แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
สำนักงาน ก.พ.
รัฐธรรมนูญ
ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และผ่านความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ซึ่งสาระสำคัญของแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าว สรุปได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทใดบ้างที่อยู่ในข่ายบังคับต้องดำเนินการตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใช้คำว่า "ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ" ดังนั้น บทบัญญัติมาตรานี้จึงใช้บังคับในกรณีการแต่งตั้งหรือการย้ายข้าราชการทุกประเภท รวมถึงข้าราชการการเมือง และพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือการให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งด้วย ถ้าเป็นกรณีที่กฎหมายว่าด้วยข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะต้องรับทราบ อนุญาต อนุมัติหรือเห็นชอบ จึงจะมีผลให้การแต่งตั้งหรือให้พ้นจากตำแหน่งมีผลสมบูรณ์ กรณีเหล่านี้ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอเฉพาะนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการตามกระบวนการแต่งตั้ง การย้าย หรือการให้พ้นจากตำแหน่งต่อไปโดยไม่มีการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี เช่น ขั้นตอนการนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ หรือข้าราชการทหาร เป็นต้น และการแต่งตั้งดังกล่าวหมายความรวมถึงกรณีการโอนและการแต่งตั้งบุคคลซึ่งเป็นการเลื่อนระดับตำแหน่งของตนเองด้วย ส่วนการให้พ้นจากตำแหน่งให้ยกเว้นกรณีการพ้นจากตำแหน่งโดยการตาย ลาออกหรือให้พ้นจากหน้าที่เพราะมีความผิด โดยไม่ต้องมีการใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
2. ระยะเวลาการดำเนินการในเรื่องที่ต้องส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นชอบจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด
การแต่งตั้ง การโอน การย้าย หรือการให้พ้นจากตำแหน่งที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้เริ่มจากวันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือวันที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไปจนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ภายหลังการถวายสัตย์ปฏิญาณซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานหากการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปไม่อาจดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ในเร็ววัน
3. ขั้นตอนในการส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นชอบ
การส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้ดำเนินการเมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งหรือย้าย หรือให้พ้นจากตำแหน่งของบุคคลตามข้อ 1 แล้ว โดยมีข้อสังเกต ดังนี้
3.1 กรณีคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเรื่องดังกล่าวยังไม่ทันได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่แล้วให้คณะกรรมการการเลือกตั้งส่งเรื่องคืนคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีต่อไป
3.2 คณะกรรมการการเลือกตั้งควรพิจารณามอบหมายหรือกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนี้ให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้การประสานงาน การดำเนินการ และการให้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3.3 ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจในการพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งหรือย้าย หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งไปก่อนที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือก่อนมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่การดำเนินการตามกระบวนการในเรื่องดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด หรือกรณีที่มีการแต่งตั้ง หรือย้ายบุคคลดังกล่าวที่ได้มีการกดำเนินการเสร็จสิ้นในทุกขั้นตอนแล้วแต่ยังไม่มีผลใช้บังคับ และในระหว่างนั้นอายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีโดยชอบแล้วกรณีจึงไม่เข้าข่ายตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่ต้องนำเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก
4. กรณีรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งให้ข้าราชการไปช่วยราชการหรือการให้รักษาราชการแทนจะสามารถทำได้เองหรือไม่
กรณีรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งให้ข้าราชการไปช่วยราชการหรือการให้รักษาราชการแทนในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรสามารถกระทำได้ เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี และกรณีดังกล่าวไม่ใช่การแต่งตั้งหรือการย้ายตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
5. ประเด็นอื่น ๆ
5.1 ถ้าหากมีการดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้ง การย้าย หรือการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่งไปแล้วโดยปรากฏในภายหลังว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งให้ความเห็นชอบตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก่อน ที่ประชุมเห็นว่าจะเป็นการแต่งตั้งโดยไม่ชอบ และถือว่าคำสั่งแต่งตั้งนั้นเป็นคำสั่งทางปกครอง ควรแก้ไขโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
5.2 โดยที่การเสนอเรื่องการแต่งตั้ง การย้าย หรือการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ดังนั้น ในการประสานการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือการให้ส่งผู้แทนไปชี้แจง หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินการในเรื่องนี้
5.3 ในการเสนอเรื่องดังกล่าวตามข้อ 5.2 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยสรุปสาระสำคัญต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งปัจจุบัน ตำแหน่งใหม่ เหตุผลความจำเป็นในการแต่งตั้ง ย้าย โอน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง ตลอดจนการพิจารณาโดยกระบวนการบริหาร เช่น อ.ก.พ. และวันมีผลบังคับ เป็นต้น รวมทั้งประวัติโดยย่อของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งด้วย ยกเว้นกรณีที่มีการเสนอชื่อแต่งตั้งข้าราชการฯ เป็นจำนวนมากพร้อมกันในคราวเดียวกัน เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถพิจารณาได้รวดเร็วขึ้น
5.4 ในการนำเรื่องการแต่งตั้ง การย้าย หรือการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่งซึ่งอยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในหนังสือกราบบังคมทูลควรระบุให้ชัดเจนในหนังสือด้วยว่า เรื่องดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
อนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 215 วรรคหนึ่ง และวรรคสองบัญญัติว่า "รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
1. ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 216
2. อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
3. คณะรัฐมนตรีลาออก
คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตาม 2. จะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง มิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง"
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และผ่านความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ซึ่งสาระสำคัญของแนวทางปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าว สรุปได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทใดบ้างที่อยู่ในข่ายบังคับต้องดำเนินการตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใช้คำว่า "ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ" ดังนั้น บทบัญญัติมาตรานี้จึงใช้บังคับในกรณีการแต่งตั้งหรือการย้ายข้าราชการทุกประเภท รวมถึงข้าราชการการเมือง และพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือการให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งด้วย ถ้าเป็นกรณีที่กฎหมายว่าด้วยข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะต้องรับทราบ อนุญาต อนุมัติหรือเห็นชอบ จึงจะมีผลให้การแต่งตั้งหรือให้พ้นจากตำแหน่งมีผลสมบูรณ์ กรณีเหล่านี้ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอเฉพาะนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการตามกระบวนการแต่งตั้ง การย้าย หรือการให้พ้นจากตำแหน่งต่อไปโดยไม่มีการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี เช่น ขั้นตอนการนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ หรือข้าราชการทหาร เป็นต้น และการแต่งตั้งดังกล่าวหมายความรวมถึงกรณีการโอนและการแต่งตั้งบุคคลซึ่งเป็นการเลื่อนระดับตำแหน่งของตนเองด้วย ส่วนการให้พ้นจากตำแหน่งให้ยกเว้นกรณีการพ้นจากตำแหน่งโดยการตาย ลาออกหรือให้พ้นจากหน้าที่เพราะมีความผิด โดยไม่ต้องมีการใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
2. ระยะเวลาการดำเนินการในเรื่องที่ต้องส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นชอบจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด
การแต่งตั้ง การโอน การย้าย หรือการให้พ้นจากตำแหน่งที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้เริ่มจากวันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือวันที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไปจนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ภายหลังการถวายสัตย์ปฏิญาณซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานหากการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปไม่อาจดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ในเร็ววัน
3. ขั้นตอนในการส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นชอบ
การส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้ดำเนินการเมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งหรือย้าย หรือให้พ้นจากตำแหน่งของบุคคลตามข้อ 1 แล้ว โดยมีข้อสังเกต ดังนี้
3.1 กรณีคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเรื่องดังกล่าวยังไม่ทันได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่แล้วให้คณะกรรมการการเลือกตั้งส่งเรื่องคืนคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีต่อไป
3.2 คณะกรรมการการเลือกตั้งควรพิจารณามอบหมายหรือกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนี้ให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้การประสานงาน การดำเนินการ และการให้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3.3 ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจในการพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งหรือย้าย หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งไปก่อนที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือก่อนมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่การดำเนินการตามกระบวนการในเรื่องดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด หรือกรณีที่มีการแต่งตั้ง หรือย้ายบุคคลดังกล่าวที่ได้มีการกดำเนินการเสร็จสิ้นในทุกขั้นตอนแล้วแต่ยังไม่มีผลใช้บังคับ และในระหว่างนั้นอายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีโดยชอบแล้วกรณีจึงไม่เข้าข่ายตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่ต้องนำเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก
4. กรณีรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งให้ข้าราชการไปช่วยราชการหรือการให้รักษาราชการแทนจะสามารถทำได้เองหรือไม่
กรณีรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งให้ข้าราชการไปช่วยราชการหรือการให้รักษาราชการแทนในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรสามารถกระทำได้ เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี และกรณีดังกล่าวไม่ใช่การแต่งตั้งหรือการย้ายตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
5. ประเด็นอื่น ๆ
5.1 ถ้าหากมีการดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้ง การย้าย หรือการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่งไปแล้วโดยปรากฏในภายหลังว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งให้ความเห็นชอบตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก่อน ที่ประชุมเห็นว่าจะเป็นการแต่งตั้งโดยไม่ชอบ และถือว่าคำสั่งแต่งตั้งนั้นเป็นคำสั่งทางปกครอง ควรแก้ไขโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
5.2 โดยที่การเสนอเรื่องการแต่งตั้ง การย้าย หรือการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ดังนั้น ในการประสานการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือการให้ส่งผู้แทนไปชี้แจง หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินการในเรื่องนี้
5.3 ในการเสนอเรื่องดังกล่าวตามข้อ 5.2 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยสรุปสาระสำคัญต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งปัจจุบัน ตำแหน่งใหม่ เหตุผลความจำเป็นในการแต่งตั้ง ย้าย โอน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง ตลอดจนการพิจารณาโดยกระบวนการบริหาร เช่น อ.ก.พ. และวันมีผลบังคับ เป็นต้น รวมทั้งประวัติโดยย่อของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งด้วย ยกเว้นกรณีที่มีการเสนอชื่อแต่งตั้งข้าราชการฯ เป็นจำนวนมากพร้อมกันในคราวเดียวกัน เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถพิจารณาได้รวดเร็วขึ้น
5.4 ในการนำเรื่องการแต่งตั้ง การย้าย หรือการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่งซึ่งอยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในหนังสือกราบบังคมทูลควรระบุให้ชัดเจนในหนังสือด้วยว่า เรื่องดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา 215 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
อนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 215 วรรคหนึ่ง และวรรคสองบัญญัติว่า "รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
1. ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 216
2. อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
3. คณะรัฐมนตรีลาออก
คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตาม 2. จะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง มิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง"
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-