ทำเนียบรัฐบาล--4 เม.ย.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง แผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการด้วย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ร่วมกับคณะอนุกรรมการสำรวจคุณภาพสินค้าและปริมาณเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรุงเทพมหานคร และสมาคมประชากรทรัพยากรและการพัฒนา (โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต) ดำเนินการตรวจสอบสารที่ปนเปื้อนในอาหาร ตลาดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา ร้านอาหารในสถานที่ราชการ อาหารที่จำหน่ายในหมู่บ้าน ตรวจตามที่สมาชิกโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งมาให้ตรวจ และตามสถานที่ที่สมาชิกฯ ร้องเรียน
2. ผลการตรวจสอบ
- การปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหารประเภทหมูเด้ง ทับทิมกรอบ แป้งกรุบ ลอดช่องสิงคโปร์ ปลาขูด ลูกชิ้นเอ็นไก่ ลูกชิ้นกุ้ง ข้อเอ็นไก่ ทอดมัน และอาหารอื่น ๆ จากจำนวนตัวอย่าง 511 ตัวอย่าง พบว่ามีการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหาร จำนวน 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.94
- การตรวจสอบกรดซาลิซีลิค (สารกันรา) โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) และฟอร์มัลดีไฮด์ (ฟอร์มาลีน) ไม่พบการปนเปื้อน
- การตรวจสอบกรดแร่อิสระ (น้ำส้มสายชูปลอม) พบว่ามีปริมาณกรดในน้ำส้มเกินมาตรฐาน 7% จำนวน 1 ตัวอย่าง ในจำนวน 14 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.14
- ความสะอาดของอาหาร ไม่พบความสกปรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 เมษายน 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง แผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการด้วย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ร่วมกับคณะอนุกรรมการสำรวจคุณภาพสินค้าและปริมาณเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรุงเทพมหานคร และสมาคมประชากรทรัพยากรและการพัฒนา (โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต) ดำเนินการตรวจสอบสารที่ปนเปื้อนในอาหาร ตลาดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา ร้านอาหารในสถานที่ราชการ อาหารที่จำหน่ายในหมู่บ้าน ตรวจตามที่สมาชิกโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งมาให้ตรวจ และตามสถานที่ที่สมาชิกฯ ร้องเรียน
2. ผลการตรวจสอบ
- การปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหารประเภทหมูเด้ง ทับทิมกรอบ แป้งกรุบ ลอดช่องสิงคโปร์ ปลาขูด ลูกชิ้นเอ็นไก่ ลูกชิ้นกุ้ง ข้อเอ็นไก่ ทอดมัน และอาหารอื่น ๆ จากจำนวนตัวอย่าง 511 ตัวอย่าง พบว่ามีการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในอาหาร จำนวน 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.94
- การตรวจสอบกรดซาลิซีลิค (สารกันรา) โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) และฟอร์มัลดีไฮด์ (ฟอร์มาลีน) ไม่พบการปนเปื้อน
- การตรวจสอบกรดแร่อิสระ (น้ำส้มสายชูปลอม) พบว่ามีปริมาณกรดในน้ำส้มเกินมาตรฐาน 7% จำนวน 1 ตัวอย่าง ในจำนวน 14 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.14
- ความสะอาดของอาหาร ไม่พบความสกปรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 เมษายน 2543--