ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ได้พิจารณาผลการดำเนินนโยบายและมาตรการของรัฐบาลได้ทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น และทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2541 และขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี 2542 คณะกรรมการ กรอ. ได้มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลังอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจควรจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
สำหรับแนวการดำเนินนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจในปี 2543 เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะดำเนินแนวนโยบายและมาตรการเศรษฐกิจโดยเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง และเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนให้ฟื้นตัวกลับมาเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ นอกจากนี้ยังต้องเตรียมมาตรการรองรับปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าระยะสั้น แนวนโยบายและมาตรการที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่
ประการแรก เตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าใน 2 เรื่องได้แก่ มาตรการช่วยเหลือด้านต้นทุนของภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบรุนแรงหากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมทั้งดำเนินมาตรการประหยัดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง และเตรียมมาตรการรองรับด้านราคาพืชผลเกษตรตลอดทั้งปี
ประการที่สอง การปรับโครงสร้างภาคการผลิต การส่งออก และการจ้างงาน โดยเร่งรัดแผนงานปรับโครงสร้างเกษตรและแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมภายใต้เงินกู้ต่างประเทศ ทั้งนี้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างเป็นระบบ การดำเนินการของสถาบันเฉพาะทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสินค้า การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการลงทุนของรัฐ การแก้ไขปรับปรุงระเบียบและขั้นตอนของทางราชการให้เอื้อต่อการผลิตและการส่งออก รวมทั้งพิจารณาแผนงานบรรเทาปัญหาการว่างงานต่อเนื่องจากปี 2542
ประการที่สาม นโยบายการเงิน เร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค เร่งรัดการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อให้ลงสู่ภาคเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพและมีลำดับความสำคัญสูง โดยเฉพาะสินเชื่อภาคเกษตร สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เร่งรัดการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี และเร่งผลักดันให้กฎหมายการเงินที่สำคัญให้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ได้แก่ พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ร.บ. ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ พ.ร.บ. เกี่ยวกับธุรกิจศูนย์ข้อมูลเครดิต เป็นต้น และที่สำคัญคือ การดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยให้เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประการที่สี่ นโยบายการคลัง เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 ให้กระจายตัวได้ตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมิยาซาวา การพิจารณาทบทวนและเร่งรัดโครงการลงทุนภาครัฐที่ได้รับอนุมัติและลงนามในสัญญาเงินกู้แล้ว การเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการ 10 สิงหาคม 2542 โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุน (Equity Fund) กองทุนเงินร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลาง (Thailand Recovery Fund) และกองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเร่งรัดการปรับโครงสร้างพิกัดศุลกากรและเร่งรัดพิจารณาอัตราชดเชยและคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการส่งออก และการวางกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2544 ให้ยังคงบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ได้พิจารณาผลการดำเนินนโยบายและมาตรการของรัฐบาลได้ทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น และทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2541 และขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี 2542 คณะกรรมการ กรอ. ได้มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลังอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจควรจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
สำหรับแนวการดำเนินนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจในปี 2543 เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะดำเนินแนวนโยบายและมาตรการเศรษฐกิจโดยเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง และเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนให้ฟื้นตัวกลับมาเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ นอกจากนี้ยังต้องเตรียมมาตรการรองรับปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าระยะสั้น แนวนโยบายและมาตรการที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่
ประการแรก เตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าใน 2 เรื่องได้แก่ มาตรการช่วยเหลือด้านต้นทุนของภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบรุนแรงหากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมทั้งดำเนินมาตรการประหยัดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง และเตรียมมาตรการรองรับด้านราคาพืชผลเกษตรตลอดทั้งปี
ประการที่สอง การปรับโครงสร้างภาคการผลิต การส่งออก และการจ้างงาน โดยเร่งรัดแผนงานปรับโครงสร้างเกษตรและแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมภายใต้เงินกู้ต่างประเทศ ทั้งนี้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างเป็นระบบ การดำเนินการของสถาบันเฉพาะทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสินค้า การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการลงทุนของรัฐ การแก้ไขปรับปรุงระเบียบและขั้นตอนของทางราชการให้เอื้อต่อการผลิตและการส่งออก รวมทั้งพิจารณาแผนงานบรรเทาปัญหาการว่างงานต่อเนื่องจากปี 2542
ประการที่สาม นโยบายการเงิน เร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค เร่งรัดการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อให้ลงสู่ภาคเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพและมีลำดับความสำคัญสูง โดยเฉพาะสินเชื่อภาคเกษตร สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เร่งรัดการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี และเร่งผลักดันให้กฎหมายการเงินที่สำคัญให้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ได้แก่ พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ร.บ. ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ พ.ร.บ. เกี่ยวกับธุรกิจศูนย์ข้อมูลเครดิต เป็นต้น และที่สำคัญคือ การดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยให้เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประการที่สี่ นโยบายการคลัง เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 ให้กระจายตัวได้ตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมิยาซาวา การพิจารณาทบทวนและเร่งรัดโครงการลงทุนภาครัฐที่ได้รับอนุมัติและลงนามในสัญญาเงินกู้แล้ว การเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการ 10 สิงหาคม 2542 โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุน (Equity Fund) กองทุนเงินร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลาง (Thailand Recovery Fund) และกองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเร่งรัดการปรับโครงสร้างพิกัดศุลกากรและเร่งรัดพิจารณาอัตราชดเชยและคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการส่งออก และการวางกรอบการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2544 ให้ยังคงบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543--