คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก ซึ่งประกอบด้วยสินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แผนยุทธศาสตร์รายสินค้า ประกอบด้วยสินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง สับปะรด ลำไย ทุเรียน กาแฟโรบัสต้า กล้วยไม้ กุ้งกุลาดำ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลือง
2. แผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรในภาพรวม จำแนกเป็นรายพืช จำนวน 11 สินค้า และประมง จำนวน 1 สินค้า รวมทั้งสิ้น 12 สินค้า โดยมีแผนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา 4 ด้าน ดังนี้ 1) แผนยุทธศาสตร์ด้านการผลิต 2) แผนยุทธศาสตร์ด้านการแปรรูป 3) แผนยุทธศาสตร์ด้านการตลาด 4) แผนยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ
ทั้งนี้ เนื่องจากภาคเกษตรเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่สำคัญ ซึ่งมีดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องมาตลอด เป็นสาขาการผลิตที่มีการจ้างงานมากที่สุด เป็นฐานความมั่นคงด้านอาหารให้กับประเทศเมื่อเกิดภาวะวิกฤตด้านอาหาร และเป็นฐานการพัฒนาของภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมด้านอาหารมีการขยายตัวอย่างมาก
นอกจากนี้สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรไทยมีศักยภาพสูง และสามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต ในการแปรรูป และในการตลาดทั้งภายในและตลาดส่งออก โดยประเทศไทยจะต้องเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของโลก และสามารถพัฒนาระบบการค้าและสร้างคุณภาพสินค้าเกษตรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) เป็นประธานกรรมการฯ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำเนินการปรับแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก ตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (คกก. 5) และข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วนำกลับมาเสนอ คกก. 5 อีกครั้งเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนจะส่งไปยังคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำกับดูแลโดยตรงของแต่ละสินค้าเกษตร เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการดำเนินงานในรายละเอียดต่อไป
สำหรับความเห็นของที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีดังนี้
1. การกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญ ๆ แม้จะมีคณะกรรมการเฉพาะของแต่ละสินค้าเกษตรดูแลรับผิดชอบอยู่ แต่เรื่องนโยบาย แผน ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรใดที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของแต่ละสินค้าเกษตรแล้ว ก็ควรที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยผ่านกลไกของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี หากคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นควรให้ไปศึกษาเพิ่มเติมในบางประเด็นตามข้อคิดเห็นและข้อสังเกตต่าง ๆ ก็ให้คณะกรรมการฯ ของแต่ละสินค้าเกษตร ไปดำเนินการต่อแล้วนำกลับมาเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง หากเห็นชอบก็สามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะสามารถสร้างความชัดเจนและเพิ่มความรวดเร็วในการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรได้
2. แผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก ควรจะกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินงานที่ชัดเจน ส่วนมาตรการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจนั้น ก็ควรพิจารณาหามาตรการจูงใจเกษตรกรควบคู่ไปด้วย เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์สามารถบังเกิดผลในทางปฏิบัติได้จริง
นอกจากนี้ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีข้อสังเกตว่า การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ของแต่ละสินค้านั้น จะต้องสามารถตอบคำถามตามประเด็นเหล่านี้ให้ได้ คือ
1. เกษตรกรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือไม่
2. คุณภาพของผลผลิตผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องสารพิษตกค้าง
3. สินค้าสามารถเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร
4. การจัดการเชื่อมโยงกระบวนการผลิตและการตลาดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะทำได้อย่างไร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-
1. แผนยุทธศาสตร์รายสินค้า ประกอบด้วยสินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง สับปะรด ลำไย ทุเรียน กาแฟโรบัสต้า กล้วยไม้ กุ้งกุลาดำ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลือง
2. แผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรในภาพรวม จำแนกเป็นรายพืช จำนวน 11 สินค้า และประมง จำนวน 1 สินค้า รวมทั้งสิ้น 12 สินค้า โดยมีแผนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา 4 ด้าน ดังนี้ 1) แผนยุทธศาสตร์ด้านการผลิต 2) แผนยุทธศาสตร์ด้านการแปรรูป 3) แผนยุทธศาสตร์ด้านการตลาด 4) แผนยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ
ทั้งนี้ เนื่องจากภาคเกษตรเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศที่สำคัญ ซึ่งมีดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องมาตลอด เป็นสาขาการผลิตที่มีการจ้างงานมากที่สุด เป็นฐานความมั่นคงด้านอาหารให้กับประเทศเมื่อเกิดภาวะวิกฤตด้านอาหาร และเป็นฐานการพัฒนาของภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมด้านอาหารมีการขยายตัวอย่างมาก
นอกจากนี้สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรไทยมีศักยภาพสูง และสามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต ในการแปรรูป และในการตลาดทั้งภายในและตลาดส่งออก โดยประเทศไทยจะต้องเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของโลก และสามารถพัฒนาระบบการค้าและสร้างคุณภาพสินค้าเกษตรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) เป็นประธานกรรมการฯ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำเนินการปรับแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก ตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (คกก. 5) และข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วนำกลับมาเสนอ คกก. 5 อีกครั้งเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนจะส่งไปยังคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำกับดูแลโดยตรงของแต่ละสินค้าเกษตร เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการดำเนินงานในรายละเอียดต่อไป
สำหรับความเห็นของที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีดังนี้
1. การกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญ ๆ แม้จะมีคณะกรรมการเฉพาะของแต่ละสินค้าเกษตรดูแลรับผิดชอบอยู่ แต่เรื่องนโยบาย แผน ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรใดที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของแต่ละสินค้าเกษตรแล้ว ก็ควรที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยผ่านกลไกของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี หากคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นควรให้ไปศึกษาเพิ่มเติมในบางประเด็นตามข้อคิดเห็นและข้อสังเกตต่าง ๆ ก็ให้คณะกรรมการฯ ของแต่ละสินค้าเกษตร ไปดำเนินการต่อแล้วนำกลับมาเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง หากเห็นชอบก็สามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะสามารถสร้างความชัดเจนและเพิ่มความรวดเร็วในการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรได้
2. แผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก ควรจะกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินงานที่ชัดเจน ส่วนมาตรการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจนั้น ก็ควรพิจารณาหามาตรการจูงใจเกษตรกรควบคู่ไปด้วย เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์สามารถบังเกิดผลในทางปฏิบัติได้จริง
นอกจากนี้ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีข้อสังเกตว่า การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ของแต่ละสินค้านั้น จะต้องสามารถตอบคำถามตามประเด็นเหล่านี้ให้ได้ คือ
1. เกษตรกรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือไม่
2. คุณภาพของผลผลิตผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องสารพิษตกค้าง
3. สินค้าสามารถเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร
4. การจัดการเชื่อมโยงกระบวนการผลิตและการตลาดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะทำได้อย่างไร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-