุนและเงื่อนไขการกู้เงินที่ดีที่สุดแล้วจึงทำการกู้เงินเพื่อชำระคืนหนี้เดิม (Refinance) ในภายหลัง
สำหรับในเดือนสิงหาคม 2544 กคช. มีภาระหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 คือ พันธบัตรการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2536 ครั้งที่ 1 จำนวน 1,500 ล้านบาท แต่ กคช.มีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายชำระคืนหนี้ดังกล่าว ซึ่งจากการพิจารณาประมาณการเงินสดรับ - จ่าย ในเดือนสิงหาคม 2544 ของ กคช. แล้วพบว่า กคช. จะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงานอันเนื่องมาจากการจ่ายชำระคืนเงินกู้ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 ดังนั้น เพื่อให้ กคช. มีสภาพคล่องเพียงพอเพื่อใช้ในการดำเนินงาน จึงเห็นควรให้ กคช. กู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่จะครบกำหนดชำระดังกล่าว จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน
ทั้งนี้ การกู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรของการเคหะแห่งชาติดังกล่าวข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณางบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีและมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เห็นชอบงบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในส่วนของ กคช. ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการและเบิกจ่ายลงทุนได้จำนวน 6,272.54 ล้านบาท และในข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้อนุมัติให้ กคช.กู้เงินในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 9,233.95 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายสมทบการลงทุนก่อสร้างโครงการต่าง ๆ การจัดซื้อที่ดิน การชำระหนี้ และสำรองเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกรณีที่รายรับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และมอบให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการ เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ในส่วนของเงินกู้จำนวน 9,233.95 ล้านบาท ได้รวมเงินกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดชำระในปี 2544 จำนวน 5,000 ล้านบาท และ กคช. ได้กู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรไปแล้วจำนวน 3,500 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน จึงยังคงเหลือวงเงินกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรอีกจำนวน 1,500 ล้านบาท ซึ่ง กคช.ขอกู้เงินมาในครั้งนี้ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การกู้เงินของ กคช. ได้รับเงื่อนไขและต้นทุนการกู้เงินที่ดีที่สุด23. เรื่อง การกู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรของการเคหะแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการกู้เงินของการเคหะแห่งชาติเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่จะครบกำหนด ในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
กระทรวงการคลังเสนอว่า การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ เพื่อจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และหารายได้เพื่อให้องค์กรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ประกอบกับการดำเนินงานของ กคช. เป็นการลงทุนระยะยาว โดยมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการภายใน 15-20 ปี ซึ่งในหลักการ กคช. จำเป็นต้องกู้เงินที่มีอายุค่อนข้างยาวเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาคืนทุน แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนเงินกู้ และสภาวะตลาดการเงินในขณะที่ทำการกู้ จึงทำให้ กคช. ต้องกู้เงินระยะปานกลางไปก่อน เพื่อให้ได้เงินกู้ที่มีต้นทุนและเงื่อนไขการกู้เงินที่ดีที่สุดแล้วจึงทำการกู้เงินเพื่อชำระคืนหนี้เดิม (Refinance) ในภายหลัง
สำหรับในเดือนสิงหาคม 2544 กคช. มีภาระหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 คือ พันธบัตรการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2536 ครั้งที่ 1 จำนวน 1,500 ล้านบาท แต่ กคช.มีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายชำระคืนหนี้ดังกล่าว ซึ่งจากการพิจารณาประมาณการเงินสดรับ - จ่าย ในเดือนสิงหาคม 2544 ของ กคช. แล้วพบว่า กคช. จะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงานอันเนื่องมาจากการจ่ายชำระคืนเงินกู้ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 19 สิงหาคม 2544 ดังนั้น เพื่อให้ กคช. มีสภาพคล่องเพียงพอเพื่อใช้ในการดำเนินงาน จึงเห็นควรให้ กคช. กู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่จะครบกำหนดชำระดังกล่าว จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน
ทั้งนี้ การกู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรของการเคหะแห่งชาติดังกล่าวข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณางบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีและมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เห็นชอบงบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในส่วนของ กคช. ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการและเบิกจ่ายลงทุนได้จำนวน 6,272.54 ล้านบาท และในข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้อนุมัติให้ กคช.กู้เงินในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 9,233.95 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายสมทบการลงทุนก่อสร้างโครงการต่าง ๆ การจัดซื้อที่ดิน การชำระหนี้ และสำรองเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกรณีที่รายรับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และมอบให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการ เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ในส่วนของเงินกู้จำนวน 9,233.95 ล้านบาท ได้รวมเงินกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดชำระในปี 2544 จำนวน 5,000 ล้านบาท และ กคช. ได้กู้เงินเพื่อไถ่ถอนพันธบัตรไปแล้วจำนวน 3,500 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน จึงยังคงเหลือวงเงินกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรอีกจำนวน 1,500 ล้านบาท ซึ่ง กคช.ขอกู้เงินมาในครั้งนี้ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การกู้เงินของ กคช. ได้รับเงื่อนไขและต้นทุนการกู้เงินที่ดีที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-