คณะรัฐมนตรีพิจารณาการสนับสนุนงบประมาณสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามนโยบายการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2545 เพิ่มเติมให้กับ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติอนุมัติความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่า กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มีความจำเป็นต้องจัดหายุทโธปกรณ์และเครื่องมือพิเศษสำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีคุณลักษณะพิเศษ มีประสิทธิภาพสูง หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่เคยมีไว้ใช้งานมาก่อน มีบางรายการเท่านั้นที่มีการจัดหาเพื่อทดแทนของเดิมที่สภาพชำรุดและมีขีดความสามารถจำกัด สำหรับราคาต่อหน่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถตรวจสอบราคาตามท้องตลาดทั่วไปได้ และไม่สามารถหาราคาเปรียบเทียบได้ ราคาที่เสนอขออนุมัติครั้งนี้เป็นราคาที่หน่วยงานผู้ปฏิบัติได้ไปสอบราคามา อย่างไรก็ตาม หากเป็นเครื่องมือที่มีคุณลักษณะคล้ายกันก็เห็นควรให้หน่วยงานทั้ง4 แห่ง ดำเนินการจัดซื้อในราคาต่อหน่วยเท่ากัน จากหลักเกณฑ์พิจารณาดังกล่าว จึงเห็นควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้หน่วยงานทั้ง 4 แห่ง ดำเนินการจัดซื้อได้ในวงเงินรวมกันเป็นเงินทั้งสิ้น 94,046,500 บาท โดยเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยแยกเป็น
1. กองบัญชาการทหารสูงสุด (ศูนย์อำนวยการร่วม 106) จำนวน 24,935,800 บาท เป็นการจัดหาเครื่องมือสื่อสาร ยุทโธปกรณ์พิเศษ ยานพาหนะ อาวุธและอุปกรณ์ประจำบุคคล จำนวน 36 รายการ
2. กองทัพบก จำนวน 24,178,000 บาท เป็นการจัดหาเครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์พิเศษ อุปกรณ์ประจำบุคคล ยานพาหนะและอุปกรณ์ทำลายล้างวัตถุระเบิด จำนวน 17 รายการ
3. กองทัพเรือ จำนวน 25,005,000 บาท เป็นการจัดหาอาวุธ อุปกรณ์พิเศษ และอุปกรณ์ประจำบุคคลจำนวน 15 รายการ
4. กองทัพอากาศ จำนวน 19,927,700 บาท เป็นการจัดหาอาวุธ ยานพาหนะและอุปกรณ์พิเศษ จำนวน12 รายการ
และให้หน่วยงานดังกล่าวขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรายงานว่า ได้จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย1) กองบัญชาการทหารสูงสุด 2) ศูนย์อำนวยการร่วม 106/ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.) 3) กองทัพบก 4) กองทัพเรือ 5) กองทัพอากาศ 6) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 7) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ8) สำนักงบประมาณ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน เพื่อพิจารณาความจำเป็นของโครงการและงบประมาณในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความพร้อมในการสนับสนุนนโยบายการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล โดยให้ยึดหลักประสิทธิภาพ ผลประโยชน์ ความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่า กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มีความจำเป็นต้องจัดหายุทโธปกรณ์และเครื่องมือพิเศษสำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีคุณลักษณะพิเศษ มีประสิทธิภาพสูง หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่เคยมีไว้ใช้งานมาก่อน มีบางรายการเท่านั้นที่มีการจัดหาเพื่อทดแทนของเดิมที่สภาพชำรุดและมีขีดความสามารถจำกัด สำหรับราคาต่อหน่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถตรวจสอบราคาตามท้องตลาดทั่วไปได้ และไม่สามารถหาราคาเปรียบเทียบได้ ราคาที่เสนอขออนุมัติครั้งนี้เป็นราคาที่หน่วยงานผู้ปฏิบัติได้ไปสอบราคามา อย่างไรก็ตาม หากเป็นเครื่องมือที่มีคุณลักษณะคล้ายกันก็เห็นควรให้หน่วยงานทั้ง4 แห่ง ดำเนินการจัดซื้อในราคาต่อหน่วยเท่ากัน จากหลักเกณฑ์พิจารณาดังกล่าว จึงเห็นควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้หน่วยงานทั้ง 4 แห่ง ดำเนินการจัดซื้อได้ในวงเงินรวมกันเป็นเงินทั้งสิ้น 94,046,500 บาท โดยเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยแยกเป็น
1. กองบัญชาการทหารสูงสุด (ศูนย์อำนวยการร่วม 106) จำนวน 24,935,800 บาท เป็นการจัดหาเครื่องมือสื่อสาร ยุทโธปกรณ์พิเศษ ยานพาหนะ อาวุธและอุปกรณ์ประจำบุคคล จำนวน 36 รายการ
2. กองทัพบก จำนวน 24,178,000 บาท เป็นการจัดหาเครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์พิเศษ อุปกรณ์ประจำบุคคล ยานพาหนะและอุปกรณ์ทำลายล้างวัตถุระเบิด จำนวน 17 รายการ
3. กองทัพเรือ จำนวน 25,005,000 บาท เป็นการจัดหาอาวุธ อุปกรณ์พิเศษ และอุปกรณ์ประจำบุคคลจำนวน 15 รายการ
4. กองทัพอากาศ จำนวน 19,927,700 บาท เป็นการจัดหาอาวุธ ยานพาหนะและอุปกรณ์พิเศษ จำนวน12 รายการ
และให้หน่วยงานดังกล่าวขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรายงานว่า ได้จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย1) กองบัญชาการทหารสูงสุด 2) ศูนย์อำนวยการร่วม 106/ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.) 3) กองทัพบก 4) กองทัพเรือ 5) กองทัพอากาศ 6) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 7) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ8) สำนักงบประมาณ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน เพื่อพิจารณาความจำเป็นของโครงการและงบประมาณในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความพร้อมในการสนับสนุนนโยบายการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล โดยให้ยึดหลักประสิทธิภาพ ผลประโยชน์ ความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-