ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้ผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 และวันที่ 22 สิงหาคม 2543 ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ป่าชายเลน เพื่อให้กรมเจ้าท่าใช้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง จังหวัดสตูล จำนวน 18 ไร่ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าว เป็นโครงการที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) และแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมเสนอตามรายงานของกรมเจ้าท่าว่า กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาให้ทำการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง อำเภอเมืองจังหวดสตูล ซึ่งสรุปได้ว่าบริเวณร่องน้ำตำมะลัง มีความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าเทียบเรือมากที่สุด โดยใช้พื้นที่โครงการจำนวน 18 ไร่ บริเวณฝั่งซ้ายของปากคลองตำมะลัง ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลน จังหวัดสตูล ตอนที่ 5และจัดเป็นเขตเศรษฐกิจ ก. ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ประกอบกับกรมเจ้าท่าได้เคยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ องค์การสะพานปลา ตำรวจน้ำ และด่านศุลกากร เพื่อขอใช้พื้นที่จากหน่วยงานดังกล่าวสำหรับดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง แต่ปรากฏว่าหน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถสนับสนุนโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลังของกรมเจ้าท่าได้ ดังนั้น พื้นที่ที่สามารถสนับสนุนโครงการดังกล่าวได้คงเหลือเพียงบริเวณฝั่งซ้ายของปากคลองตำมะลัง ซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้อนุมัติให้เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทะเลบันเท่านั้นซึ่งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทะเลบันได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาจังหวัดสตูล และได้ผ่านการศึกษาโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในปีงบประมาณ 2543 - 2545 กรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณก่อสร้างโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง จังหวัดสตูล จำนวน 343,050,000 บาท ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง จังหวัดสตูล สำเร็จตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมเจ้าท่าจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้ผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 และวันที่ 22 สิงหาคม 2543 ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ป่าชายเลน เพื่อให้กรมเจ้าท่าใช้พื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง จังหวัดสตูล จำนวน 18 ไร่ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าว เป็นโครงการที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT) และแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมเสนอตามรายงานของกรมเจ้าท่าว่า กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาให้ทำการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง อำเภอเมืองจังหวดสตูล ซึ่งสรุปได้ว่าบริเวณร่องน้ำตำมะลัง มีความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าเทียบเรือมากที่สุด โดยใช้พื้นที่โครงการจำนวน 18 ไร่ บริเวณฝั่งซ้ายของปากคลองตำมะลัง ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชายเลน จังหวัดสตูล ตอนที่ 5และจัดเป็นเขตเศรษฐกิจ ก. ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ประกอบกับกรมเจ้าท่าได้เคยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ องค์การสะพานปลา ตำรวจน้ำ และด่านศุลกากร เพื่อขอใช้พื้นที่จากหน่วยงานดังกล่าวสำหรับดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง แต่ปรากฏว่าหน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถสนับสนุนโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลังของกรมเจ้าท่าได้ ดังนั้น พื้นที่ที่สามารถสนับสนุนโครงการดังกล่าวได้คงเหลือเพียงบริเวณฝั่งซ้ายของปากคลองตำมะลัง ซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้อนุมัติให้เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทะเลบันเท่านั้นซึ่งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทะเลบันได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาจังหวัดสตูล และได้ผ่านการศึกษาโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในปีงบประมาณ 2543 - 2545 กรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณก่อสร้างโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง จังหวัดสตูล จำนวน 343,050,000 บาท ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือตำมะลัง จังหวัดสตูล สำเร็จตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมเจ้าท่าจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-